ພັນລາວ.ຄອມ
ຊອກຫາ:
ຊອກຫາແບບລະອຽດ
  ກະທູ້ມາໃໝ່   ຫມວດ   ກະດານແຫ... » ທັມມະ    

Forum
ເວັບບອດພັນລາວ
ເວັບບອດພັນລາວ ເປັນກະດານສົນທະນາສຳລັບສະມາຊິກພັນລາວທຸກທ່ານ ທ່ານສາມາດຕັ້ງກະທູ້ເພື່ອສອບຖາມ ສະແດງ ແລະຂໍຄຳເຫັນຈະສະມາຊິກຄົນອື່ນ ໆ ຕະຫຼອດຈົນເຖິງການສົນທະນາທົ່ວ ໆ ໄປໄດ້ໃນເວັບບອດແຫ່ງນີ້. ຫາກຕ້ອງການແຈ້ງກະທູ້ຜິດກົດລະບຽບ ໃຫ້ໂພສໄດ້ທີ່ http://punlao.com/webboard/topic/3/index/288147/
ກະດານແຫ່ງການຮຽນຮູ້ » ທັມມະ » ສວດອະພິທຳ ງານສົບ (ຄວາມໄທ)

໑໑໖ ກະທູ້
໔໑໑ ໂພສ
ຊຳນານການເວັບບອດ
ກະທູ້ນີ້ ຂໍພາກໄທເດີ

การสวดศพมีการสวด 5 อย่าง ได้แก่

1.สวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ เป็นยอดแม่บทใหญ่ที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นมาแสดงค่าข้าว ป้อนน้ำนม โปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์สวรรค์ สิ้นกาล 3 เดือน มี 7 คัมภีร์ คือ พระธรรมสังคณี พระวิภังค์ พระธาตุกถา พระปุคคลบัญญัติ พระกถาวัตถุ พระยมก และพระมหาปัฏฐาน นิยมใช้สวดตามพิธีศพทั่วไป

2.สวดพระสหัสสนัย แปลว่า มีนัยพันหนึ่ง เป็นการกล่าวถึงธรรมทั่วจะให้สำเร็จประโยชน์ 4 ประการ (หรือ อิทธิบาท 4) ได้แก่ ฉันทะ ความพอใจ วิริยะ ความเพียร จิตตะ ความเอาใจใส่ ฝักใฝ่ และ วิมังสา ความหมั่นไตร่ตรองพิจารณาหาเหตุผล

3.สวดพระอภิธรรมมัตถสังคหะ มี 9 ปริจเฉท กล่าวถึง จิต, เจตสิก, รูป, และนิพพาน เป็นการกล่าวถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ปัจจุบันยังนิยมสวด แต่หาพระสงฆ์สวดได้ยาก เพราะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ความพร้อมเพรียง เสียง และการประสานเสียง

4.สวดพระมาลัย เป็นการกล่าวถึงพระประวัติของพระเถระรูปหนึ่งที่สำเร็จฌานสมาบัติ มีฤทธิ์ เสด็จไปโปรดยังเมืองนรกและสวรรค์ ให้เห็นว่าทำดีไปสวรรค์ ทำชั่วไปนรก

และนำสิ่งที่พบเห็นมาสั่งสอนคนบนโลกให้ทำบุญ ทำดี อย่าทำชั่ว การสวดพระมาลัยนี้สันนิษฐานว่าในสมัยก่อนใช้สวดในพิธีแต่งงาน เพื่อให้คู่บ่าวสาวเข้าใจเรื่องของความดีความชั่วในการใช้ชีวิตร่วมกัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เปลี่ยนมาสวดในงานศพ เนื่องจากมีคนฟังธรรมมากกว่า การสวดแบบนี้ ปัจจุบันหาฟังได้ยาก

5.สวดทำนองหลวง ผู้สวดจะเป็นพระพิธีธรรมที่อยู่เฉพาะวัดหลวง ซึ่งแต่ละวัดจะมีทำนองการสวดไม่เหมือนกัน จะใช้สวดเฉพาะในงานพิธีศพที่อยู่ในชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือพระบรมราชานุเคราะห์ แต่มียกเว้นในงานสวดทั่วไปบางงานที่เจ้าภาพจัดขึ้น



พระสังคิณี
กุสะลา ธัมมา, พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
อะกุสะลา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ให้ผลเป็นความทุกข์,
อัพ๎ยากะตา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต, เป็นจิตกลาง ๆ อยู่,
กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล
ยัส๎ะมิง สะมะเย, ในสมัยใด,
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง, กามาวจรกุศลจิตที่ร่วมด้วยโสมนัส, คือความยินดี, ประกอบด้วยญาน คือ ปัญญาเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใด ๆ,
รูปารัมมะนัง วา, จะเป็นรูปารมณ์, คือยินดีในรูปเป็นอารมณ์ก็ดี,
สัททารัมมะนัง วา, จะเป็นสัททารมณ์, คือยินดีในเสียงเป็นอารมณ์ก็ดี,
คันธารัมมะนัง วา, จะเป็นคันธารมณ์, คือยินดีในกลิ่นเป็นอารมณ์ก็ดี,
ระสารัมมะนัง วา, จะเป็นรสารมณ์, คือยินดีในรสเป็นอารมณ์ก็ดี,
โผฏฐัพพารัมมะนัง วา, จะเป็นโผฏฐัพพารมณ์, คือยินดีในสิ่งที่กระทบถูกต้องกายเป็นอารมณ์ก็ดี,
ธัมมารัมมะนัง วา ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ, จะเป็นธรรมารมณ์, คือยินดีในธรรมเป็นอารมณ์ก็ดี,
ตัส๎ะมิง สะมะเย ผัสโส โหติ, อะวิกเขโป โหติ, เย วา ปะนะ ตัส๎ะมิง สะมะเย, อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา, ในสมัยนั้นผัสสะและความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี, อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด, แม้อื่นมีอยู่เป็นธรรมที่ไม่มีรูป, อาศัยกันและกันเกิดขึ้น,
อิเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข


พระวิภังค์
ปัญจักขันธา, ขันธ์ห้าคือส่วนประกอบหน้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่,
รูปักขันโธ, รูปขันธ์คือส่วนที่เป็นรูปภายนอกและภายในคือร่างกายนี้, ประกอบด้วยธาตุ ๔,
เวทะนากขันโธ, เวทนาขันธ์คือความรู้สึกเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ,
สัญญากขันโธ, สัญญาขันธ์คือความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖,
สังขารักขันโธ, สังขารขันธ์คือความคิดที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ,
วิญญาณักขันโธ, วิญญาณขันธ์คือความรู้แจ้งในอารมณ์ ทางอายตนะทั้ง ๖,
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, บรรดาขันธ์ทั้งหมดรูปขันธ์เป็นอย่างไร,
ยังกิญจิ รูปัง, รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา, ภายในก็ตาม,
พะหิทธา วา, ภายนอกก็ตาม,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนัง วา ปะณีตัง วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยัง ทูเร วา สันติเก วา, อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา, ย่นกล่าวร่วมกัน,
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ, เรียกว่ารูปขันธ์


พระธาตุกถา
สังคะโห อะสังคะโห, การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ,
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์แล้ว,
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้,
อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สัมปะโยโค วิปปะโยโค, การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากกัน คือ,
สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง, การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง, การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป
อะสังคะหิตัง, จัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้


พระปุคคลปัญญัตติ
ฉะปัญญัตติโย, บัญญัติ ๖ ประการ, อันบัณฑิตผู้รู้พึงบัญญัติขึ้น คือ,
ขันธะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันเรียกว่าขันธ์ มี ๕,
อายะตะนะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมอันเป็นบ่อเกิด (แห่งทุกข์และไม่ทุกข์), เรียกว่าอายตนะ มี ๑๒,
ธาตุปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่เรียกว่าธาตุ มี ๑๘,
สัจจะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงเรียกว่าสัจจะ มี ๔, คือ อริยสัจจ์ ๔,
อินท๎ริยะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่เรียกว่าอินทรีย์ มี ๒๒,
ปุคคะละปัญญัตติ, การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย,
กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร,
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต, ผู้พ้นในกาลบางคราว, ผู้พ้นอย่างเด็ดขาด,
กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม, ผู้มีธรรมที่กำเริบได้, ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้,
ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม, ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้, ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้,
เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ, ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา, ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา,
ปุถุชชะโน โคต๎ระภู, ผู้เป็นปุถุชน, ผู้คร่อมโคตร,
ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต, ผู้เว้นชั่วเพราะกลัว, ผู้เว้นชั่วไม่ใช่เพราะกลัว,
ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน, ผู้ควรแก่มรรคผลนิพพาน, ผู้ไม่ควรแก่มรรคผลนิพพาน,
นิยะโต อะนิยะโต, ผู้เที่ยง, ผู้ไม่เที่ยง,
ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต, ผู้ปฏิบัติอริยมรรค, ผู้ตั้งอยู่ในอริยผล,
อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน, ผู้เป็นพระอรหันต์, ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์


พระกถาวัตถุ
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงหรือ ?,
อามันตา, ถูกแล้ว,
โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, ปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ ?
นะ เหวัง วัตตัพเพ, ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น,
อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ มิจฉา, ท่านจงรู้นิคหะ (การข่ม ปราม) เถิด, ถ้าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงแล้ว, ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่าปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น, คำตอบของท่านที่ว่าปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นจึงผิด,


พระยมก
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กุสะละมูลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา, อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใด มีกุศลเป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล,
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กะสุละมูเลนะ เอกะมูลา, ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศล เป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมากุสะลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล


พระมหาปัฏฐาน
เหตุปัจจะโย, ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย,
อารัมมะณะปัจจะโย, ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย,
อะธิปะติปัจจะโย, ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย,
อะนันตะระปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัยไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง,
สะมะนันตะระปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน,
สะหะชาตะปัจจะโย, ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย,
อัญญะมัญญะปัจจะโย, ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน,
นิสสะยะปัจจะโย, ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย,
อุปะนิสสะยะปัจจะโย, ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย,
ปุเรชาตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเกิดก่อนเป็นปัจจัย,
ปัจฉาชาตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเกิดภายหลังเป็นปัจจัย,
อาเสวะนะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย,
กัมมะปัจจะโย, ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย,
วิปากะปัจจะโย, ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย,
อาหาระปัจจะโย, ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย,
อินท๎ริยะปัจจะโย, ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย,
ฌานะปัจจะโย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย,
มัคคะปัจจะโย, ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย,
สัมปะยุตตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
วิปปะยุตตะปัจจะโย, ธรรมที่ไม่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
อัตถิปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัย,
นัตถิปัจจะโย, ธรรมที่ไม่มีปัจจัย,
วิคะตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย,
อะวิคะตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย



໑໗ ກະທູ້
໒໖໓໔ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້
???

ຮັກນ້ອງຕອນເມົາ

໓໔ ກະທູ້
໑໑໑໑ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້
ສຸສຸສັງຣະພະເຕປັນຍັງ

ນັກບຸນຄົນບາບ-ຄົນຣວຍທີ່ຍາກຈົນ-ຄົນໃຈງ່າຍແຕ່ບໍ່ຫຼາຍໃຈ

໑໑໓ ກະທູ້
໒໔໓໑ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້
ສາທຸສາທຸ


໖໘ ກະທູ້
໓໓໒໐ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້

ພຣະພຸດທະອົງກ່າວໄວ້ : ຫາກກິເລດເຮັດໃຫ້ເຮົາລົ້ມຫຼຽວໄດ້ສັນໃດ ທັມມະກໍ່ເຮັດໃຫ້ເຮົາເລີ່ມຕົ້ນໃໝ່ໄດ້ສັນນັ້ນ !

໑໐໘ ກະທູ້
໒໒໖໕ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້
ພາສາລາວເພີ່ນເອີ້ນວ່າແນວໃດ?

ຄົນສະຫລາດສະແຫວງຫາຄຳສອນສັ່ງ ແຕ່ຄົນໂງ່ເປັນທາດ ຂອງຄວາມມັກຍ້ອງ

໑໐໘ ກະທູ້
໒໒໖໕ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້
ອ່ານເທື່ອດຽວບໍຈົບເຈັບຕາກ່ອນລະ

ຄົນສະຫລາດສະແຫວງຫາຄຳສອນສັ່ງ ແຕ່ຄົນໂງ່ເປັນທາດ ຂອງຄວາມມັກຍ້ອງ

໕໕ ກະທູ້
໔໓໕໒ ໂພສ
ສຸດຍອດແຫ່ງເຈົ້າກະທູ້
ພາສາລາວເອີ້ນວ່າ ສູດແມ່ນບໍ?
ເຊັ່ນສູດເຮືອນ ສູດມຸງຄຸນ ຫລືວ່າສວດເຮືອນ??

ນັກສຶກສາ ປັນຍາຊົນ ຄົນແຫ່ງສະຕະວັດທີ 21
ເຫັນແກ່ຕົວສຸດໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆໆ

໒ ກະທູ້
໓໒ ໂພສ
ຂາປະຈຳເວັບບອດ
ພາສາລາວເອີ້ນວ່າໃຫ້ບຸນຄົນຕາຍ ສູດຄືກັນນີ້ແລະ


໒໓ ກະທູ້
໓໐໒ ໂພສ
ຊຳນານການເວັບບອດ
ການທີ່ຄົນໃດຄົນໜຶ່ງນັ້ນຈະເຂົ້າເຖິງທັມມະໄດ້ໂດຍບໍລິບູນນັ້ນ ຕ້ອງປະກອບດ້ວຍ.ກທະວານທັງ6 ຄື ຫູ,ຕາ,ດັງ,ລີ້ນ,ກາຍ,ໃຈ..ເພາະ ສະນັ້ນເພິ່ນຈິ່ງເວົ້າວ່າບຸກຄົນທີ່ມີກັມເກົ່າຢູ່ແລ້ວ...ອາໃສຄວາມພຽນ.ພະຍາຍາມດຢູ່ເປັນນິດ..ກໍ່ເຂົ້າເຖິງທັມໄດ້ໃນຊາດນີ້..




ເສັ້ນຊີວິດ ສາຍທາງ ຍັງຍາວເຍີ້ນ
ຈົ່ງກ້າວເດີນ ຕໍ່ຝັນ ສານສຶບຕໍ່
ຫາກຜິດຫວັງ ກໍ່ພຽງວັນ ຢ່ານັ່ງທໍ້
ຈົ່ງສຶບຕໍ່ ສູ້ເພື່ອວັນ ຝັນເປັນຈິງ

໑໑ ກະທູ້
໖໑໙ ໂພສ
ຊຳນານການເວັບບອດ
ສາທຸ


໑໑໖ ກະທູ້
໔໑໑ ໂພສ
ຊຳນານການເວັບບອດ
ອ້າງເຖິງຂໍ້ຄວາມຈາກ SumoGirl ຂຽນວ່າ...
ພາສາລາວເພີ່ນເອີ້ນວ່າແນວໃດ?


ລາວເຮົາກະຄືຊິວ່າ ສູດອະພິທຳ
ຄົນທຳມະດາສາມັນສ່ວນຫລາຍ ກະມັກແຕ່ເວົ້າວ່າ ສູດ ຊື່ໆ ເພາະນ້ອຍຄົນ ທີ່ບໍ່ໄດ້ບວດ ຊິສົນໃຈວ່າ ເພິ່ນສູດອີຫຍັງ.