ພັນລາວ.ຄອມ
ຊອກຫາ:
ຊອກຫາແບບລະອຽດ
  ກະທູ້ມາໃໝ່   ຫມວດ   ກະດານແຫ... » ພາສາ    

Forum
ເວັບບອດພັນລາວ
ເວັບບອດພັນລາວ ເປັນກະດານສົນທະນາສຳລັບສະມາຊິກພັນລາວທຸກທ່ານ ທ່ານສາມາດຕັ້ງກະທູ້ເພື່ອສອບຖາມ ສະແດງ ແລະຂໍຄຳເຫັນຈະສະມາຊິກຄົນອື່ນ ໆ ຕະຫຼອດຈົນເຖິງການສົນທະນາທົ່ວ ໆ ໄປໄດ້ໃນເວັບບອດແຫ່ງນີ້. ຫາກຕ້ອງການແຈ້ງກະທູ້ຜິດກົດລະບຽບ ໃຫ້ໂພສໄດ້ທີ່ http://punlao.com/webboard/topic/3/index/288147/
ກະດານແຫ່ງການຮຽນຮູ້ » ພາສາ » ສີສັກ ວັລລິໂພດົມ ນັກປະຫວັດສາດໄທຍ໌ວ່າ "ຣືຈະໂງ່ຊ້ຳສາມ" ?

໓໙໒ ກະທູ້
໒໑໑໔ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້
ທ່ານສີສັກ ເປັນປັນຍາຊົນຄົນສຳຄັນຂອງໄທຍ໌ ເວົ້າໄວ້ໃນວາຣະສານເມືອງບູຮານ ເຮົາມາອ່ານເປັນພາສາໄທຍ໌ ເພື່ອບໍ່ໃຫ້ຄວາມໝາຍຄາດເຄື່ອນ ຖ່າຍເອກະສານມາເລີຍ(ອ່ານດີໄດ້ປະໂຫຍດ)
ອ້າງອີງ
http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=237
----
ฤาจะโง่ซ้ำสาม : กรณีวิวาทปราสาทพระวิหาร

ศรีศักร วัลลิโภดม

โดยปรกติแล้วข้าพเจ้าไม่ชอบเขียนบทความในลักษณะ “ฟันธง” เพราะไม่ใช่วิสัย แต่กรณีความขัดแย้งเรื่องปราสาทพระวิหารที่ดำรงอยู่ระหว่างไทยกับกัมพูชาใน ขณะนี้ เป็นเรื่องที่ต้องยอมเสียคน เพราะทนไม่ได้ต่อความคิดดักดานของนักวิชาการและนักการเมืองไทยที่ชอบแสดง โวหารและมากด้วยเหตุผลนานาประการ

การเสียปราสาทพระวิหารครั้งแรกเมื่อสมัย ร. ๕ แม้ว่าจะอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบด้วยอำนาจของมารร้ายฝรั่งเศสในเวลานั้นก็ ตาม แต่ก็คงจะไม่ต้องถึงเสียปราสาทพระวิหารไปในขณะนั้น ถ้าหากว่าทางไทยส่งเจ้าหน้าที่ทำแผนที่ขึ้นไปร่วมแบ่งเขตแดนโดยใช้ “สันปันน้ำ” เป็นหลักตามข้อตกลงกัน

แต่เพราะเราไม่ส่งคนที่เป็น “ผู้รู้” ไปร่วม และทางผู้ใหญ่ของเราก็ค่อนข้างละเลย จึงถูกโกงไป ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารอยู่ในสันปันน้ำทางฝ่ายเรา

ที่โง่สุดๆ ก็คือนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีที่ตามก้นนักปราชญ์นักวิชาการ ฝรั่งเศสตั้งแต่เสียปราสาทพระวิหารครั้งแรกมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ที่ยังคงรับรองความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ขอมว่าสร้างพระวิหารเพื่อแสดงอำนาจ ทางการเมืองเหนือดินแดนที่ราบสูงโคราชทั้งหมด ดูเหมือนจะลามแผ่มาถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลางด้วยซ้ำ

โดยเฉพาะการอ้างอโรคยาศาลตามจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเดี๋ยวนี้ค่อยซาไป เพราะนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ แลเห็นความไม่ได้เรื่องของหลักฐานทางโบราณคดีและการตีความ ที่ยังคงโง่ๆ อยู่ก็มี เช่นพวกอะไรก็ไม่รู้ที่อ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาพถ่ายดาวเทียม ที่แลเห็นทำนบในการจัดการน้ำโบราณเป็นถนนไฮเวย์ (ราชมรรคา) ตัดจากเมืองพระนครมาเมืองพิมาย

สิ่งเหล่านี้น่าจะถูกนำไปประกอบให้เกิดการเสียดินแดนรอบๆ ปราสาทพระวิหารต่อไป

.......................................

การเสียปราสาทพระวิหารครั้งที่ ๒ หรือ “โง่ครั้งที่สอง” เกิดขึ้นครั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะความย่ามใจของนักการเมือง นักกฎหมาย และนักวิชาการสมัยนั้น ว่าเราอยู่ในฐานะได้เปรียบ ทั้งๆ ที่ผู้รู้เป็นจำนวนมากแลไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องนำข้อพิพาทไปขึ้นศาลโลก ให้คณะกรรมการนานาชาติตัดสิน

เมื่อแพ้แล้ว เสียแล้ว ก็ได้แลเห็นว่าฝรั่งเศสอีกนั่นแหละที่เป็นตัวการทำให้มีการเข้าข้างเขมรและ ช่วยเขมร แต่ไทยไม่เคยสำเหนียกและสำนึก มีแต่โวยวายและแก้ตัวต่างๆ นานา โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่ในกรุงเทพฯ และบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ทั้งหลาย คงมีแต่ทหารในกองกำลังสุรนารีและคนศรีสะเกษเท่านั้นที่เจ็บปวด และยอมให้เขมรได้แต่เพียงปราสาทไป โดยไม่ยอม “เสียดินแดน” ภายในสันปันน้ำทางฟากเรา

ทหารในกองกำลังสุรนารีครั้งจอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นผู้บัญชาการทหารบก ได้เข้าไปทำรั้วกันเขตปราสาทพระวิหารออกจากเขตแดนไทย ณ กลาง “บันไดนาคราช” หน้าโคปุระชั้นที่ ๑ โดยปล่อยให้พวกเขมรขึ้นมาปราสาทพระวิหารได้โดยทางบันไดหักแค่ทางเดียว พื้นที่ซึ่งอยู่ภายในสันปันน้ำทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า “๔.๖ ตารางกิโลเมตร” นั้น ไม่นับว่าเป็น “พื้นที่ทับซ้อน” ดังเช่นทางกรมแผนที่ทหารและกระทรวงการต่างประเทศเรียก เพราะฝ่ายทหารและคนศรีสะเกษตระหนักดีว่า การโกงปราสาทพระวิหารไปจากไทยในครั้งที่ ๒ นี้ เขมรเองก็พยายามอ้างสิทธิเหนือพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารในเขตสันปันน้ำไทย จากการขีดเส้นเขตแดนของฝรั่งเศสครั้งโกงปราสาทพระวิหารไปจากไทยด้วย

ข้าพเจ้าเองและทีมงานเมืองโบราณครั้งที่อาจารย์ น. ณ ปากน้ำยังมีชีวิตอยู่ก็ได้ขึ้นไปเห็น แต่เมื่อขึ้นไปครั้งหลังที่ทางฝ่ายท่องเที่ยวของไทยเปิดให้คนไทยไปชมปราสาท พระวิหารนั้น รั้วกั้นเขตแดนได้ร่นลงมาจากกลางสะพานบันไดนาคราชลงมายัง “บันไดสิงห์” ข้างล่าง และทหารเขมรเองก็ลงมารักษาการ ณ บริเวณนี้ โดยมีทหารไทยอยู่ด้านหน้า ครั้งนั้นยังจำได้ว่าเดินทางข้ามลำตราวไปยังรั้วที่บันไดสิงห์ด้วยซ้ำ

คนเขมรจากฝั่งกัมพูชาก็ไม่ค่อยได้ขึ้นมา มีแต่พวกทหารเพียงเล็กน้อย พอเกิดเหตุการณ์เขมรแดงจึงมีกองกำลังขึ้นมา และมีคนเริ่มหนีภัยสงครามอพยพเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งฝ่ายไทยก็คงอะลุ่มอล่วยให้ แต่การท่องเที่ยวทางไทยได้ขยายการท่องเที่ยวเพิ่มเติม จนมีการจัดบริเวณรองรับการท่องเที่ยวเพิ่มเติมอย่างใหญ่โต คนเขมรก็เลยรุกเข้ามาตั้งร้านค้าและที่อยู่อาศัยประชิดลำตราว รุกข้ามบริเวณบันไดสิงห์ลงมา ครั้งนั้นบริเวณนี้สกปรกมาก เพราะมีขยะทิ้งลงลำตราวที่ไหลผ่านลงมายังเขตจังหวัดศรีสะเกษ คนศรีสะเกษและทางจังหวัดเองก็ต่อต้านในเรื่องนี้ แต่ดูเหมือนว่าทางฝ่ายการท่องเที่ยวและทางรัฐบาลไม่ยอมให้มีการจัดการแต่ อย่างใด เพราะไปบ้ารายได้จากการท่องเที่ยวที่นำความวิบัติมานี้

รัฐบาลไทยและการท่องเที่ยวไทยหาเคยใส่ใจต่อสิทธิและอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทพระวิหารที่อยู่ในเขตสันปันน้ำไม่ บ้าแต่การท่องเที่ยวเพื่อหารายได้

แม้แต่ทางกัมพูชาเองก็หาสนใจไม่ จนกระทั่งเมื่อมีความนิยมในเรื่องการกำหนดแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ที่มีองค์การมรดกโลกเป็นฝ่ายดำเนินการขึ้น จึงมีการแสวงหาและส่งเสริม “แหล่งมรดกโลก” เพื่อการท่องเที่ยวขึ้น ภายใต้คำขวัญและอุดมคติจอมปลอมของยูเนสโกเองว่าให้เป็นแหล่งของสันติภาพและ สันติสุขของโลก โดยไม่มีความขัดแย้งในเรื่องดินแดนและชาติพันธุ์

ภายใต้อุดมการณ์จอมปลอมนี้ แหล่งมรดกโลกคือแหล่งท่องเที่ยวเพื่อหารายได้ของพวกนายทุนจากทางรัฐบาล และ “พวกข้ามชาติ” ที่ปลุกเร้าให้มีการแสวงหาและส่งเสริมแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศเป็น แหล่งท่องเที่ยว โดยไม่เคยมองผลประโยชน์และสิทธิของคนในท้องถิ่น (Local Stake Holder)

บรรดาประเทศที่เคยมีอารยธรรมและมีแหล่งโบราณคดีสำคัญๆ มักได้รับความสนใจจากยูเนสโกและมรดกโลกเป็นพิเศษ โดยสนับสนุนการลงทุนด้านการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ อาทิเช่น พม่า อินโดนีเซีย และกัมพูชา ซึ่งรวมทั้งไทยบ้างเล็กน้อย

ในบรรดาประเทศเหล่านี้ กัมพูชาและไทยดูเหมือนจะโอนอ่อนให้แก่องค์กรต่างชาติอย่างดุษณี โดยเฉพาะพวกนักวิชาการที่มักยอมให้บรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญของยูเนส โกและมรดกโลกสนตะพาย ซึ่งต่างจากพม่าและอินโดนีเซียที่นักวิชาการภายในมีความฉลาดและเข้มแข็ง

ข้าพเจ้ายังจำได้ดี ตั้งแต่ครั้งยังรับราชการอยู่นั้น ก็มีการส่งเสริมงานบูรณะขุดแต่งและอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีหลายแห่งในกัมพูชา โดยประเทศนายทุน เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอื่นๆ มากมาย โดยมีทีมนักค้นคว้า นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยของประเทศเหล่านั้นเข้าไปดำเนิน การอย่างสะดวกสบาย โดยเฉพาะในกัมพูชา ปราสาทสำคัญหลายแห่งก็อยู่ในขณะการดำเนินการ

ข้าพเจ้ารับทราบและติดตามความเคลื่อนไหวขององค์กรระดับโลกเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ

ครั้งหนึ่งในกัมพูชา มีคนที่เป็นนักวิชาการและนักธุรกิจเล่าให้ฟังว่า ทางรัฐบาลเขมรแลเห็นว่าการให้สัมปทานแหล่งโบราณคดีของประเทศ เช่น ปราสาทนครวัด นครธม ของเมืองพระนครเป็นแหล่งท่องเที่ยว รัฐบาลและผู้มีอำนาจของรัฐได้ผลประโยชน์มาก ทำให้แลเห็นการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนข้ามชาติที่สุมหัวกับคน ของทางรัฐบาลอย่างชัดเจน

ต่อมา เมื่อมีเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศไทยในเรื่องที่ทางกัมพูชาแจ้งมาว่า จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกภายในนามของกัมพูชาเข้ามา จนกลายเป็นข่าวความขัดแย้งขึ้นระหว่างทางรัฐบาลกับนายทหารบางคนที่เข้าใจและ แสดงความขัดแย้งไม่ยินยอมให้ทางไทยยินยอมให้เขมรขึ้นทะเบียนมรดกโลกอย่าง ง่ายๆ ขึ้นในหน้าหนังสือพิมพ์ ข้าพเจ้าก็ฉงนใจขึ้นทันที

เพราะเรื่องเช่นนี้ทางเขมรไม่เคยสนใจมาก่อน ซึ่งน่าจะมีอะไรเป็นพิเศษระหว่างยูเนสโก มรดกโลก และรัฐบาลเขมร

ก็เลยฟันธงได้เลยว่า พวกกลุ่มหาผลประโยชน์ข้ามชาติในยูเนสโกและมรดกโลกนั่นแหละคือพวกที่ชักนำและ สมคิดกับรัฐบาลเขมรให้มีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในนาม กัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว

โดยเชื่อว่าคนไทย โดยเฉพาะรัฐบาลไทยและบรรดานักวิชาการตามไม่ทัน และคนไทยทั่วไปก็ไม่สนใจ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางยูเนสโกและมรดกโลกก็รู้ว่า โดยอุดมคติและอุดมการณ์ของมรดกโลกนั้น การขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เป็น “แหล่งมรดกโลก (Site)” ได้ครบถ้วน เพราะพื้นที่โดยรอบปราสาทนั้นอยู่ในบริเวณสันปันน้ำทางไทยทั้งสิ้น ต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นแน่ๆ แต่ที่กล้าทำเพราะย่ามใจว่าคนไทยไม่สนใจ และทางฝ่ายรัฐและนักวิชาการมีทั้งโง่และเห็นแก่ได้

ครั้งนั้น ได้มีการส่งตัวแทนจากทางรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศไปเจรจา โดยยอมรับกรณีสิทธิในเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ดินแดนโดยรอบเป็นปัญหา

ความไม่เข้าใจในปัญหาทำให้ไปยอมรับเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ทั้งๆ ที่ทางฝ่ายทหารเขาไม่เห็นว่าเป็นประเด็น เพราะอยู่ในสันปันน้ำของเราอย่างชอบธรรม

ครั้งนั้น ดูเหมือนรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกลายเป็น “ตัวหมาก” ในเกมรุกของกัมพูชา ภายใต้การชี้แนะของเจ้าหน้าที่ยูเนสโกและมรดกโลกที่ชั่วร้าย เพราะผลการเจรจาเป็นการยื่นรับรองสิทธิของการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น มรดกโลกของเขมรอย่างแท้จริง แต่กลลวงนั้นอยู่ที่ทางกัมพูชายอมรับว่าพื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตารางกิโลเมตรอยู่ในเขตไทย และเป็น “เป้าหมาย” ที่จะต้องเจรจาให้มีการร่วมกันในขั้นต่อไป

รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยก็พลอยพาซื่อ ประกาศความสำเร็จในการเจรจา จนเป็นเหตุให้มีการดำเนินการการฟ้องร้องและถอดถอนขึ้น

.................................

ครั้งนั้น การ “โง่ครั้งที่สาม” ก็ปรากฏขึ้น

ผู้แทนมรดกโลกฝ่ายไทยถูกส่งไปเจรจาและร่วมประชุม โดยมุ่งหวังว่าจะให้มีการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก (site) ร่วมกันตามข้อเสนอของกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลก โดยมีกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ มีกรรมการร่วม ๗ ชาติ ดำเนินการโดยไทยเป็นหนึ่งใน ๗ ชาตินั้น ที่น่าเศร้าใจก็คือผู้แทนมรดกโลกของไทยกลับมาแถลงข่าวว่า ในที่ประชุมไม่ให้ความสนใจถึงการแสดงข้อคิดเห็นและคัดค้านใดๆ เลย กลับมัดมือชกทุกประการ แต่แทนที่ตนเองจะคัดค้านในเรื่องสิทธิ กลับไปยินยอมรับสภาพที่เสียเปรียบนั้น โดยที่พูดมาในทำนองว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมิไยดีที่มีการเรียกร้องให้เลิกล้มการเข้าไปมีส่วนร่วม และถอนตัวเองจากการร่วมเป็นมรดกโลก เพื่อรักษาดินแดนและอำนาจอธิปไตยไว้ แต่ก็กลับมากล่าวอ้างแก้ตัวต่างๆ นานา จนในที่สุดทางฝ่ายกองทัพต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยส่งกองทหารขึ้นไปตรึงเขตแดนที่ไทยมีสิทธิในบริเวณสันปันน้ำของฝ่ายไทยไว้ แต่ในขณะเดียวกัน ทางกัมพูชาก็กลับมาอ้างสิทธิในบริเวณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ที่ดูเหมือนจะยินยอมให้เป็นเขตของไทยตามที่ตกลงกับผู้แทนไทยที่มีรัฐมนตรี ต่างประเทศเป็นผู้ลงนามไปแล้ว การที่ทางฝ่ายทหารส่งกำลังเข้าตรึงพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรนั้น คือสิ่งที่เผยให้เห็นทั้งจุดอ่อนและความชั่วร้ายของกรรมการมรดกโลกอย่างแท้ จริง เพราะถ้าหากทางไทยไม่ยอมรับเสียแล้ว ความเป็นแหล่งมรดกโลก (Site) จะเกิดขึ้นไม่ได้ แม้ว่าปราสาทพระวิหารจะเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชาก็ตาม

ทั้งกัมพูชาและกรรมการมรดกโลกที่ชั่วร้ายเหล่านั้นจึงดิ้นสุดฤทธิ์ กล่าวหาไทยว่ารุกดินแดนต่างๆ นานา จนเกิดเป็นการสู้รบและยิงกันขึ้น

ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าหากคนไทยในสังคมฉลาดขึ้น และฝ่ายทหารยังคงรักษาอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนสันปันน้ำของไทยอยู่เช่นนี้ การได้สิทธิเป็นเจ้าของปราสาทพระวิหารในลักษณะที่เป็นมรดกโลกของกัมพูชาก็ ไร้ความหมาย เพราะแหล่งมรดกโลก (Site) จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ และในที่สุดก็จะล้มเหลวไปเอง

แต่ทางฝ่ายไทยต้องตามทันกลลวงอยู่ตลอดเวลา เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีการกล่าวขึ้นมาว่า สมควรใช้ชื่อปราสาท “เพรียวิเฮียร์” แทนคำว่า “พระวิหาร” จนมีนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการไทยที่เพี้ยนๆ คล้อยตาม รวมไปถึงการกล่าวว่าขอมคือเขมร อะไรอีกทำนองนั้น เรื่องนี้ถ้าหากในอนาคตมีการร่วมมือกันให้เป็นแหล่งมรดกโลก (Site) ขึ้นมา ก็จะนำไปสู่ความมีสิทธิและชอบธรรมเหนือทางฝ่ายไทยภายใต้คำว่า “เพรียวิเฮียร์” เกิดขึ้น โดยที่ทางไทยยอมลบคำว่า “พระวิหาร” ให้สิ้นไป

ในขณะนี้ ข้าพเจ้าคิดว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะทำถูกแล้วในการชลอความร่วมมือกับยูเนสโกและมรดกโลกในกรณีโครงการ มรดกโลกพระวิหาร โดยอ้างว่าที่แล้วมาการดำเนินการแต่ฝ่ายเดียวของกัมพูชานั้นเกิดปัญหาความ ขัดแย้งในเรื่องเขตแดนอันผิดเจตนารมณ์ของการเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งนั่นก็หมายความว่าทางยูเนสโกและมรดกโลกต้องเป็นฝ่ายแก้ปัญหา และแสดงให้เห็นว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างไทยกับยูเนสโกและมรดกโลกโดยตรง ไม่ใช่กับทางกัมพูชา

การดำเนินการของรัฐบาลไทยครั้งนี้ย่อมทำให้แลเห็นชัดเจนว่า เหตุที่เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น นับเป็นความผิดพลาดที่ชั่วร้ายของยูเนสโกและมรดกโลกโดยตรง อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงเล่ห์กะเท่ของเขมร..ที่ทั้งร่วมมือและพึ่งองค์กรต่าง ชาติและคนต่างชาติในการโกงปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่สมัย ร.๕ เพราะคนไทยโง่เองที่นอกจากตามไม่ทันเพราะไม่สนใจแล้ว ยังชอบคล้อยตามความคิดเห็นของนักวิชาการต่างชาติ โดยเฉพาะพวกฝรั่งเศสเรื่อยมา

โดยเหตุนี้ ข้าพเจ้ายังอดคิดไม่ได้ว่า แม้ว่าในขณะนี้ไทยยังยืนอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบก็ตาม แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะต้องโง่ครั้งที่สาม เพราะความเห็นแก่ได้ของนักการเมือง นักธุรกิจ และนักวิชาการทางฝ่ายไทย ที่อาจจะไปยอมตามข้อเสนอของทางมรดกโลกและกัมพูชาในอนาคต โดยเฉพาะถ้าหากรีบด่วนให้ความร่วมมือโดยปราศจาก

๑. ทำการสำรวจเส้นเขตแดนโดยใช้สันปันน้ำอย่างถูกต้อง โดยร่วมกันกับทางกัมพูชาเดินสำรวจให้แลเห็นความเป็นจริง โดยยกเลิกเส้นแบ่งเขตแดนที่ฝรั่งเศสทำเป็นเส้นโกหกลวงไว้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่กัมพูชา เมื่อสำรวจโดยแลเห็นความจริงแล้วก็ควรจะจัดการต่อรองกันว่าจะแบ่งปันเขตที่ เว้าเข้าไปในแต่ละฝ่ายอย่างใด

๒. การร่วมวางแผนโครงการ ไม่ควรให้ทางกัมพูชาเป็นฝ่ายเจ้าภาพแต่ผู้เดียวภายใต้โครงการมรดกโลกเพรียวิ เฮียร์ และมีต่างชาติเข้าร่วม ๗ ชาติ โดยทางไทยเป็นเพียงหนึ่งเดียว เมื่อทำโครงการที่มี “แผนแม่บท” เรียบร้อยแล้ว ต้องนำมาเปิดให้มีประชาพิจารณ์จากผู้มีส่วนร่วมในเรื่องผลประโยชน์และผู้ สนใจทุกภาคส่วน เพราะที่แล้วมาตัวแทนทางฝ่ายไทยมักโง่และเห็นแก่ได้ทุกที โดยเฉพาะข้าพเจ้าไม่เคยเชื่อน้ำยาของคนพวกนี้ ซึ่งก็เห็นได้ชัดเมื่อทางกระทรวงวัฒนธรรมแสดงรายชื่อคนที่จะเป็นประธานมรดก โลกฝ่ายไทย พอเห็นรายชื่อก็อยากจะบอกว่า “ยี้”

๓. การเกิดแหล่งมรดกโลกต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนท้องถิ่นทั้งฟากเขมรและไทย (Local Stake Holder) และต้องระวังพื้นที่ซึ่งกำหนดเป็นพื้นที่ในโครงการตามตะเข็บชายแดนที่มากไป ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าป่าไม้ แร่ธาตุ และก๊าซธรรมชาติ


ອະດີດເປັນຂອງຜີ ປັດຈຸບັນນີ້ເປັນຂອງເຮົາ ອະນາຄົດເປັນຂອງເຂົາ
ສາຍເຊລຳເພົາ ໑,
ສາຍເຊລຳເພົາ ໒

໔໔ ກະທູ້
໓໖໘໘ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້
ນົບພະດົນ..ຖືກເຈົ້ານາຍໃຫຍ່..ສັ່ງໃຫ້ອອກຖະແຫຼງການຮ່ວມ..
ທັງໝົດເພື່ອແລກກັບສຳປະທານຂອງນັກໂທດຊາຍຄົນນັ້ນ..
ທັງສຳປະທານນ້ຳມັນ ແລະ ທຸລະກິດສື່ສານ..