จิตวิทยาความรัก (Psychology of love)
คนเราเริ่มรักกันได้ยังไง?
มีการศึกษาพบว่า ความรักเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้
1. ความใกล้ชิด เป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดความรักขึ้นได้ ดังที่จะพบได้บ่อย ๆ ว่าคนที่ทำงานใกล้ชิดกัน เป็นเพื่อนสนิทกัน ไป ๆ มา ๆ จะกลายเป็นคนรักและแต่งงานกัน เพราะความใกล้ชิดนั้นทำให้คนเรามีโอกาสพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน หรือแม้แต่ช่วยเหลือกันในยามลำบาก
2. ความดึงดูดทางกาย แน่ นอนว่าคนที่มีรูปร่างหน้าตาดี นั้นมีโอกาสที่คนจะมาตกหลุมรักได้ง่ายกว่า เพราะคนส่วนใหญ่เองก็คงชอบในความหล่อ สวยงาม รวมถึงเป็นแรงดึงดูดและประทับใจได้ง่ายเวลาที่เจอกันครั้งแรก ๆ ยิ่งในบัจจุบันนี้ที่สังคมมักเน้นไปแต่ความสวยงามทางกาย
3. ความเหมือนกัน แรก ๆ นั้นความเหมือนกันจะดึงดูดให้เราเข้ากันได้ง่าย คนเรามักชอบคนที่มีอะไรเหมือน ๆ กัน เช่น นิสัยคล้าย ๆ กัน รสนิยมเหมือน ๆ กัน ดูหนังแนวเดียวกัน อ่านหนังสือคล้าย ๆ กัน ชอบทำบุญเหมือนกัน เป็นต้น อาจจะมีอยู่บ้างที่แตกต่างหรือตรงข้ามกับตัวเอง
คนเราเลือกคนรักอย่างไร?
จริง ๆ มีหลายทฤษฏี แต่ในที่นี้ขอยกแนวความคิดของฟรอยด์ (Freud) โดยฟรอยด์กล่าวว่าคนเราเลือกคนรักเพราะ
1. เหมือนพ่อหรือแม่(เพศตรงข้ามกับเรา) เรียกว่า anaclitic love ถ้า เหมือนพ่อหรือแม่เรียกว่าเป็นแบบpositive way มักเป็นในคนที่พ่อหรือแม่ดีเป็นที่ประทับใจ เช่นถ้าเป็นลูกสาว ที่มีพ่อนิสัยดี สุภาพ เอาใจ ก็ย่อมเลือกคนรักที่เหมือนกับพ่อ นอกจากนั้นการเลือกแบบนี้ยังกระตุ้น และระลึกถึงบุคคลสำคัญในอดีตอีกด้วยอีกแนวหนึ่งคือ negative way คือชอบคนที่ไม่เหมือนพ่อหรือแม่ มักเป็นในคนที่พ่อหรือแม่ไม่ได้ดีหรือเป็นที่ประทับใจเท่าไหร่ เช่นลูกชายที่มีแม่จุกจิกขี้บ่น ระเบียบจัด ก็ย่อมอยากได้แฟนที่ตรงกันข้าม (เพราะคงไม่อยากได้แม่คนที่สอง) เป็นต้น
2. เหมือนตัวเราเอง เรียกว่า narcissistic love ถ้า เป็น positive way ก็คือชอบคนที่เหมือน ๆ กับเรา นอกจากการที่เหมือนกันทำให้เข้ากันได้ง่ายแล้ว การรักคนที่เหมือนตัวเองนั้น ยังเป็นการเสริมความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองไปด้วย ถ้าเป็น negative way คือการชอบคนที่ตรงข้ามกับตัวเอง เช่น คนที่เงียบ ๆ ไม่ค่อยพูด อาจจะชอบคนที่ร่าเริง คุยเก่ง สนุกสนาน (เพราะถ้าเงียบเจอเงียบก็คงไม่ต้องพูดกัน ถ้าพูดเก่งเจอพูดเก่งก็ไม่มีใครฟัง)
3. เหมือนคนในอุดมคติ เรียกว่า ideal love คือชอบคนที่เหมือนที่เราวาดหวังไว้ เช่น ต้องหล่อ รวย หน้าตาดี นิสัยดี ตามใจ สุภาพ ฯลฯ
หากถามว่าความรักอย่างไหนแย่ที่สุด น่าจะเป็น ideal love เพราะ เป็นความรักบนความคาดหวัง
หวังว่าคนรักต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งชีวิตจริงนั้นไม่มีใครเป็นได้อย่างที่เราต้องการทุกอย่าง….
องค์ประกอบของความรัก
ความรักนั้น แสดงออกใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้สึก(affect) ความคิด (cognition) และพฤติกรรมการกระทำ (behavior)
ความรู้สึก : คือรู้สึกว่ารัก ชอบ รู้สึกมีความสุขเพียงแค่ได้อยู่ใกล้ ๆ
ความคิด : คือ การเข้าใจในคนรัก มองเห็นสิ่งดีของคนรัก ยอมรับได้ในสิ่งไม่ดี เห็นคุณค่าความหมาย และให้เกียรติแก่คนที่รัก
พฤติกรรมการกระทำ : คือการปฏิบัติกันอย่างดี การดูแลเอาใจใส่ การพูด การสัมผัส
หลาย ๆ ครั้งปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากการแสดงออกนั้นไม่ไปด้วยกันในแต่ละด้าน เช่น บอกว่ารักแฟนมาก ๆ แต่ไม่เคยทำอะไรให้เลย ไม่เคยช่วยเหลือ ไม่เคยดูแล ทำให้พูดยังไงก็ไม่มีน้ำหนัก ผู้หญิงบางคนแฟนจำไม่ได้ว่ากินข้าวด้วยกันวันแรกร้านไหน โกรธ งอนเอาเป็นเอาตาย ทั้ง ๆ แต่หากมองอย่างใช้ความคิด แฟนก็ดี ดูแล เป็นห่วง ไม่เคยนอกลู่นอกทาง เรียกว่าใช้แต่ความรู้สึก ไม่ได้ใช้ความคิดร่วมด้วย
ระยะของความรัก
พบว่าส่วนใหญ่แบ่งความรักออกเป็นสามระยะ (ในนี้จะอิงทฤษฏีตาม Lasswell เป็นหลัก)
ระยะที่ 1 เรียกว่า Romantic love หรือ ระยะความรักแบบโรแมนติค หรือบางทีเรียกว่าระยะ fall in love คือระยะช่วงต้นของการเริ่มจีบ จนถึงคบกันใหม่ ๆ ระยะนี้จะเป็นระยะที่มักมีแต่อารมณ์ ใช้แต่อารมณ์ คู่รักจะมองอีกฝ่ายอย่างอุดมคติ อะไรก็ดีไปหมด ชอบอะไรก็ชอบเหมือนกันไปหมด ไม่เห็นข้อบกพร่องใด ๆ (หรือเห็นก็ไม่ใส่ใจ) เรียกว่าเกิดการ “idealization” รวมถึงต่างฝ่ายก็มักจะทำตัวดี หันแต่ด้านดี ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็น นิสัยเสียหรือ …. เก็บไว้ก่อน ระยะนี้แล้วแต่คู่ ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี (และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมแฟนกัน ควรคบกับอย่างน้อย 1 ปีก่อนแต่งงาน เพราะจะได้ข้ามไปสู่ระยะที่สองก่อนที่คิดจะผูกพันแต่งงานกัน)
ระยะที่ 2 เรียกว่า Logical – Sensible Love หรือ ความรักแบบมี เหตุผล หรือบางทีก็เรียกว่า fall out of love คือระยะที่การใช้แต่อารมณ์เริ่มลดลง และเริ่มมีเหตุมีผลมากขึ้น จะเริ่มเห็นความจริงมากขึ้น เห็นข้อเสียของอีกฝ่ายมากขึ้น แต่ละฝ่ายเริ่มจะหันความเป็นตัวตนที่แท้จริงออกมา นิสัยไม่ดีต่าง ๆ ก็เริ่มเห็นชัดเจนขึ้น เหตุผลต่าง ๆ จะเริ่มมีมากขึ้น เช่น จากที่จนยังไงก็ไม่สน ตอนนี้อาจเริ่มคิด ระยะนี้ส่วนใหญ่จะประมาณ 1-2 ปี ส่วนใหญ่ของคู่รักที่เข้ากันไม่ได้ ยอมรับในข้อบกพร่องของอีกฝ่ายไม่ได้ ปรับตัวไม่ได้ก็จะเลิกกันไป แต่หากยอมรับและปรับตัวกันได้ก็จะดำเนินไปต่อในระยะต่อไป
ระยะที่ 3 เรียกว่า Lifelong friendship คือความรักแบบฉันท์เพื่อน หรือบางทีก็เรียกว่าระยะ maintenance เป็นระยะที่ยอมรับกันได้ในความเป็นตัวเขาตัวเธอ รักกันแบบเหมือนเพื่อนที่รักและสนิทกัน เป็นความผูกพันความรักที่ยาวนาน แม้จะไม่ได้ in love มาก ๆ หรืออารมณ์รักหวานหยดเหมือนระยะแรก แต่ความผูกพันก็ลึกซึ้งและดำเนินคงอยู่อย่างยาวนาน
ประเภทของความรัก
หากกล่าวถึงความรัก คงมีคนแบ่งแยกไว้หลาย ๆ รูปแบบ แต่หากจะแบ่งอย่างกว้าง ๆ ในเรื่องความรัก
นั้นคงแบ่งได้เป็น
Mature love (ความ รักอย่างมีวุฒิภาวะ) เป็นความรักของผู้ที่เต็มในตัวเอง มีเหตุมีผล อดทน เป็น active มากกว่า passive (คือเป็นผู้ให้ มากกว่าผู้ที่รอรับ)
Immature love (ความ รักอย่างไม่มีวุฒิภาวะ หรือรักแบบเด็ก ๆ ) เป็นความรักของผู้ที่รู้สึกขาด เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง เห็นแต่ความอยาก ความต้องการของตัวเอง ต้องการ”บางสิ่ง” มาเติมเต็มจิตใจตัวเอง
Mature love : I need you because I love you
Immature love : I love you because I need you
“ why isn’t love enough” หากคำว่ารักในประโยคนี้ หมายถึง “อารมณ์รัก” หรือ รักแบบโรแมนติก (romantic love) เพียงอย่างเดียวนั้น ….คงไม่พอ เพราะอารมณ์คนเรานั้นเหมือนคลื่นในทะเล เป็น dynamic มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นรักที่มีพื้นฐานอยู่บนอารมณ์ ก็คงเสมือนการสร้างบ้านบนหาดทราย ย่อมไม่มั่นคง และเสี่ยงต่อการพังทลาย
Mature love นั้นควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1. มองเห็นส่วนดีของกันและกัน
แน่ นอนว่าคนเรารักกันย่อมมองเห็นในข้อดีของกัน … แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่ออยู่ไปนาน ๆ แล้วสิ่งเหล่านี้มักหายไป หากชีวิตคุณซึ่ง 20 กว่าปีมาต้องไปไหนมาไหนเองตลอด จู่ ๆ ก็มีคนมารับ แรก ๆ ย่อมรู้สึกดีใจและชื่นชมในตัวเขาอย่างมาก แต่เมื่อผ่าน ไปนาน ๆ แล้วมักกลายเป็นความเฉย ๆ (แต่ไม่มารับแกตาย) …. เรียกว่า จากส่วนดีกลายเป็นเฉย ๆ แต่ไม่ทำจะกลายเป็นข้อเสียทันที
2. ยอมรับได้ในความแตกต่าง และส่วนไม่ดี
โดย ทั่วไป “ความเหมือนจะทำให้เราใกล้กัน แต่ความแตกต่างนั้นจะทำให้เราเติบโต” (“Sameness attract us, difference make us grow” V. Satir) เมื่อรักยังหวานจ๋อย … เรามักไม่เห็นส่วนไม่ดีของกันและกัน (หรือเห็นก็แกล้งไม่เห็น) แต่นาน ๆ ไปสิ่งเหล่านี้ก็จะเริ่มเห็นมากขึ้น เมื่อเราสามารถยอมรับได้ในความแตกต่างนั้น ไม่ใช่เพียงแต่คู่เราเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่ตัวเราก็จะเติบโต(ทางจิตใจ) มากขึ้น …
“ความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต คือการรู้ว่ามีคนที่รักเรา รักตัวของเรา
รักทั้ง ๆ ที่เราเป็นอย่างนี้” Victor Hugo
3. รู้จักขอโทษ และให้อภัย
แน่ นอนการอยู่กันย่อมมีทำผิดพลาด … มีข้อขัดแย้ง สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้จักขอโทษและให้อภัย การขอโทษไม่ได้หมายความว่าเราต้องผิดเสมอไป … แต่ขอโทษที่ทำให้ เขา/เธอ ไม่สบายใจ
ทะเลาะกันอย่างสร้างสรรค์ การทะเลาะกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ต่อให้คุณเอาตู้เย็นเป็นแฟน ซักวันคุณก็อาจไม่พอใจมันได้ แม้มันจะทำงานเหมือนเดิมตลอดก็ตาม นับประสาอะไรกับการอยู่กับคนผู้มีความรู้สึก ….. ให้รู้ว่า “การทะเลาะกัน ทำให้เรารู้ว่าเราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว” เพียงแต่ต้องรู้จัก “ทะเลาะกันเพื่อหาทางออก” เพื่อพยายามแก้ไข มากกว่าเอาชนะกัน การปล่อยผ่าน หนีปัญหา (denial) ถอยห่าง ไม่ช่วยอะไร นอกจากจะทำให้ชีวิตคู่นั้นเสื่อมลง ๆ
4. มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
ความ รับผิดชอบนี่ หมายถึง ความรับผิดชอบทั้งในด้าน การเรียน การงาน การเงิน และความรับผิดชอบในฐานะแฟน (สามี/ภรรยา) …. นั่นคือการดูแลกันและกัน รวมถึงซื่อสัตย์ต่อกัน
ความรับผิดชอบนี่มีความสำคัญมาก … ชีวิตไม่ค่อยจะเหมือนละครหลังข่าวเท่าไหร่ ที่มีคนรักที่ ไม่เรียน งานการไม่ทำ เกเร รับผิดชอบตัวเองยังไม่ได้ …. แล้วหวังว่าเมื่อมีความรัก เขาจะมารับผิดชอบต่อเรานั้น คงเป็นจริงได้ยากในชีวิตจริง …..
กับคำถาม “คน เราสามารถรักคนสองคนพร้อมกันได้หรือไม่ ?” นั้นคงบอกว่า เป็นไปได้ เพราะความรู้สึกบางครั้งเราห้ามไม่ได้ … แต่สามารถควบคุมความคิดและการกระทำได้ ความคิดคือรู้ว่ามันไม่เหมาะสม การกระทำคือไม่ทำอะไรที่เกินเลยไปกว่าความรู้สึกดี ๆสำหรับ แอนนาและแดน มันคงไม่ผิดหากจะรู้สึกรักคนมีคู่แล้ว …. แต่ทั้งคู่นั้นผิดเพราะกระทำเกินเลย และไม่รับผิดชอบต่อชีวิตคู่ของตัวเอง(มากจากหนังแหงๆ จำไม่ได้อ่ะค่ะ)
5. มีความห่วงใยเอาใจใส่กัน
Harry Stack Sullivan กล่าวว่า “ ความรักเริ่มต้นเมื่อเรารู้สึกว่าความต้องการของอีกคนหนึ่ง สำคัญพอ ๆ กับของตัวเอง” ต้องมีความห่วงใย ใส่ใจ มองเห็น “เรา” มากกว่า “ฉัน” … หากเรายังมองเห็นแต่ “ฉัน” เพียงอย่างเดียว การอยู่เป็นโสด น่าจะดีกว่า
6. มีมิตรภาพที่ดี
ความรักไม่ใช่เซเว่น (อีเลเว่น) มันไม่หวานชื่นตลอดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงตลอดไป แต่มิตรภาพที่ดีจะทำให้รักนั้นยั่งยืนต่อไป
และที่สำคัญ มิตรภาพที่ดี ไม่ใช่ “การเป็นเจ้าของ” กันและกัน แต่ละคนมีความเป็นอิสระตามควร ให้เป็นคนสองคนที่เดินไปเคียงข้างกัน มีเพียงตัวเองที่เป็นเจ้าของตัวเองเท่านั้น การรักด้วยการเป็นเจ้าของ (แบบแดน) คงนำมาเพียงซึ่งความหึงหวง ความอึดอัด และตามมาด้วยความขัดแย้งเท่านั้น
7. มีความคาดหวังอย่างเหมาะสม
คน เรามักจะ “หวัง” …. โดยลืมไปว่าทุกครั้งที่มีความคาดหวัง มันจะมีคำว่า “ผิดหวัง” แปะติดมาด้วย หลาย ๆ คนมักมีความคาดหวังในคู่อย่างมาก เขาต้องไม่กินเหล้า ไม่เที่ยวกลางคืน รายได้มั่นคง ต้องสวีตหวานชื่นตลอด วันเกิดต้องเลี้ยงบนยอดตึก ฯ โดยลืมไปว่าไม่มีใครได้ตามที่หวังไปตลอดหรอก และไม่มีใครสมบูรณ์ perfect ด้วยเช่นกัน กับอีกความคาดหวังหนึ่งคือ … คาดหวังให้คู่เรา มาเติมเต็มอะไรสักอย่างที่เราขาดไป (บ่อย ๆ มักเป็นความเหงา) โดยหารู้ไม่ว่าการหวังให้ใครมาเติมเต็ม หลุมที่เราขุด ยังไงก็ไม่มีวันเต็ม …. นอกจากเราต้องหยุดที่จะขุด และเติมเต็มมันด้วยตัวเองก่อน ….. ไม่เช่นนั้น นี่คือความคาดหวังบนความผิดหวังโดยแท้
8. อารมณ์รัก (passion) และ Sex
เอา มาเขียนเป็นอันสุดท้าย เพราะเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ (อาจรวมถึงผู้ใหญ่ด้วยมั๊ง) มักเอาไว้เป็นข้อแรก และลืมอ่านข้ออื่น ๆ ….. ไม่ได้บอกว่า sex ไม่สำคัญ … แต่มันไม่ใช่ทั้งหมด กับคำถามที่ว่า ความรัก คือ sex รึเปล่า … คำตอบคงอยู่ในนี้แล้วว่า เป็นส่วนหนึ่งในหลาย ๆ สิ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
**FW mail**