ພັນລາວ.ຄອມ
ຊອກຫາ:
ຊອກຫາແບບລະອຽດ
ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ພ.ພ.. 23, 2010 | ມີ 14 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)
ໜວດໝູ່: ປະຫວັດສາດ

  ເປັນການບັງເອີນ ທີ່ຜູ່ຂ້າຊອກຫາຕິດຕາມອ່ານຂ່າວທັງພາຍໃນປະເທດແລະຕ່າງປະເທດ

ແລະກໍມາພົບຂໍ້ມູນນີ້ຂື້ນມາ ເຫັນວ່າມັນກ່ຽວຂ້ອງກັບປວັດສາດ ບ້ານເຮົາເມືອງເຮົາ

ກໍເລີຍນຳມາສູ່ກັນອ່ານ , ກໍຕ້ອງຂໍໂທດທີ່ບໍ່ໄດ້ແປເປັນພາສາລາວ

ເພາະວ່າຜູ່ຂ້າເອງກໍບໍ່ສັນທັດທາງດ້ານພາສາ ຫາກແປໃປແລ້ວບາງຂໍ້ຄວາມອາດຈະເກີດມີການຄາດເຄື່ອນ

ກໍຫວັງວ່າໃຫ້ພີ່ນ້ອງເຮົາໄດ້ອ່ານແລະໄຊ້ວິຈະຣະນະຍານດ້ວຍຕົວເອງ.

   ຖ້າຫາກມີການຜິດພາດປະການໃດ ໃນການນຳສເນີກໍຂໍອະພັຍມານະທີ່ນີ້ດ້ວຍ.

 

พระเสริมวัด ปทุมฯ
Pic_84624

วัดดปทุมวนารามฯ เขตอภัยทาน ระ-หว่างการสลายม็อบคนเสื้อแดง
 แม้จะมี 6 ศพผู้เสียชีวิตเป็นปริศนาว่าใครยิงแต่สภาพทั่วไปภายในวัด
ก็ไม่มีร่องรอยความ เสียหาย มีคนไม่มากที่จะรู้ว่าภายในวัดนี้มีพระพุทธรูปโบราณ
ระดับพระคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถและพระวิหารอยู่ถึงสององค์

ข้อมูลจาก หนังสือ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง อาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร
เขียนไว้ว่า ในกรุงเทพมหานครของเรานี้มีสิ่งดีๆมากมายอยู่ใกล้ตัวจนนึกไม่ถึง
 เพียงเดินจากศูนย์การค้าฯสี่แยกราชประสงค์ มายังวัดปทุมวนาราม ใช้เวลา
ไม่เกินห้านาทีก็จะมีโอกาสกราบพระพุทธรูปสำคัญ

ตามประวัติพระ เสริม (หน้าตัก 2 ศอก 1 นิ้ว   วัสดุสำริด)   พระใส   สร้างขึ้นพร้อมกับพระสุก
 รวมกันสามองค์ เป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของสามพระราชธิดากษัตริย์ล้านช้าง
 ต่อมาก็ประดิษฐานไว้ในเวียงจันทน์ เมืองหลวงของล้านช้าง ราวกลางสมัยอยุธยา

จน ถึงสมัยกรุงธนบุรี ทัพไทยยกไปตีเวียงจันทน์ ชาวล้านช้างก็นำพระพุทธรูปสามองค์นี้ไปซ่อน
ศึกสงบแล้วก็นำกลับมาไว้ที่วัดโพนชัย เวียงจันทน์ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 1
 สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ ทรงนำทัพไปตีเวียงจันทน์อีกครั้ง    
โปรดให้เชิญพระเสริม พระใส พระสุก ลงแพข้ามแม่น้ำโขง

ระหว่างทางพระ สุกพลัดตกจมลงไปในน้ำ ในบริเวณที่เรียกกันต่อมาว่า เวินพระสุก

คง เหลือพระเสริมและพระใสมาถึงเมืองหนองคาย โปรดให้ประดิษฐานพระเสริมไว้ที่วัดโพธิ์ชัย
และพระใสไว้ที่หอก่อง (วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)

พระเสริม พระใส ถูกอัญเชิญมาไว้ในกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 โปรดให้อัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวร สุทธาวาส ในพระบวรราชวัง
 แต่เมื่อทอดพระเนตรแล้ว โปรดในพระพุทธลักษณะ จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐาน
ไว้บนพระแท่นเศวตฉัตรในท้องพระโรง เพื่อจะถวายสักการะโดยสะดวก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าสวรรคต แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โปรดให้อัญเชิญพระเสริมไปไว้ยังพระวิหารวัดปทุมวนาราม เพื่อให้ อยู่วัดเดียวกับพระใส

ที่อัญเชิญมາประดิษฐานไว้ก่อนแล้ว

อาจารย์ วรนันทน์เขียนว่า เมื่อถึงเดือน 6 ของทุกปี จะมีชาวบ้านผู้มีเชื้อสายล้านช้าง
ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (เพลินจิต) พากันมาสักการะพระเสริม
โดยจัดปราสาทผึ้งและดอกไม้ไฟมาบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล

ข้อมูลจาก อาจารย์วรนันทน์ นอกจากพระเสริมประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดปทุมวนาราม
 ยังมีพระใสประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ แต่จากหนังสือพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเล่มเดียวกัน
 อาจารย์วรนันทน์เขียนถึงพระใสอีกองค์ (ขนาดหน้าตัก 2 คืบ 8 นิ้ว วัสดุสำริด)
ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

เรื่อง ราวของพระใสองค์ที่หนองคาย...เป็นเรื่องเดียวกับองค์ในโบสถ์วัดปทุมวนาราม
แต่มีเกร็ดเพิ่มเติมว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้อัญเชิญพระเสริม พระใส ไปไว้ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ แต่ระหว่างอัญเชิญพระขึ้นเกวียน
 เกิดเหตุเกวียนที่อัญเชิญพระใสหักที่วัดโพธิ์ชัยหลายครั้ง   ชาวเมืองจึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระใส ไว้ที่วัดโพธิ์ชัย

เป็นพระพุทธ รูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวหนองคาย และชาวอีสานกราบไหว้กันมาถึงปัจจุบัน

ข้อมูล อีกชุด จากหนังสือมิติลี้ลับในพงศาวดาร (สำนักพิมพ์สยามบันทึก) โรม บุนนาค เขียนไว้เป็นตอนหนึ่ง
ในเรื่องพระแก้วกับพระบางเป็นคู่อริกันว่า

พ.ศ.2407 เหล่าเสนาบดีพากันเข้าชื่อกราบทูลรัชกาลที่ 4 ว่า พระบาง รวมทั้งพระเสริม พระใส และพระแสน
(ปัจจุบันอยู่วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี) ซึ่งเป็นพระที่ชาวลาวนับถือ
เป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้เกิดฝนแล้งหนักข้าวยากหมากแพง ทรงสดับแล้ว ทรงพระราชดำริเห็นด้วย

ครั้น มาถึง ณ ปีขาล อัฐศก เจ้าอุปราชเมืองหลวงพระบางมาเฝ้าฯ

จึงโปรดให้รับเอาพระบางไปไว้ ณ เมืองหลวงพระบางตามเดิม
ส่วนพระเสริม พระใส โปรดให้ ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดปทุมวนาราม

ปริศนาที่จะ ต้องคลี่กันต่อไป พระใส องค์ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

หรือพระใส องค์ที่วัดโพธิ์ชัย หนองคาย องค์ใดเป็นพระใส องค์จริง.

ຂໍ້ມູນມາຈາກໜັງສືພີມໄທຍ໌ຣັຖ ຄໍລັມ " ຄັມພີຈາກແຜ່ນດິນ ". ສບັັບວັນອາທິດ ທີ23 ພຶສພາ ພ.ສ2553.