ພັນລາວ.ຄອມ
ຊອກຫາ:
ຊອກຫາແບບລະອຽດ
ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ກ.ຍ.. 5, 2011 | ມີ 10 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)

ເວັບໄຊ ທີ່ທຸກໆຄົນສາມາດ ຈັດເກັບຂໍ້ມູນຕ່າງໆໄດ້ແບບບໍ່ຈຳກັດ ເຊັ່ນ: ເອກະສານ,ຮູບພາບ,ວິດີໂອ,ເກມ,ໂປຮແກມຕ່າງໆ ແລະອື່ນໆອີກ...

ປະສົບການ ແລະ ການຮຽນຮູ້ ບໍ່ມີບ່ອນສີ້ນສຸດ

www.4shared.com

ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ກ.ຍ.. 3, 2011 | ມີ 1 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)

ຊຸດໂປຣແກຣມພາສາສຳລັບ Windows Vista

ເອກະສານນີ້ໄດ້ຈັດຫາໃຫ້ມີການຕິດຕັ້ງລ່ວງໜ້າ ແລະ ຂໍ້ມູນທົ່ວໄປ ທີ່ທ່ານຄວນຮັບຮູ້ກ່ອນທີ່ຈະຕິດຕັ້ງຊຸດໂປຣແກຣມພາສາສຳລັບ Windows Vista.

ກ່ຽວກັບຊຸດໂປຣແກຣມພາສາສຳລັບ Windows Vista

ຊຸດໂປຣແກຣມພາສາ (LIP) ສຳລັບ Windows Vista ນີ້ ໄດ້ຈັດຫາໃຫ້ບາງພາກສ່ວນ ໄດ້ມີການແປລຸ້ນຂອບເຂດພື້ນທີ່ ທີ່ໃຊ້ທັງໝົດຂອງ Windows ຢ່າງກວ້າງຂວາງ. ຫຼັງຈາກການຕິດຕັ້ງໂປຣແກຣມ LIP, ຂໍ້ຄວາມຢູ່ໃນຕົວຊ່ວຍສ້າງ, ກ່ອງສົນທະນາ, ເມນູ, ຫົວຂໍ້ການຊ່ວຍເຫຼືອ ແລະ ການສະໜັບສະໜູນ, ແລະ ລາຍການອື່ນໆ ທີ່ຢູ່ໃນໂປຣແກຣມຜູ້ໃຊ້ຈະຖືກສະແດງຢູ່ໃນໂປຣແກຣມພາສາ LIP, ຂໍ້ຄວາມທີ່ບໍ່ໄດ້ແປມັນຈະຢູ່ໃນຖານພາສາຂອງ Windows Vista. ຕົວຢ່າງ, ຖ້າທ່ານໄດ້ຊື້ໂປຣແກຣມ Windows Vista ລຸ້ນຂອງແອັດສະປາຍໂຍນ, ບາງຂໍ້ຄວາມຈະຍັງຄົງເປັນພາສາແອັດສະປາຍໂຍນ. ທ່ານສາມາດຕິດຕັ້ງໂປຣແກຣມ LIP ຫຼາຍກວ່າໜຶ່ງໂປຣແກຣມ, ດັ່ງນັ້ນຜູ້ໃຊ້ຄອມພິວເຕີແຕ່ລະຜູ້ໃຊ້ ສາມາດສະແດງພາສາ ທີ່ຕ້ອງການຂອງເຂົາເຈົ້າຢູ່ໃນໂປຣແກຣມຜູ້ໃຊ້.

ກ່ອນທີ່ທ່ານຈະຕິດຕັ້ງໂປຣແກຣມ LIP

  ຄອມພິວເຕີທີ່ທ່ານຕ້ອງການທີ່ຈະຕິດຕັ້ງໂປຣແກຣມ LIP ລົງໃສ່ ຈະຕ້ອງເປີດໃຊ້ງານໂປຣແກຣມລຸ້ນ Windows Vista. ອັກ​ຕິ​ເວ​ຊັນ​ໄດ້​ພິສູດ​ວ່າ​​ສຳ​ເນົາ Windows ​ຂອງ​ທ່ານ ​ແມ່ນ​ຂອງ​ແທ້ ​ແລະ ​ສຳ​ເນົາ​ດັ່ງກ່າວ​ຍັງ​ບໍ່​ທັນ​ໄດ້​ຖືກ​ໃຊ້​ກັບ​ຄອມ​ພິ​ວ​ເຕີ​ຫຼາຍ​ເກີນ​ກວ່າທີ່​ໃບ​ອະນຸຍາດ​ນຳ​ໃຊ້ຊອບ​ແວ​ ຂອງ Microsoft ອະນຸຍາດ.

  ໂປຣ​ແກຣມ LIP ຈະ​ຕ້ອງ​ໄດ້​ສະໜັບສະ​ໜູນໂດຍ​ຖານ​ພາສາ​ຂອງ Windows Vista. ສຳລັບ​ຕົວຢ່າງ, ຖ້າ​ທ່ານ​ໄດ້​ຊື້​ໂປຣ​ແກຣມ Windows Vista ລຸ້ນຂອງ​ແອັດສະປາຍໂຍນ, ການບັນຈຸ​ພຽງ​ແຕ່​ໂປ​ຣ​ແກຣມ LIP ສາມາດ​ຕິດ​ຕັ້ງ​ຢູ່ເທິງລຸ້ນນັ້ນ. ສິ່ງທີ່ຈຳເປັນຕ້ອງເຮັດສຳລັບໂປຣແກຣມ LIP ໄດ້ຖືກຈັດໃຫ້ຢູ່ເທິງ Microsoft ເວັບໄຊກັບໂປຣແກຣມຟາຍ LIP.

ການ​ຕິດ​ຕັ້ງ​ໂປຣ​ແກຣມ LIP

  ທ່ານ​ຈະຕ້ອງ​​ເຂົ້າ​ສູ່​ລະບົບເປັນຜູ້​ຄຸ້ມ​ຄອງ​ລະບົບ ​ເພື່ອ​ຕິດ​ຕັ້ງ​ໂປຣ​ແກຣມ LIP ​ແລະ ທ່ານ​ຈະ​ຕ້ອງ​ໃຫ້​ແນ່​ໃຈ​ວ່າ​: ຜູ້​ໃຊ້ອື່ນໆ ທັງ​ໝົດ​ໄດ້​ອອກ​ຈາກ​ລະບົບຄະນະ​ທີ່​​ດຳ​ເນີນ​ການ ການຕິດ​ຕັ້ງ.

  ການ​ຕິດ​ຕັ້ງ​ໂປຣ​ແກຣມຈະນຳ​ພາ​ທ່ານ​ຜ່ານ​ເຂົ້າ​ໄປ​ສູ່ການ​ດຳ​ເນີນ​ການ​ການ​ຕິ​ດຕັ້ງ ​ແລະ ຈາກ​ນັ້ນ​ຈະ​ອອກ​ລະບົບ​ໂດຍ​ທັນທີ​ທັນ​ໃດ. ​ເມື່ອ​ທ່ານກັບ​ໄປ​ເຂົ້າ​ສູ່​ລະບົບ ​ແລະ ປ່ຽນການສະແດງພາສາ​ທີ່​ໂປຣ​ແກຣມພາສາ LIP, Windows ​ຈະ​ຖືກ​ສະ​ແດງ​ຢູ່​ໃນ​ພາສາທີ່​ທ່ານ​ໄດ້​ຕິດ​ຕັ້ງໄວ້.

ຖານວຽກທີ່​ໄດ້ສະໜັບສະໜູນ

ໂປຣແກຣມ LIPs ເຮັດວຽກກັບສະເພາະລຸ້ນ 32 ບິດ ຂອງ Windows Vista ແລະ ບໍ່ສາມາດຕິດຕັ້ງຢູ່ເທິງລຸ້ນທີ່ຜ່ານມາຂອງ Windows ລຸ້ນທີ່ຢູ່ໃນ 64 ບິດຂອງ Windows Vista.

ການບັນທຶກຫຼັງການຕິດຕັ້ງ

ເພື່ອສະແດງ Windows ຢູ່ໃນໂປຣແກຣມພາສາ LIP, ທ່ານຈຳເປັນຕ້ອງປ່ຽນການສະແດງພາສາດ້ວຍການປະຕິບັດຕາມຂັ້ນຕອນຕໍ່ນີ້:

1.  ໃຫ້ກົດປຸ່ມ ເລີ່ມຕົ້ນ, ກົດ ສູນກາງຄວບຄຸມ, ກົດ ໂມງ, ພາສາ, ແລະ ຂົງເຂດ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົວເລືອກຂົງເຂດ ແລະ ພາສາ.

2.  ໃຫ້ກົດ ແທ໋ບ ແປ້ນພິມ ແລະ ພາສາ.

3.  ທາງລຸ່ມ ການສະແດງພາສາ, ໃຫ້ເລືອກພາສາຈາກລາຍການ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົກລົງ.

ຄັ້ງໜຶ່ງໂປຣແກຣມ LIP ໄດ້ຖືກຕິດຕັ້ງ, ມັນໄດ້ເປີດໃຊ້ທີ່ ບັນຊີຜູ້ໃຊ້ທັງໝົດ ທີ່ຢູ່ເທິງຄອມພິວເຕີ. ຜູ້ໃຊ້ອື່ນ ສາມາດເຂົ້າສູ່ລະບົບບັນຊີຂອງເຂົາເຈົ້າ ແລະ ຕິດຕາມຂັ້ນຕອນເບື້ອງເທິງ ເພື່ອປ່ຽນແປງການສະແດງພາສາຂອງເຂົາເຈົ້າ.

ເມື່ອທ່ານປ່ຽນແປງການສະແດງພາສາ. ມັນໄດ້ຖືກປ່ຽນແປງສະເພາະບັນຊີຜູ້ໃຊ້ຂອງທ່ານ ແລະ ບໍ່ໄດ້ຖືກປ່ຽນແປງຢູ່ເທິງໜ້າຈໍຕ້ອນຮັບ(ໜ້າຈໍທີ່ທ່ານໃຊ້ທີ່ເຂົ້າສູ່ລະບົບຢູ່ເທິງ Windows). ເພື່ອປ່ຽນການສະແດງພາສາຢູ່ເທິງໜ້າຈໍຕ້ອນຮັບ, ໃຫ້ປະຕິບັດຕາມຂັ້ນຕອນເຫຼົ່ານີ້:

1.  ໃຫ້ກົດປຸ່ມ ເລີ່ມຕົ້ນ, ກົດ ສູນກາງຄວບຄຸມ, ກົດ ໂມງ, ພາສາ, ແລະ ຂົງເຂດ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົວເລືອກຂົງເຂດ ແລະ ພາສາ.

2.  ໃຫ້ກົດ ແທ໋ບ ການຄຸ້ມຄອງ, ຈາກນັ້ນກົດ ສຳເນົາເພື່ອສະຫງວນບັນຊີໄວ້. ຖ້າທ່ານກຽມພ້ອມສຳລັບລະຫັດຜ່ານຜູ້ຄຸ້ມຄອງລະບົບ ຫຼືການຢັ້ງຢືນ, ໃຫ້ພິມລະຫັດຜ່ານ ຫຼືການຢັ້ງຢືນການສະໜອງ.

3.  ໃຫ້ເລືອກການກວດກາກ່ອງ ລະບົບບັນຊີ (ລະບົບທີ່ຕັ້ງ, ການບໍລິການທີ່ຕັ້ງ, ແລະ ການບໍລິການເຄືອຂ່າຍ).

ພື້ນທີ່ກວ້າງຂວາງ ທີ່ໃຊ້ພາບສະແດງຕໍ່ຜູ້ໃຊ້ທັງໝົດ ໄດ້ຖືກສະແດງຢູ່ໃນໂປຣແກຣມພາສາ LIP. ບາງພື້ນທີ່ຂອງພາບທີ່ສະແດງຕໍ່ຜູ້ໃຊ້ ຈະຍັງເຫຼືອຢູ່ໃນຖານພາສາ. ຕົວຢ່າງຂອງເຄື່ອງມືຜູ້ຄຸ້ມຄອງ, ເຊັ່ນ: ຕົວເບິ່ງເຫດການ ແລະ ຕົວຕິດ MMC.

ບາງພື້ນທີ່ຂອງ Windows ອາດຈະມີການເຊື່ອມໂຍງຫົວຂໍ້ ທີ່ໄດ້ມີການແປ ແຕ່ຂໍ້ຄວາມເນື້ອໃນຫຼັກຂອງຕົວຢ່າງ ຈະມີຢູ່ໃນຖານພາສາ. ນີ້ແມ່ນ ຄຸນລັກສະນະປະຈຳຕົວທຳມະດາສຳລັບໂປຣແກຣມ LIP. ຕົວຢ່າງເຫຼົ່ານີ້ ແມ່ນການຖ່າຍໂອນ Windows ແບບງ່າຍດາຍ ແລະ ໄປທີ່ການເຊື່ອມໂຍງແບບອອນລາຍຈາກສູນກາງຕ້ອນຮັບ.

ບໍ່ມີໂປຣແກຣມຢູນີໂຄດ ທີ່ໄດ້ຖືກພັດທະນາໂປຣແກຣມພາສາ LIP ອາດຈະສະແດງກັບ ບາງຕົວອັກສອນທີ່ອ່ານບໍ່ໄດ້. ເພື່ອປ່ຽນແປງການສະແດງພາບ ຕໍ່ຜູ້ໃຊ້ສຳລັບໂປຣແກຣມເຫຼົ່ານີ້ ທີ່ໂປຣແກຣມພາສາ LIP, ທ່ານຕ້ອງການປ່ຽນແປງທີ່ຕັ້ງລະບົບ. ທ່ານສາມາດປ່ຽນແປງທີ່ຕັ້ງລະບົບໂດຍການເລືອກ ນຳໃຊ້ການປ່ຽນແປງໄປທີ່ລະບົບບັນຊີ ກ່ອງກວດກາຢູ່ເທິງໜ້າສຸດທ້າຍຂອງການຕິດຕັ້ງຕົວຊ່ວຍສ້າງ ຫຼືປະຕິບັດຕາມແຕ່ລະຂັ້ນຕອນດັ່ງນີ້:

1.  ໃຫ້ກົດປຸ່ມ ເລີ່ມຕົ້ນ, ກົດ ສູນກາງຄວບຄຸມ, ກົດ ໂມງ, ພາສາ, ແລະ ຂົງເຂດ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົວເລືອກ ຂົງເຂດ ແລະ ພາສາ.

2.  ກົດແທ໋ບ ການຄຸ້ມຄອງ, ຈາກນັ້ນ, ກົດ ຢູ່ກ້ອງ ພາສາສຳລັບໂປຣແກຣມທີ່ບໍ່ມີຢູນີໂຄດ (ທີ່ຕັ້ງລະບົບ), ໃຫ້ກົດ ປ່ຽນແປງທີ່ຕັ້ງລະບົບ. ຖ້າທ່ານກຽມພ້ອມສຳລັບລະຫັດຜ່ານຜູ້ຄຸ້ມຄອງລະບົບ ຫຼືການຢັ້ງຢືນ, ໃຫ້ພິມລະຫັດຜ່ານ ຫຼືໃຫ້ຄຳຢືນຢັນ.

3.  ໃຫ້ເລືອກພາສາ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົກລົງ.

4.  ທ່ານຈະຕ້ອງເລີ່ມຕົ້ນ ຄອມພິວເຕີຂອງທ່ານໃໝ່ ສຳລັບການປ່ຽນແປງທີ່ໄດ້ຖືກນຳໄປໃຊ້.

5.  ເພື່ອເລີ່ມຕົ້ນຄອມພິວເຕີຂອງທ່ານໃໝ່, ໃຫ້ກົດ ເລີ່ມໃໝ່ດຽວນີ້.

ໂປຣແກຣມ Internet Explorer ອາດຈະສະແດງບາງໜ້າເວັບ ກັບຕົວໜັງສືທີ່ອ່ານບໍ່ໄດ້. ເປັນເພາະວ່າການຕິດຕັ້ງໂປຣແກຣມ LIP ບໍ່ໄດ້ປ່ຽນແປງໂປຣແກຣມພາສາທີ່ Internet Explorer. ເພື່ອສະແດງໜ້າເວັບຢ່າງຖືກຕ້ອງຢູ່ໃນໂປຣແກຣມພາສາ LIP, ທ່ານຈະຕ້ອງໄດ້ເພີ່ມພາສາທີ່ Internet Explorer ໂດຍການປະຕິບັດຕາມຂັ້ນຕອນດັ່ງນີ້:

1.  ໃຫ້ກົດປຸ່ມ ເລີ່ມຕົ້ນ, ຈາກນັ້ນກົດ Internet Explorer.

2.  ໃຫ້ກົດປຸ່ມ ເຄື່ອງມື, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົວ​ເລືອກ Internet.

3.  ໃຫ້ກົດແທ໋ບ ທົ່ວໄປ, ຈາກນັ້ນກົດ ພາສາ.

4.  ຢູ່ໃນກ່ອງສົນທະນາ ການອ້າງອີງພາສາ, ກົດ ເພີ່ມ.

5.  ຢູ່ໃນກ່ອງສົນທະນາ ການເພີ່ມພາສາ, ໃຫ້ເລືອກພາສາຈາກລາຍການ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົກລົງ.

ປະເດັນທີ່ໄດ້ຮັບຮູ້

ປັດຈຸບັນບໍ່ມີປະເດັນທີ່ຮັບຮູ້ກັບໂປຣແກຣມ LIP ນີ້.

ບໍ່ໄດ້ຕິດຕັ້ງໂປຣແກຣມ LIP

ທ່ານບໍ່ສາມາດຕິດຕັ້ງໂປຣແກຣມ LIP ຫຼືທ່ານສາມາດອອກຈາກໂປຣແກຣມ LIP ຢູ່ໃນຄອມພິວເຕີຂອງທ່ານ ແຕ່ປ່ຽນການສະແດງພາສາກັບໄປທີ່ຖານພາສາ. ທີ່ບໍ່ຕິດຕັ້ງໂປຣແກຣມ LIP, ໃຫ້ປະຕິບັດແຕ່ລະຂັ້ນຕອນດັ່ງນີ້:

1.  ໃຫ້ກົດປຸ່ມ ເລີ່ມຕົ້ນ, ກົດ ສູນກາງຄວບຄຸມ, ກົດ ໂມງ, ພາສາ, ແລະ ຂົງເຂດ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົວເລືອກຂົງເຂດ ແລະ ພາສາ.

2.  ໃຫ້ກົດແທ໋ບ ແປ້ນພິມ ແລະ ພາສາ.

3.  ຢູ່ກ້ອງ ການສະແດງພາສາ, ກົດ ຕິດຕັ້ງ/ບໍ່ຕິດຕັ້ງພາສາ, ຈາກນັ້ນປະຕິບັດຕາມຂັ້ນຕອນ. ຖ້າທ່ານກຽມພ້ອມສຳລັບລະຫັດຜ່ານຜູ້ຄຸ້ມຄອງລະບົບ ຫຼືການຢັ້ງຢືນ, ໃຫ້ພິມລະຫັດຜ່ານ ຫຼືໃຫ້ຄຳຢືນຢັນ.

ເພື່ອປ່ຽນແປງການສະແດງ ໃຫ້ກັບໄປທີ່ຖານພາສາ, ໃຫ້ປະຕິບັດຕາມຂັ້ນຕອນດັ່ງນີ້:

1.  ໃຫ້ກົດປຸ່ມ ເລີ່ມຕົ້ນ, ກົດ ສູນກາງຄວບຄຸມ, ກົດ ໂມງ, ພາສາ, ແລະ ຂົງເຂດ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົວເລືອກຂົງເຂດ ແລະ ພາສາ.

2.  ໃຫ້ກົດແທ໋ບ ແປ້ນພິມ ແລະ ພາສາ.

3.  ຢູ່ກ້ອງ ການສະແດງພາສາ, ໃຫ້ເລືອກ ພາສາຈາກລາຍການ, ຈາກນັ້ນກົດ ຕົກລົງ.

ສະຫງວນລິຂະສິດ

ຂໍ້ມູນຢູ່ໃນເອກະສານນີ້, ລວມທັງ URL ແລະ ຂໍ້ອ້າງອີງຕ່າງໆ ຈາກເວັບໄຊອິນເຕີເນັດອື່ນໆ ນັ້ນ, ອາດມີການປ່ຽນແປງ ໂດຍບໍ່ມີການແຈ້ງເຕືອນໃຫ້ຮູ້ລ່ວງໜ້າ ແລະ ມັນແມ່ນພຽງແຕ່ເປັນການຈັດຫາຂໍ້ມູນເທົ່ານັ້ນ. ຄວາມສ່ຽງຂອງການນຳໃຊ້ ຫຼືຜົນໄດ້ຮັບຂອງການນຳໃຊ້ເອກະສານນີ້ ແມ່ນຕົກຢູ່ກັບຜູ້ໃຊ້ທັງໝົດ, ແລະ Microsoft Corporation ຈະບໍ່ຮັບປະກັນໃດໆ ທັງໝົດ, ບໍ່ວ່າທາງກົງ ຫຼືທາງອ້ອມ. ນອກຈາກວ່າໄດ້ບັນທຶກຢ່າງໃດຢ່າງໜຶ່ງ, ຕົວຢ່າງ: ບໍລິສັດ, ອົງການ, ຜະລິດຕະພັນ, ຊື່ໂດເມນ, ທີ່ຢູ່ອີເມວ, ສັນຍາລັກ, ຜູ້ຄົນ, ສະຖານທີ່ ແລະ ເຫດການຖືກເຈດຕະນາ ຫຼືຄວນຖືກລົງຄວາມເຫັນ. ການຍອມຮັບທາງກົດໝາຍ ການສະຫງວນລິຂະສິດ ທີ່ນຳໃຊ້ໄດ້ທັງໝົດ ແມ່ນຄວາມຮັບຜິດຊອບຂອງຜູ້ຊົມໃຊ້. ໂດຍບໍ່ຕ້ອງສະຫງວນລິຂະສິດຢູ່ທີ່ທາງລຸ່ມເບື້ອງຂວາ. ບໍ່ມີພາກສ່ວນໃດ ຂອງເອກະສານນີ້ ທີ່ຈະຖືກເຮັດຄືນໃໝ່, ທີ່ຖືກບັນຈຸຢູ່ທາງໃນ ຫຼືຖືກແນະນຳ ຢູ່ທີ່ລະບົບກູ້ຄືນ, ຫຼືຖືກຖ່າຍທອດຢູ່ໃນທຸກໆ ແບບຟອມ ຫຼືດ້ວຍວິຖີທາງດ້ານ (ໄຟຟ້າ, ເຄື່ອງຈັກ, ການສຳເນົາຮູບຖ່າຍ, ການບັນທຶກ, ຫຼືດ້ານໜຶ່ງອີກ), ຫຼືເພື່ອການສະໜອງໃດໆ, ໂດຍບໍ່ໄດ້ສະແດງຄວາມຄິດເຫັນການຂຽນໃບອະນຸຍາດຂອງ Microsoft Corporation.

Microsoft ຈະຕ້ອງໄດ້ລົງທະບຽນ, ການລົງທະບຽນການນຳໃຊ້, ເຄື່ອງໝາຍການຄ້າ, ສະຫງວນລິຂະສິດ, ຫຼືວັດຖຸທີ່ຄວບຄຸມຄຸນສົມບັດຄວາມຮູ້ອື່ນໆ ຢູ່ໃນ ເອກະສານນີ້. ຍົກເວັ້ນແຕ່ ຈຸດປະສົງ ທີ່ໄດ້ຈັດຫາໃຫ້ ຢູ່ໃນເງື່ອນໄຂນຳໃຊ້ຊອບແວ Microsoft , ຄວາມສຳເລັດຂອງເອກະສານນີ້ ບໍ່ໄດ້ອຸນຸຍາດໃຫ້ລົງທະບຽນສິດທິບັດເຫຼົ່ານີ້, ເຄື່ອງໝາຍການຄ້າ, ສະຫງວນລິຂະສິດ, ຫຼືຄຸນສົມບັດຄວາມຮູ້ອື່ນໆ.

© 2006 Microsoft Corporation. ສະຫງວນລິຂະສິດທັງໝົດ.

Microsoft, Internet Explorer, ແລະ Windows Vista ທັງສອງ ແມ່ນໄດ້ຖືກຈົດທະບຽນເຄື່ອງໝາຍການຄ້າ ຫຼືເຄື່ອງມາຍການຄ້າຂອງ Microsoft Corporation ຢູ່ໃນປະເທດສະຫະລັດເອເມລິກາ ແລະ/ຫຼືປະເທດ ຫຼືຂົງເຂດອື່ນໆ.

ຊື່ແທ້ຈິງຂອງບໍລິສັດ ແລະ ການອ້າງອີງເຖິງຜະລິດຕະພັນທີ່ນີ້ ອາດຈະເປັນເຄື່ອງໝາຍການຄ້າຂອງ ເຈົ້າຂອງໂດຍລຳດັບ.

ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ກ.ຍ.. 1, 2011 | ມີ 0 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)


ลีนุกซ์ เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการ (Operating System) ตัวหนึ่ง เช่นเดียวกับ ดอส (Dos), Windows95/98, WindowsNT, OS/2 หรือ Unix โดยที่ลีนุกซ์ถูกออกแบบ มาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ pc (personel computer) ทั่วไป ที่ใช้ตัวประมวลผล (CPU) ตระกูลX86ของ Intel (อินเทล) เช่น 80386, 486, Pentium เป็นต้น แต่ในปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนา เพื่อให้สามารถใช้งานได้บนตัวประมวลผลอื่นๆ ด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เป็นต้น


ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่มีความเข้ากันได้ และมีคุณลักษณะของระบบ UNIX (ยูนิกซ์) ลีนุกซ์เป็นระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser), หลายงาน (Multitasking) อย่างแท้จริง โดยความหมาย ทางเทคนิคแล้ว ลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) หรือ แกนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งลีนุกซ์ถูกเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้ดัดแปลงโค้ด (โปรแกรม) มาจากยูนิกซ์ตัวอื่น ๆ

ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ซึ่งระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น คือ Minix (มินิกซ์) ยังมีความสามารถน้อย โทรวัลด์สจึงได้ทำการพัฒนา ระบบปฎิบัติการ ของตนเองขึ้นมาชื่อว่า "ลีนุกซ์" โดยร่วมกันพัฒนากับเพื่อน ๆ และทำการแจกซอร์สโค้ด ให้สามารถนำไปพัฒนาต่อได้บนอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันลีนุกซ์หาได้ในอินเตอร์เน็ต และกำลังเป็นที่นิยม จึงมีเหล่า โปรแกรมเมอร์มากมาย ช่วยกันพัฒนาโปรแกรมต่างๆ โดยที่เกือบจะทุกโปรแกรม ที่รันบนลีนุกซ์ และแม้แต่ตัวเคอร์เนลเอง ยังถูกแจกจ่ายไปพร้อมกับซอร์สโค้ด ดังนั้นคุณก็สามารถที่จะ ปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ได้ด้วยตนเองและยังมีที่ ๆคุณ จะสามารถขอความช่วยเหลือต่างๆ ได้ตลอดบนอินเตอร์เน็ต ข้อสำคัญ "ฟรี" ครับ

เนื่องจากลีนุกซ์เป็นของฟรี เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด(แจกซอร์สโค้ด) มีความสามารถแบบยูนิกซ์ สนับสนุนโปรโตคอลแบบ TCP/IP ,SLIP, PPP, UUCP และอื่นๆ มีคุณสมบัติทางเน็ตเวอร์ แบบยูนิกซ์อีกมากมาย สนับสนุนระบบไฟล ์ของระบบปฏิบัติการ หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น DOS (FAT), Windows95 (VFAT หรือ FAT32), WindowsNT (NTFS) และยังสามารถใช้งานร่วมกับ DOS และ Windows ได้ โดยที่คุณสามารถ ติดตั้งลีนุกซ์ลงบนพาร์ติชันของ DOS / Windows และยังจะเขียน/อ่าน แผ่นดิสก์ หรือฮาร์ดดิสค์ที่ถูกฟอร์แมตโดย DOS/Windowsได้ โดยตรงครับ ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ แม้แต่บริษัทรายใหญ่(เช่นบริษัททำภาพยนต์เอนิเมชั่นต่าง ๆ) หลายแห่งก็ได้เลือกใช้ลีนุกซ์ (มีข่าวลือว่า แม้แต่พนักงานของ IBM และ Microsoft ก็ยังมีลีนุกซ์ไว้ใช้งานซะเลย ^_^ )

ลีนุกซ์สามารถรันได้ บนเครื่องที่มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ตั้งแต่ 80386 / SX ขึ้นไป หน่วยความจำ 2 เมกะไบต์ ฟลอบปี้ดิสค์ขนาด 1.44 หรือ 1.2 เมกะไบต์ การ์ดแสดงผล และจอภาพแบบโมโนโครม (ซึ่งน้อยไปสำหรับ Windows ) สามารถใช้ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสค์, ซีดีรอม, การ์ดเสียง, เครื่องพิมพ์ ได้เหมือนกับ windows (สรุปว่ากินทรัพยากรน้อยกว่าว่างั้นเถอะ..)

โดยรวมนั้นลีนุกซ์ยังคงเหมาะ กับการใช้งานทางด้านเน็ตเวิร์ก ( เพราะคุณสมบัติทางเน็ตเวิกร์ดีมาก ๆ ) หรือผู้ที่สนใจจะศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ตัวระบบปฏิบัติการหรือ พัฒนาโปรแกรม จะยังไม่เหมาะสมเท่าใหร่ กับการใช้งานโดยทั่วๆไป หรืออย่างน้อยในตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถจะใช้แทน Windows ได้อย่างสบายๆ เพราะลีนุกซ์เอง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และใช้งานได้ยากกว่า ( ดีกว่าแต่ใช้ยากกว่าครับ ) แต่ในอนาคต ยังคงมีโปรแกรมเมอร์อีกมายมาย ที่กำลังพัฒนาลีนุกซ์ และโปรแกรมบนลีนุกซ์ ให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ( อย่างเช่น KDE เป็นต้น ) โดยเฉพาะภาษาไทยโปรแกรมเมอร์คนไทย ก็ได้ช่วยกันพัฒนาให้ลีนุกซ์ใช้ภาษาไทยกันได้แล้วครับ..

* แล้วผมก็ลืมที่จะบอกถึง ข้อเสียที่สำคัญของลีนุกซ์ สำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มรู้จัก และคิดว่าลีนุกซ์เป็นเรื่องน่าสนใจ ที่คิดจะลองเล่นโดยคิดว่า จะเหมือนกับแค่ลงโปรแกรม สักโปรแกรมหนึ่งบนวินโดว์ละก็ เสียใจครับ สีนุกซ์นั้นดีจริงแต่ไม่ใช่ง่าย ๆ ครับ ^_^

- เป็น os (operarting system) 32 บิท.

- multitasking : ทำงานหลายงานได้ในเวลาเดียวกัน

- multiuser : ผู้ใช้หลายคนใช้งานภายในเครื่องเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน

- ถ้าเอา multitasking,multiuser มารวมกัน ก็หมายความว่า เครื่องใด ๆที่ใช้ลีนุกซ์ สามารถใช้ได้หลาย ๆ คน แต่ละคนใช้หลาย ๆ โปรแกรม ทั้งหมดนี่ในเวลาเดียวกันครับ

- multiplatform : สามารถทำได้ในซีพียูหลายตระกูลไม่เฉพาะแต่ Intel เท่านั้น

- multiprocessor : SMP รองรับการทำงานแบบหลายซีพียู ในขณะนี้ทำงานได้บนชิพ Intel และ SPARC ส่วนเพลตฟอร์มอื่น ๆกำลังพัฒนา

- มีการป้องกันหน่วยความจำ คือเป็นการป้องกัน การรบกวนระหว่างโปรเซส เพราะมันคือที่มาที่จะทำให้ระบบล่ม

- demand loads executables : หมายถึงเฉพาะส่วนของโปรแกรมที่ถูกเรียกทำงานเท่านั้น ที่จะถูกอ่านจากดิสค์เข้าหน่วยความจำ ช่วยให้การใช้งานหน่วยความจำมีประสิทธิภาพ

- copy-on-write : คือการที่หลาย ๆโปรเซสสามารถใช้งานในหน่วยความจำส่วนเดียวกันได้ (คือต้องการข้อมูลที่เหมือนกันเช่นโปรแกรมเดียวกัน) และถ้ามีโปรเซสใดต้องการจะเขียนก็จะถูกย้าย ให้ไปเขียนที่อื่นโดยไม่ไปรบกวน โปรเซสอื่น ๆ ช่วยให้เพิ่มความเร็ว และประหยัดหน่วยความจำ

- การใช้หน่วยความจำเสมือน ใช้วิธี paging คือทำแบบแยกส่วนกันและปรับขนาดได้ ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถรองรับได้ถึง 2 GB

- unified memory pool : สำหรับใช้หน่วยความจำเป็นดิสค์แคช คือหน่วยความจำที่ว่างทั้งหมด จะถูกใช้งานเป็นดิสค์แคช และจะลดขนาดของดิสค์แคชลง เมื่อมีความต้องการใช้งานหน่วยความจำหรือโหลดโปรแกรมเพิ่มขึ้น

- dynamically linked shared libraries (DLL's) : เหมือนกับDLLของWindows คือเป็นไลบราลี่ไฟล์ ที่ใช้งานร่วมกัน ( เช่น วาดกรอบ ของวินโดว์ ) การเขียนเป็นไลบราลี่ไว้เรียกใช้ ช่วยให้โปรแกรมมีขนาดเล็กลงมาก

- core dumps : ใช้ในการทดสอบโปรแกรม(ดีบัก) เพื่อหาหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม

- มีคุณสมบัติ เข้ากันได้กับมาตรฐาน POSIX System V และ BSD ในระดับซอร์สโค้ด คือเข้ากันได้ กับยูนิกซ์ทั่ว ๆไปเช่น นำซอร์สโค้ดของยูนิกซ์มาคอมไพล์ได้โดยไม่ต้องแก้ไขเลย

- 387-emulation : ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ใช้ลีนุกซ์เสมือนกับว่ามี math co-processor (ตัวคำนวนทางทศนิยม ) หรือที่เรียกว่า FPU และถ้าเครื่องของคุณมี math co-processor อยู่แล้วก็สามารถที่จะถอดออกจากเคอร์เนล เพื่อเป็นการประหยัดหน่วยความจำได้ด้วย

- สามารถเข้าถึงและใช้งานพาติชันของ DOS, OS/2 FAT, MS-DOS6 compressed(ที่บีบอัดข้อมูล), VFAT(Win95-NT),FAT32(Win98)

- อ่านอย่างเดียว กับ HPFS-2 พาติชันของ OS/2 version 2.1

- HPFS ระบบ ไฟล์ของ Macintosh (มีโมดูลเสริมต่างหาก)

- CD-ROM แบบฟอร์มของ cd-rom

- TCP/IP รองรับเต็มรูปแบบ ทั้ง ftp, telnet, NFS หรือจะเป็นโปรโตคอลต่าง ๆ เช่น TCP, IPv4, IPv6, AX.25, X.25, IPX, DDP เป็นต้น

- Appletalk server : Server ของแมคอินทอช

- ข้อสำคัญ Linux เป็นของฟรี ซอร์สโค้ด,เคอร์เนล,ไดร์เวอร์ก็ฟรี เพราะว่าลิขสิทธิ์ของ General Public License (GPL.) โดยการควบคุมของ Free Software Foundation จึงสามารถแจกจ่ายกันได้ ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ แม้แต่บาทเดียว

คราวนี้เราจะมาพูดถึง เรื่องการติดตั้งลีนุกซ์กันนะครับ การติดตั้งนั้น จะแบ่งออกเป็นตอน ๆ จะเริ่มตั้งแต่พื้นฐาน เพราะเราจะเน้นสำหรับผู้เริ่มต้น ครับสำหรับตอนนี้จะเป็นการติดตั้ง slackware 3.4 จริง ๆแล้วในการติดตั้งลีนุกซ์ในตระกูลของ slackware ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นใดๆก็ตาม การติดตั้งก็จะคล้าย ๆ กัน แต่ก่อนจะติดตั้ง เรามารู้จักพื้นฐานกันสักเล็กน้อย และจะง่ายขึ้นถ้าเคยผ่านการใช้ดอสมาก่อน

พาติชั่น แปลเป็นไทยตรง ๆก็แปลว่าเครื่องกั้น ก็คือแบ่งพื้นที่ในฮาร์ทดิสก็ออกเป็นส่วน ๆ ใช่แล้วครับ ท่านสามารถแบ่งใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการ ในฮาร์ทดิสก์ตัวเดียวเช่นมีทั้ง ลีนุกซ์, วินโดว์98 ,ดอส เหมาะสำหรับท่านที่ชอบหลายแบบ เดี๋ยว ๆอย่าเพิ่งว่า แล้วจะไปใช้หลายอย่างทำไม ? ในความเป็นจริงก็คือทุกระบบ มันมีข้อดีของมันที่ระบบอื่นไม่มี ยกตัวอย่างเช่นวินโดว์ ต้องยกให้เรื่องเกมส์ คุณคงไม่เถียงผมนะ ส่วนลีนุกซ์ก็พอที่จะใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ ถ้าคุณไม่เกี่ยงกับภาษาไทยที่ไม่ค่อยจะได้เรื่องนัก แต่แลกกับความเสถียร ที่คุณจะไม่เสียประสาทอย่างในวินโดว์ การที่จะฟังเพลง (MP3) แล้วแทบจะทำอย่างอื่นไม่ได้อีกเลย ถ้าได้ก็ช้า หรือไม่ก็แฮงก์ซะเลยจริงมั๊ย แต่บนลีนุกซ์ ซำบายมากครับ อ้าว. . นอกเรื่องกันใหญ่ เรากำลังพูดเรื่อง ของการแบ่งฮาร์ทดิสก์ออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนสามารถเป็นอิสระต่อกัน (เช่น Format ได้โดยไม่รบกวน ส่วนอื่นๆ ) เราเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า การแบ่งพาติชั่น (partition)ครับ

โดยที่เจ้าพาติชั่นนี้แบ่งได้ 2 ชนิดครับ คือในฮาร์ทดิสก์หนึ่งตัวจะแบ่งเป็นแบบ primary ได้ 4 ต้ว ในแต่ละprimary แบ่งเป็น extend ได้อีกโขเลยครับ แต่ว่าจะบูทได้เฉพาะแบบ primary เท่านั้นครับ สรุปว่าคุณ ติดตั้งระบบปฏิบัติการได้ 4 แบบ ในฮาร์ทดิสก์หนึ่งตัว (จริง ๆได้มากกว่านี้ ) ถ้าให้ลีนุกซ์ก็เอาไป 2 ส่วนครับ ส่วนแรกเป็นของการ ใช้งานจริง ควรจะมีขนาดตั้งแต่ 500 เมกะไบต์ขึ้นไปครับ สำหรับอีกส่วนนั้นเจ้าลีนุกซ์ จะเอาไปทำ swap file ครับ เขาแนะนำว่า ให้มี ขนาดเป็น 10% ของพาติชั่น แรกแต่ผมขอแนะนำไว้สำหรับเล่นคนเดียวไม่ได้เป็น server ก็แบ่งไว้สัก 50 เมกะไบต์ก็พอครับ

ในเมื่อต้องแบ่งพาติชั่นให้แต่ละระบบ ก็แปลว่ามันใช้งาน ฮาร์ทดิสก์ไม่เหมือนกัน ? ใช่แล้ว เราเรียกว่า ระบบไฟล์ไม่เหมือนกันครับ คือการเก็บข้อมูลลงบนฮาร์ทดิสก์ ของแต่ละระบบปฏิบัติการ ( Operating System ต่อไปนี้จะเรียกว่า os นะครับ) จะมีวิธีการเก็บข้อมูลในแบบของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ดอสจะมีระบบไฟล์ที่เราเรียกกันว่า FAT หรือพูดง่าย ๆว่าอยู่บทพาติชั่นที่เป็น FAT และวินโดว์ 98 ก็อยู่บน พาติชั่นที่พัฒนา มาจากดอสมันก็คือ VFAT หรือ FAT32 นั่นเอง

เข้าใจพาติชั่นกับระบบไฟล์แล้ว ก็มาพูดถึงการแบ่งชุดโปรแกรม (Diskset) ของ slackware กัน โดยเขาจะแบ่งชุดโปรแกรมสำหรับติดตั้งออกเป็นชุด ๆ แยกออกตามหัวข้อ ต้องการชุดใดก็ ดาวโหลดมาเฉพาะชุดที่ต้องการก็ได้ แต่ชุด A เป็นชุดพื้นฐานที่ต้องมี คือเป็นตัวระบบของลีนุกซ์เองครับ
ชุด A จะเก็บระบบพื้นฐานที่จำเป็นในการใช้งาน ถ้าติดตั้งเพียงชุดเดียว ก็เพียงพอที่จะทำให้ระบบทำงานได้
ชุด AP แอพพลิเคชั่นหลายชนิด เช่น manual pages, term, joe, gosh-script
ชุด D เก็บเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม เช่น GCC, C++ ,make, C libraries และเครื่องมืออื่นๆ
ชุด E เก็บโปรแกรม GNU emacs (เอดิเตอร์ชนิดหนึ่ง)
ชุด F เก็บ FAQ (Frequently Asking Question) และเอกสารที่น่าสนใจอื่นๆ
ชุด K Source code of Linux kernel
ชุด N เก็บโปรแกรมที่ใช้งานเกี่ยวกับระบบเครื่อข่าย เช่น TCP/IP, UUCP, mailx, dip และอื่นๆ
ชุด T โปรแกรม Tex และ LaTex2e
ชุด TCL เก็บ Tcl, Tk, TclX
ชุด X เก็บโปรแกรมระบบ XFree86 (X window) และแอพพลิเคชั่นที่อยู่บนระบบ X window
ชุด XAP เก็บแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจที่อยู่บนระบบ X window เช่น Xfilemanager
ชุด XV โปรแกรมกราฟฟิกบนระบบ Xwindow
ชุด Y เกมส์ต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง BSD game, Tretis, Doom

* ทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น อย่างง่าย ๆ ซึ่งในส่วนของการปฏิบัติจริง ๆ อาจมีความแตกต่างกัน เพราะลูกเล่น (tactic) อื่น ๆ ซึ่งจะทำให้มีวิธีการ ที่แตกต่างกันออกไปอีกก็ได้

ขั้นตอนต่อไปเป็นการทำแผ่นบูตดิสก์และรูทดิสก์ สร้างโดยการคัดลอก image file ที่เราคัดเลือกแล้วว่า ตรงกับอุปกรณ์ที่เครื่องมี ลงไปบนแผ่น disk การคัดลอก image file สำหรับสร้าง boot disk ให้เลือกจากประเภทของ Harddisk ที่จะติดตั้งลงไป ว่าเป็นชนิด IDE หรือ SCSI ถ้าเป็น IDE ให้เลือก กลุ่มไฟล์นามสกุล ที่เป็น i เช่น bare.i ถ้าเป็น SCSI ให้เลือกกลุ่มไฟล์นามสกุล ที่เป็น s เช่น SCSI.S จากนั้นให้เลือกว่า ต้นฉบับของลีนุกซ์เป็นชนิดอะไร เช่น จาก cdrom ยี่ห้อ goldstar ก็ให้เลือก goldstar.i ถ้า source อยู่ใน harddisk ชนิด IDE หรือ cdrom IDE ทั่วไป แนะนำให้เลือก bare.i สำหรับการสร้างroot disk มี image ให้เลือก 4 ชนิด คือ color.gz, umsdos.gz, text.gz, pcmcia.gz โดยส่วนใหญ่แนะนำให้เลือก color.gz

IDE และ SCSI เป็นชนิดของอินเทอเฟส (interface) คือรูปแบบการติดต่อระหว่างฮาร์ทดิสก์กับเครื่อง โดย ide จะเป็นแบบที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป สำหรับ scsi จะมีความเร็วสูงมากกว่า ide แต่ราคาก็สูงกว่ามากเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

ก่อนทำการติดตั้ง ผมขอแนะนำให้ใช้โปรแกรม จำพวกพาติชั่นเมจิกแบ่งพาติชั่นเก่า ที่มีอยู่พาติชั่นเดียวทั้งฮาร์ทดิสก์ ออกเป็นหลายๆ พาติชั่น โดยที่ข้อมูลไม่หาย (แต่อย่าไว้ใจนะครับ สำรองไว้แน่นอนกว่า ) และสามารถจะเซ็ทให้กลายเป็นพาติชั่นของ ลีนุกซ์ได้เลยโดยไม่ต้องใช้ fdisk ของลีนุกซ์ ซึ่งจะสามารถข้ามขั้นตอนการใช้งาน fdisk ไปได้เลย

สำหรับหลัง จากทำแผ่นบูทและรูทเสร็จแล้ว ก็ให้บูทเครื่องด้วยแผ่นบูท จะปรากฏข้อความต้อนรับของ slackWare 3.4.0 ในตอนท้ายจะปรากฏ
Boot: ให้กดปุ่ม Enter ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ driver จะถูก Load ขึ้นมา และท้ายที่สุดจะปรากฏข้อความว่า
VFS : insert ROOT floppy disk to be loaded in to ramdisk and press Enter
ให้ใส่แผ่น ROOT disk แล้วกดปุ่ม Enter
จะมีข้อความ Slackware Login: ให้พิมพ์ root แล้วกดปุ่ม Enter
จากนั้นจะได้ # (linux prompt) ต่อไปการแบ่งพาติชั่นของฮาร์ทดิสก์

การสร้าง root partition
ที่ Linux prompt (#) ให้พิมพ์ fdisk แล้วกดปุ่ม Enter จะปรากฏข้อความ
Using /dev/hda as default device
Command (m for help) :
กดปุ่ม p แล้ว Enter เพื่อแสดง partition ที่มีอยู่เดิม
กดปุ่ม n แล้ว Enter เพื่อสร้าง partitionใหม่ จะปรากฏข้อความ
Command action
e extended
p primary partition (1-4)
กดปุ่ม p แล้ว Enter จะมีข้อความ
partition number (1-4):
ให้กดปุ่มเลข 2 (หรือเลขที่ต่อจากที่มีอยู่เดิม) แล้ว Enter จะมีข้อความ
first cylinder (123-999): จำนวนในวงเล็บจะมีค่าต่างกันใน harddisk แต่ละตัว
ให้ใส่หมายเลขชุดแรก ในที่นี้คือ 123 แล้วกดปุ่ม Enter จะมีข้อความว่า
last cylinder or +size or +sizeM or +sizeK ([123]-999):
ให้ใส่จำนวน(ขนาด) Mb ที่จะเป็น root partition (มันคือขนาดของพาติชั่นลีนุกซ์นั่นเอง) แล้วกดปุ่ม Enter
จากนั้นจะกลับไปที่ command(m for help): อีกครั้ง
กดปุ่ม p แล้ว Enter จะเห็นว่ามี partition เพิ่มขึ้นมา

การสร้าง swap partiton
การสร้าง swap partition ก็คือการสร้าง พาติชั่นเหมือนขั้นตอนข้างบน แต่หลังจากสร้างแล้ว จะมีการเปลี่ยน ID ให้เป็น linux swap นั่นเองครับ
ที่ command (m for help): กดปุ่ม n แล้ว Enter
จะมีข้อความ
Command action
e extended
p primary partition (1-4)
กดปุ่ม p แล้ว Enter จะมีข้อความ
partition number (1-4):
กดปุ่ม 3 แล้ว Enter (เลขที่ต่อจากเมื่อกี้ไง ในที่นี้เป็น 3 ) จะมีข้อความ
first cylinder (606-999):
ให้ใส่หมายเลขชุดแรก ในที่นี้คือ 606 แล้ว Enter จะมีข้อความ
last cylinder or +size or +sizeM or +sizeK ([606]-999):
ให้ใส่ขนาดที่ต้องการหรือหมายเลขตัวหลัง หมายถึงใช้เนื้อที่ที่เหลืออยู่ทั้งหมด
ในที่นี้คือ 999 แล้วกดปุ่ม Enter

* อธิบายตรงนี้นิดหนึ่งครับ ว่าถ้าเราคำนวณขนาดที่เหลือจากการสร้าง partition เอาไว้แล้ว
(ขนาดฮาร์ดดิสก์ - (ขนาดพาติชั่นเดิม + root partition) = จำนวนฮาร์ดดิสก์ที่เหลือ)
ก็จะเป็นการง่ายและไม่เหลือฮาร์ดดิสก์ทำ swap มากเกินไป

การเปลี่ยน ID ให้เป็น swap partition
ถ้าใช้คำสั่ง p จะปรากฏ partition ขึ้นมาใหม่อีก 2 partition (ที่สร้างเอาไว้เมื่อสักครู่)
ซึ่งจะเป็น ชนิด linux native อยุ่ทั้งคู่ ในที่นี้จะต้องเปลี่ยนให้เป็น linux swap เสีย 1 พาติชั่น (ตามที่เราตั้งใจไว้)
ที่ command (m for help): ให้กดปุ่ม t แล้ว Enter จะมีข้อความ
partition number (1-4): ให้กดเลข 3 แล้ว Enter (หรือหมายเลข partition ที่ต้องการให้เป็น swap)
จะมีข้อความ Hex code (type l to list code):
ให้พิมพ์หมายเลข 82 แล้วกดปุ่ม Enter จะมีข้อความ
Changed system type of partition 3 to 82 (linux swap)
ใช้คำสั่ง w เพื่อเขียน partition ลงบน harddisk (save & exit)
จากนั้นจะกลับไปที่ linux prompt (#)

ที่ root prompt (#) พิมพ์ setup
จะมีกรอบ Slackware Linux Setup (Version 3.4.0) ขึ้นมา

SLACKWARE LINUX SETUP (VERSION 3.4.0)
HELP Read The slackware setup help file
KEYMAP Remap your keyboard if you're not using a US one
MAKE TAGS Experts may customize tag files to preselect packages
ADDSWAP Setup your swap partion(s)
TARGET Setup your target partitions
SOURCE Select source media
DISK SET Decide wich desk sets you wish to install
INSTALL Install selected disk set
CONFIGURE Reconfigure you linux system
EXIT Exit slackware linux setup

1.Setup swap
ให้เลือกที่ Add Swap แล้ว Enter
จะแสดงกรอบ Swap space detected
ให้เลือกที่ /dev/hda3 หรือที่ swap ที่ต้องการแล้ว Enter
จะมีกรอบ MKswap Warning ให้กด Enter
จะมีกรอบ Use Mkswap ให้เลือก Yes แล้ว Enter
จะมีกรอบ Active swap space ให้เลือก Yes แล้ว Enter
จะมีกรอบ Swap space configured ให้กด Enter
จะมีกรอบ continue with installation ให้เลือก NO และจะกลับไป รายการหลัก

2.กำหนด partition ที่จะติดตั้ง
ให้เลือกที่ Target แล้ว enter
จะมีกรอบ Select Linux Installation Partition
ให้เลือก Partition ที่จะให้ติดตั้งหรือที่สร้างไว้นั่นเอง แล้ว enter
จะมีกรอบ Format Partition
ให้เลือกที่ Format Quick format with no bad block checking แล้ว enter
จะมีกรอบ Select Inode density
ให้เลือก 4096 1 inode per 4096 bytes (default) แล้ว enter
จะทำการ Format Partition
จะมีกรอบ Dos and OS/2 Partition setup ให้เลือก No แล้ว enter
จะมีกรอบ continue with installation ให้เลือก NO และจะกลับไป รายการหลัก

3.กำหนด Source
ให้เลือกที่ Source แล้ว enter
จะมีกรอบ Source media selection ให้ enter
ให้เลือก 5 install from CD-ROM แล้ว enter
จะมีกรอบ Install from the slackware CD-ROM
ให้เลือกชนิดของ CD-ROM ให้เลือกที่ Scan try to scan for your cd-drive
จะมีกรอบ CD-ROM drive detected successfully ให้ enter
จะมีกรอบ Pick your installation method
ให้เลือก slackware Normal installation to hard drive แล้ว enter
จะมีกรอบ Continue ให้เลือก Yes แล้ว enter

4.เลือกชุดโปรแกรมที่จะติดตั้ง
จะมีกรอบ Disk set ขึ้นมา
ในเบี้องต้นนี้ ให้เลือก Disk set A,AP,D,N,X,XP,XV โดยการกดปุ่ม Spacebar เลือกแล้ว enter
จะมีกรอบ Continue ให้เลือก Yes แล้ว enter
จะมีกรอบ Select promping mode
ให้เลือกที่ Menu Choose package subsystems from interactive menus แล้ว enter
จะมีกรอบ selecting software from series A
ให้เลือก ibcs2,pnp,getty เพิ่มเติม แล้ว enter จะทำการติดตั้งโปรแกรมตามที่ได้เลือกไว้
จะมีกรอบ selecting software from series AP
ให้เลือก workbone,mc,mt_st เพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series D
ไม่ต้องเลือกเพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series N
ให้เลือก dip,ppp,pine,lynx เพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series X
จะมีกรอบให้เลือก การ์ดแสดงผล ให้เลือกให้ใกล้เคียงกับการ์ดที่มีอยู่ในเครื่อง ถ้าไม่ทราบ ให้เลือก X331 svga
จะมีกรอบ selecting software from series X ไม่ต้องเลือกเพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series XAP
ให้เลือก arena,xfm,xfileman,xgrame เพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series XV ไม่ต้องเลือกเพิ่มเติม
จะมีกรอบ install linux kernel ให้เลือกที่ bootdisk แล้ว enter
ให้ใส่แผ่น bootdisk ที่เคยจัดทำไว้แล้ว ใน drive A: แล้ว enter

5.การ configure modem,mouse
จะมีกรอบ configure your system ให้เลือกที่ Yes แล้ว enter
จะมีกรอบ Make bootdisk ให้เลือกที่ continue แล้ว enter
จะมีกรอบ Modem configuration ถ้ามี modem ให้เลือก Yes
จะมีกรอบ Select callout device ให้เลือก port ตามต้องการ โดยมากจะเป็น com2
จะมีกรอบ Mouse configuration ให้เลือก Yes แล้ว enter
จะมีกรอบ select mouse type
ถ้าใช้ mouse PS/2 ให้เลือกข้อ 2 ถ้าใช้ serial mouse ให้เลือกข้อ 1
จะมีกรอบ screen font configuration ให้เลือก NO

6.การติดตั้ง Lilo
จะมีกรอบ Lilo installation ให้เลือกที่ begin
จะมีกรอบ Optional append=line ให้กด enter
จะมีกรอบ Select Lilo target location
ให้เลือก MBR แล้ว enter
จะมีกรอบ Choose Lilo delay ให้เลือก 5 seconds
จะกลับมาที่ กรอบ Lilo installation
ให้เลือกที่ Dos add a Dos partition to the Lilo config file แล้ว enter
ให้พิมพ์ partition ที่เป็น dos ในที่นี้คือ /dev/hda1 ลงไปในช่องว่างแล้ว enter
จะมีกรอบ Select partition name ให้พิมพ์คำว่า dos ลงไป แล้ว enter
จะมีกรอบ Lilo installation ขึ้นมาอีกครั้ง
ให้เลือก Linux add a linux partition to the Lilo config file แล้ว enter
จะมีกรอบ Select linux partition
ให้ดูด้านบน จะมี Partition ของ Linux ขึ้นมา ให้เลือกอันที่เป็น root partition เช่น /dev/hda2 ให้พิมพ์ /dev/hda2
ลงไปในช่องว่าง แล้ว enter
จะมีกรอบ Select partition name ให้พิมพ์คำว่า linux ลงไป แล้ว enter
จะมีกรอบ Lilo installation ขึ้นมาอีก
ให้เลือก install install lilo แล้ว enter

7.ขั้นตอนสุดท้าย
จะ มีกรอบ configure network ให้เลือก no ถ้าไม่มี network
จะมีกรอบ GPM configuration ให้เลือก No
จะมีกรอบ sendmail configuration
ให้เลือก smtp+bind แล้ว enter
จะมีกรอบ Time Zone configuration
ให้เลือก Asia/bangkok แล้ว enter
จะมีกรอบ setup complete แล้ว enter
จะกลับมาที่ MENU หลัก ให้เลือก Exit
จะกลับมาที่ Linux prompt (#) ให้ถอด แผ่นดิกส์ออก
พิมพ์คำว่า reboot เพื่อทำการ boot เครื่องใหม่
จะมีคำว่า LILO ขึ้นมา
ให้รอประมาณ 5 วินาที Dos หรือ Windows จะเริ่มทำงาน
หากไม่ต้องการ boot Dos ให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้ จะมีคำว่า boot: ขึ้นมา
ให้พิมพ์คำว่า linux ถ้าต้องการ boot Linux
ถ้ากดปุ่ม tab จะมีตัวเลือกให้เลือก

ชนิดของไฟล์ 3 ชนิด
-- User data.ข้อมูลต่าง ๆของคุณเอง (user) เป็นข้อมูลแบบง่าย ๆ ที่อยู่ในรูปตัวหนังสือและตัวเลข.
-- System data. ข้อมุลต่าง ๆ บ่อยครั้งที่ข้อมูลเหล่านี้อยู่ในรูปของ text file ข้อมูลเหล่านี้ถูกใช้งานโดยตัว linux เอง
-- Executable files. เป็น file บรรจุคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หรือที่หรือที่เรียกกันว่า program นั่นแหละครับ ชื่อไฟล์ Linux สามารถตั้งชื่อไฟล์ได้ยาวถึง 256 ตัวอักษร (ไม่ใช้win95ทำได้คนเดียวนะ) ซึ่งแตกต่างกัน ระหว่างตัวเล็กและตัวใหญ่ ใช้เครื่องหมาย dash(-) underscore(_) และ dot(.) ได้แต่ไม่สามารถใช้ ! ? และช่องว่าง (space) เพราะเครื่องหมายเหล่านี้หมายถึงตัว shell ครับ ..

Home Directory
คือไดเรกทอรี่ส่วนตัว ไว้สำหรับยุสเซอร์ต่าง ๆ ที่ linux ได้จัดเตรียมไว้ให้ แล้วทำไมต้องมี home กันไว้ด้วยหล่ะ ก็คือไดเรกทอรี่ที่คุณมีสิทธิเต็มที่ ซึ่งจะกล่าว เรื่องสิทธิ (Permissions) ต่อไปครับ

File and Directory Ownership
หลังจากคุณสร้างไฟล์หรือไดเรกทอรี่ มันก็จะระบุว่ามันเป็นของคุณ (เพื่ออ้างสิทธิ) และคุณสามารถโอนให้กลายเป็นของคนอื่นๆ ได้อีกด้วย : chown ระวัง! โอนไปแล้วจะโอนกลับไม่ได้นะ....

File Permissions
linux จะระบุสิทธิในการ อ่าน เขียนและทำงาน ของไฟล์ เรียกว่าค่า Permission สามารถกำหนดให้มีค่า 3 ค่าดังนี้
ค่า (R) read สำหรับสิทธิในการมองเห็น
ค่า (W) write สำหรับสิทธิในการเปลี่ยนแปลงหรือลบไฟล์ (และถ้าเป็นไดเรกทอรี่ จะเป็นสิทธิสำหรับสร้าง,ย้ายและลบ )
ค่า (X) exeute สำหรับสิทธิในการเรียกใช้ (และถ้าเป็นไดเรกทอรี่ จะเป็นสิทธิสำหรับ การเข้าสู่ directory )
ซึ่ง(r,w,x )3 ค่านี้กำหนดไว้สำหรับ 3 กลุ่มผู้ใช้ คือสำหรับ owner(เจ้าของ) group(กลุ่มเดียวกับเจ้าของ) orther(ทุกคน) ซึ่งจะวางค่า Permission สามค่าติดกัน สำหรับหนึ่งกลุ่มผู้ใช้คือ rwx และจะว่างติดไปสามชุดสำหรับสามกลุ่มผู้ใช้ (rwxrwxrwx) ชุดแรกของ owner ชุดที่สองของ group และชุดที่สามสำหรับ orther ดูได้จาก ls -l
-rw-r--r-- 1 ar users 163 Dec 7 14:30 ar_file
ตัวแรกเป็นเครื่องหมายสำหรับบอกลักษณะของไฟล์ ตัวแรกเครื่องหมาย '-' หมายถึงเป็นไฟล์ธรรมดา ถ้าเป็นไดเรกทอรี่ก็จะเป็นเครื่องหมาย 'd' แทน
r = อ่าน (มีค่าเป็น 4)
w = เขียน (มีค่าเป็น 2)
x = ทำงาน (มีค่าเป็น 1)
'-' = ไม่มีสิทธินั้น ๆ (มีค่าเป็น 0) สรุปได้ว่า :
-rw-r--r-- 1 ar users 163 Dec 7 14:30 ar_file
owner มีสิทธิอ่านและเขียน(หรือลบ) คือ r + w
group มีสิทธิอ่านอย่างเดียว คือ r
orther มีสิทธิอ่านอย่างเดียว คือ r
และเรายังสามารถเขียนเป็นตัวเลขได้ (r = 4),(w=2),(x=1) คือ rw-r--r-- (แบ่ง 3 ชุดเหมือนเดิม)
'rw-' = 4 + 2 + 0
'r--' = 4 + 0 + 0
'r--' = 4 + 0 + 0
นำมาต่อกันเป็น 644 (ง่ายดีมั๊ย)

สำหรับการระบุค่าเป็นตัวเลขนี้จะใช้ประโยชน์ต่อการเปลี่ยน Permissions ของไฟล์ครับ การเปลี่ยน Permissions ของ ไฟล์ ใช้คำสั่ง chmod <สิทธิเป็นตัวเลข> <ชื่อไฟล์> การเปลี่ยน Permissions ของ ไดเรกทอรี่ ก็เหมือนกับของ file นั่นแหละต่างกันตรงค่าของ x จะหมายถึงสิทธิที่จะเข้าไปในไดเรกทอรี่นั้นๆครับ

Directory ที่สำคัญต่าง ๆ
/ ก็ root หรือห้องชั้นนอกสุดคุณจะออกไปไม่ได้อีกแล้วครับ
/home home directoryของผู้ใช้ต่าง ๆ
/dev Linux ทำทุกอย่างเป็นไฟล์ เจ้าห้องนี้เก็บเป็น device ของทุกอย่างไว้ครับ ไม่ว่าจะเป็น diskdrive,harddisk เป็นต้น
/bin เก็บคำสั่งพื้นฐานของ Linux
/usr/bin Linux โปรแกรม
/usr/sbin เก็บไฟล์ของ ผู้ดูแลระบบ (system administration)
/var/spool mail,print file etc.
/sbin ไฟล์ระบบ(system) ของ Linux
/etc เก็บ configuration ไฟล์ (ค่าต่าง ๆของระบบ)

คำสั่งเบื้องต้นเกี่ยวกับบทนี้ครับ
-- ls ดูรายชื่อไฟล์ (เหมือน dir ของ dos)
-- pwd เอาไว้ดูว่าตอนนี้คุณอยู่ที่ไดเรกทอรี่ใหน.
-- cd (chang directory) ใช้คล้าย ๆ cd ของ dos นั่นแหละครับ
-- cp สำเนาไฟล์ (copy ของ dos)
-- mv ย้ายไฟล์-ไดเรกทอรี่ (move ของ dos)
-- mkdir สร้าง ไดเรกทอรี่ (mk ของ dos)
-- rmdir ลบ ไดเรกทอรี่ (rm ของ dos)
-- . และ .. คือ เจ้า . ใช้อ้างถึง directory ที่คุณอยู่ในขณะนั้น ส่วนเจ้า .. ใช้อ้างถึง ไดเรกทอรี่ก่อนหน้าที่คุณอยู่ 1 ชั้นครับ วิธีใช้ cd กับ . และ ..ก็ต่างจาก dos เล็กน้อยคือ คุณจะพิมพ์ cd.. ไม่ได้ครับ ต้องเว้นก่อน เป็นยังงี้ครับ cd ..
-- cat เป็นคำสั่งพื้นฐานสำรับ input,output (ใช้สร้างไฟล์ได้)โดยปกติ จะใช้ keyboard เป็น input และจอภาพแป็น output และใช้ ^d (Ctrl + d) เป็นการจบการทำงาน
-- chmod <สิทธิเป็นตัวเลข> <ชื่อไฟล์> เปลี่ยน Permissions ของไฟล์,ไดเรกทอรี่ .

 

ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ກ.ຍ.. 1, 2011 | ມີ 1 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)

การวิเคราะห์และแก้ปัญหา คอมพิวเตอร์

                ในส่วนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป มักพบกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วต้องทำการเรียกช่างเทคนิคเพื่อทำการตรวจซ่อม ซึ่งถ้าหากว่าในหน่วยงานนั้น ไม่มีช่างเทคนิค หรือบุคคลที่ทำจะการแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ จำเป็นต้องใช้บริการจากร้านซ่อมทั่วไป ซึ่งตรงนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา

                เอกสารชุดนี้ เป็นการรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ และแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการประหยัดรายจ่ายได้อีกทางหนึ่ง

                การรวบรวมปัญหา จะเป็นปัญหาทั่วไปที่ไม่เจาะลึกไปถึงทางด้านเทคนิค เป็นปัญหาที่มักพบเสมอสำหรับผู้ใช้ทั่วไป (ไม่รวมถึงช่างเทคนิค) ซึ่งเมื่อพบปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลาในการตามช่างเทคนิคให้มาทำการแก้ไขให้ แม้ว่าปัญหานั้นอาจดูง่ายในส่วนของช่างเทคนิค แต่ผู้ใช้ทั่วไป มันเป็นเรื่องใหญ่เสมอ

                แนวทางในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในเอกสารนี้ จะเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เป็นแนวทางที่จะสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเป็นปกติในเบื้องต้นก่อนที่จะทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป

การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

                ในการที่จะทำการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นที่ผู้ใช้ทั่วไปต้องทราบถึงการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ก่อน ต้องทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานอย่างไร เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะสามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ส่วนใด ทำให้การกำหนดสาเหตุได้แคบลงการแก้ปัญหาก็สามารถที่จะทำได้ง่าย

ขั้นตอนการเริ่มทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

                ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ การที่จะทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ ต้องกระทำอย่างเป็นขั้นตอน โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้

·       ทำการวิเคราะห์ว่าปัญหาเกิดที่ส่วนใด

·       ทำให้ระบบตอบสนองการทำงานให้ได้

·       ทำให้เครื่องสามารถบู้ตระบบให้ได้อีกครั้ง

ส่วนมากแล้วจะมุ่งไปที่ส่วนสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญน้อยที่สุด การวิเคราะห์ปัญหา

เป็นส่วนที่สำคัญที่จะทำให้เราทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและทำการแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้นโดยที่อาจไม่กระทบไปถึงข้อมูลที่อยู่ภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถที่จะรักษาข้อมูลเดิมไว้ได้

                ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เรากำลังพูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เคยทำงานได้ดี แต่มาถึงตอนนี้กลับทำงานไม่ได้ทั้งที่ก่อนหน้านั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย (อาจมีผู้ใช้มากกว่าหนึ่งคน)

ขั้นตอนการบู้ตเครื่องคอมพิวเตอร์

ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอยู่ในสภาพที่ปกติจะมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้

1.             ฮาร์ดแวร์ทำงาน และจัดการตามที่ระบุไว้อย่างถูกต้อง

2.             BIOS มีการโหลด MBR(Master Boot Record)และส่งผ่านการควบคุมไปที่ MBR

3.             MBR ทำการโหลด DBR(Dos Boot Record) และส่งผ่านการควบคุมไปที่ DBR

4.             DBR ทำการโหลดไฟล์ที่ซ่อนไว้

5.             ไฟล์ที่ซ่อนไว้คือ IO.SYS ทำงานและทำการอ่าน CONFIG.SYS และไฟล์ MSDOS.SYS ทำงาน

6.             โหลดไฟล์คำสั่ง COMMAND.COM ของผู้ใช้เครื่อง

7.             มีการทำงานใน AUTOEXEC.BAT

 

 

 

 

การบู้ตขั้นที่ 1 : การตรวจสอบฮาร์ดแวร์

                ขั้นแรกจะมีการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ว่าทำงานและมีการตอบสนองต่อระบบอย่างถูกต้อง โดย Controller จะถามถึงฮาร์ดแวร์ว่าอยู่ที่นั่นหรือเปล่า โดยการสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน สำหรับฮาร์ดดิสก์แล้ว เครื่องจะสั่งให้ทำการเลื่อนหัวอ่าน/บันทึก ไปที่ Cylinder 0 ก่อนแล้วย้ายไปอยู่ที่ Cylinder สูงสุดแล้วกลับมายัง Cylinder 0 อีกครั้ง

                การทำงานจะเป็นไปตามนี้เมื่อมีการกำหนด ค่า Configuration อย่างถูกต้อง และสายต่อต่างๆ อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและแน่นหนา รวมทั้งฮาร์ดแวร์ต้องทำงานอย่างถูกต้อง

กรบู้ตขั้นที่ 2 : โหลด MBR และตรวจสอบความถูกต้องของตารางพาร์ติชั่น

                ถ้าการเซ็ตอัพฮาร์ดแวร์เป็นไปอย่างถูกต้อง เครื่องจะปรากฏแสงที่ตำแหน่งของฮาร์ดแวร์ขึ้นมาในช่วงสั้นๆ ในขณะที่ทำการบู้ตเครื่อง ในส่วนของฮาร์ดดิสก์นั้นแสดงให้ทราบว่าระบบกำลังอ่าน MBR ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่ง head 0, cylinder 0, sector 1 ถ้าความพยายามในการอ่านไม่ได้ผล ไดรว์จะไม่ได้รับความสนใจจากระบบ และอาจมีรายงานว่า “Drive 0 failure” ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ BIOS ของระบบที่ติดตั้งอยู่ในระบบเอง

                MBR ประกอบด้วยตารางพาร์ติชันซึ่งนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ซึ่งจะอธิบายว่าฮาร์ดดิสก์มีการแบ่งเนื้อที่อย่างไรและโปรแกรมสั้นๆ สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของตารางพาร์ติชันนั้นด้วย ถ้าตารางพาร์ติชันถูกต้อง มันจะใช้รายละเอียดในตารางพาร์ติชันสำหรับค้นหา และโหลด DBR จากพาร์ติชันที่ทำงาน

                ในส่วนของโปรแกรมสั้นๆ ที่อยู่บน MBR มีหน้าที่ 3 ประการดังนี้

1.             ตรวจสอบว่าตารางพาร์ติชันนั้นถูกต้อง

2.             ค้นหาพาร์ติชันที่บู้ตได้ หรือทำงานบนไดรว์ได้

3.             โหลดเซกเตอร์แรกของพาร์ติชันนั้น ในกรณีที่เป็นพาร์ติชันของ DOS จะเรียกเซกเตอร์แรกว่า DBR(Dos Boot Record)

การบู้ตขั้นที่ 3 : ตรวจสอบ (DBR)

                ถ้าไม่มีปัญหาในส่วนของ MBR ระบบจะทำการโหลดข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับเซกเตอร์ที่เรียกว่า DBR เข้าไปและทำให้ DBR ทำงานได้

                ตารางพาร์ติชันจำแนกตำแหน่งของ DBR โดยการชี้ตำแหน่งดังกล่าว ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะบรรจุ DBR ไว้ที่ตำแหน่ง cylinder 0, head 1, sector 1 เฉพาะกรณีที่ใช้ระบบปฏิบัติการตัวเดียว แต่ถ้าเป็นแบบอื่นอาจไม่เป็นดังตัวอย่าง

 

หน้าที่ของ DBR มี 5 ประการดังนี้

1.             รีเซ็ตไดรว์ที่บู้ตได้

2.             โหลดเซกเตอร์แรกของไดเร็คทอรีหลักเข้าไว้ในหน่วยความจำ

3.             ตรวจสอบ 2 entries แรกว่าเป็นชื่อของไฟล์ที่ซ่อนอยู่

4.             โหลดไฟล์ที่ซ่อนอยู่ลงในหน่วยความจำ

5.             ส่งผ่านการควบคุมไปยังไฟล์ที่ซ่อนอยู่

DBR ได้บรรจุโครงสร้างที่สำคัญของข้อมูลที่เรียกว่า BPB(The BIOS Parameter Block)

เนื่องจาก DBR เป็นเซกเตอร์แรกในพาร์ติชัน BPB จึงประกอบด้วยข้อมูลซึ่งอธิบายรายละเอียดของพาร์ติชันให้ DOS รู้

การบู้ตขั้นที่ 4 : โหลดไฟล์ที่ซ่อนอยู่

                DBR จะโหลดไฟล์ที่เป็นหัวใจของระบบการทำงาน 2 ไฟล์เข้าไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งได้แก่ไฟล์ IO.SYS และ MSDOS.SYS ระบบจะไม่บู้ตถ้าไฟล์ทั้งสองนี้ไม่ถูกต้องหรือไม่มีไฟล์ทั้งสองนี้อยู่(ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์ก็ตาม)

การบู้ตขั้นที่ 5 : ตรวจสอบคำสั่ง CONFIG.SYS

                ระบบจะดำเนินการบู้ตต่อไปโดยโหลดไฟล์ที่ซ่อนอยู่ไฟล์แรก และให้มันทำงาน ซึ่งจะทำการโหลดคำสั่ง CONFIG.SYS แล้วให้มีการทำงานตามคำสั่งนี้ คำสั่งใน CONFIG.SYS ที่สำคัญคือคำสั่ง “DEVICE=” ซึ่งใช้ในการโหลดดีไวซ์ไดรเวอร์ที่จำเป็นในการเข้าสู่ไดรว์ต่างๆ ที่ติดตั้งไว้

การบู้ตขั้นที่ 6 : ระบบจะทำการโหลด COMMAND.COM

                COMMAND.COM เป็น User shell หมายความว่ามันเป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านคำสั่งของผู้ใช้เครื่อง และแปลคำสั่งนั้นไปสู่ระบบการทำงาน สำเนาของคำสั่ง COMMAND.COM ที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ระบบไม่สามารถบู้ตได้

การบู้ตขั้นที่ 7 : Autoexec.bat ทำงาน

                Command.com จะเรียกคำสั่งต่างๆ ใน Autoexec.bat ตามลำดับ ถ้าคำสั่งผิดปกติจะทำให้เสียระบบการทำงานไปด้วย

                จากขั้นตอนการบู้ตเครื่องจะเห็นว่า ขั้นตอนที่ทำให้ไม่สามารถอ่านไดรว์ได้เลยคือขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 ซึ่งเป็นขั้นตอนการตรวจสอบฮาร์ดแวร์และ MBR ในขั้นที่ 3 DBR จะมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับ DOS เวอร์ชั่นหลังๆ และขั้นที่ 5 CONFIG.SYS มีความสำคัญสำหรับไดรว์เพิ่มเติมเช่น CD-ROM เป็นต้น

 

 

 

 

การวิเคราะห์อาการและการแก้ปัญหาเบื้องต้น

                การวิเคราะห์อาการและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะต้องเริ่มต้นพิจารณาตั้งแต่การเริ่มต้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นในช่วงใดของการบู้ตระบบ โดยพิจารณาทีละขั้นตอน

การตรวจสอบฮาร์ดแวร์

                หลังจากเปิดสวิทช์ให้ระบบทำงาน CPU จะถูกรีเซ็ตให้ไปอ่านข้อมูลที่ BIOS เพื่อทำการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่ออยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

                BIOS : Basic Input Output System จะเป็นตัวแรกที่ทำงานโดยจะเริ่มกระบวนการที่เรียกว่า POST : Power On Self Test เพื่อทำการทดสอบระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยจะเช็คระบบต่างๆ ว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่

                ในขั้นตอนนี้จะทำการติดต่อกับหน่วยความจำ ไดรว์ คีย์บอร์ด ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ และอุปกรณ์ในส่วนอื่นๆ ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาในขั้นตอนนี้เครื่องจะทำการเตือนด้วยข้อความที่จอภาพ(กรณีที่ติดต่อกับจอภาพได้) แต่ถ้าติดต่อกับจอภาพไม่ได้เครื่องจะแจ้งเป็นเสียงแทน

ข้อความแสดงความผิดพลาด

ข้อความ

ปัญหา

CMOS BATTERY HAS FAIL

แบตเตอรี่แบกอัพ CMOS อ่อนกำลัง,แบตหมด

CMOS CHECKSUM ERROR

ข้อมูลภายใน CMOS ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแบตเตอรี่ใกล้หมด หรือมีการถอดแบตเตอรี่ออก

Disk Boot Failure, Insert System Disk and Press Enter

BIOS ไม่พบดิสก์ที่กำหนดให้ใช้สำหรับบู้ตระบบ หรือดิสก์นั้นไม่ได้ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการใดๆ ไว้

FDD Controller Failure

ระบบรีเซ็ตฟลอปปี้ดิสก์ไม่ได้ อาจเนื่องจากการตั้งค่าใน BIOS ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหรือหลวม, หรือคอนโทรลเลอร์เสีย

HDD Controller Failure

ระบบรีเซ็ตฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ อาจเนื่องจากการตั้งค่าใน BIOS ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหรือหลวม, หรือคอนโทรลเลอร์เสีย

KB/Interface Error

หัวต่อคีย์บอร์ดเสีย หรือหลุด/หลวม

Keyboard Error

ไม่ได้ติดตั้งคีย์บอร์ดหรือคีย์บอร์ดเสีย

System Halted(Ctrl-Alt-Del) to Reboot

เกิดข้อผิดพลาดบางประการขึ้น ซึ่งระบบจะพยายามแก้ปัญหาโดยการรีบู้ตเครื่องใหม่

                 

 

 

การ POST เสียงของ BIOS

                รหัสเสียงของ BIOS แต่ละยี่ห้ออาจจะแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่รหัสเสียงจะใช้สองลักษณะ คือเสียงสั้น และเสียงยาว และใช้ทั้งสองแบบรวมกัน เพื่อให้ได้ความหมายที่มากพอ

รหัสเสียง BIOS Award

เสียง

ความหมาย

สั้น 1 ครั้ง

POST ผ่าน ทุกอย่างปกติ

สั้น 2 ครั้ง

POST ไม่ผ่าน มีปัญหา

ไม่มีเสียง

แหล่งจ่ายไฟ หรือเมนบอร์ดมีปัญหา

เสียงต่อเนื่อง

แหล่งจ่ายไฟ หรือเมนบอร์ดมีปัญหา หรือหน่วยความจำ RAM มีปัญหา

ยาว 1 สั้น 1

เมนบอร์ดมีปัญหา

ยาว1 สั้น 2

การ์ดแสดงผลมีปัญหา (MDA, CGA)

ยาว 1 สั้น 3

การ์ดแสดงผลมีปัญหา (EGA)

 

รหัสเสียง BIOS AMI

เสียง

ความหมาย

สั้น 2 ครั้ง

POST ไม่ผ่าน มีปัญหา

ไม่มีเสียง

แหล่งจ่ายไฟ หรือเมนบอร์ดมีปัญหา

เสียงต่อเนื่อง

แหล่งจ่ายไฟ หรือเมนบอร์ดมีปัญหา หรือหน่วยความจำ RAM มีปัญหา

ยาว1 สั้น 2

การ์ดแสดงผลมีปัญหา (MDA, CGA)

ยาว 1 สั้น 3

การ์ดแสดงผลมีปัญหา (EGA)

ยาว 1 ครั้ง

การทดสอบเรียบร้อย ไม่มีปัญหา

 

                จากตารางรหัสตัวอย่างเสียงของ BIOS ซึ่งเป็น ยี่ห้อที่นิยมใช้โดยทั่วไปในเครื่องที่เป็นแบบ Home User ส่วนยี่ห้ออื่นๆ เช่น BIOS Phoenix จะมีใช้ในเครื่องประเภทแบรนด์เนม เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของรหัสเสียงก็ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ผู้ใช้ หรือผู้ดูแลระบบจะต้องใช้การสังเกตเอาเอง

 

********************************************************

 

การโหลด MBR และตรวจสอบความถูกต้องของตารางพาร์ติชัน

                ขั้นตอนนี้จะกระทำต่อเนื่องจากการตรวจสอบฮาร์ดแวร์เรียบร้อยแล้ว มันจะทำการค้นหาพาร์ติชันที่บู้ตได้ของดิสก์ไดรว์ ในขั้นตอนการทำงานนี้ ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นจะมีข้อความแสดงความผิดพลาดขึ้นมาข้อความใดข้อความหนึ่งดังนี้ Invalid partition table, Error Loading Operating system หรือ Missing operating system  การวิเคราะห์ให้ดูตามผังการทำงานของ MBR


การทำงานของโปรแกรมระบบ

                ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานที่เกิดขึ้นหลังจากการตรวจสอบฮาร์ดแวร์เรียบร้อยแล้ว ถ้าเป็นระบบ DOS จะมีการเรียกใช้ไฟล์ Config.sys เพื่อทำการโหลดดีไวซ์ไดรเวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น หลังจากนั้นจึงทำการเรียกใช้ไฟล์ Command.com เพื่อทำการติดต่อกับผู้ใช้งาน และสุดท้ายเป็นการเรียกใช้งาน Autoexec.bat ซึ่งเป็นขั้นตอนเรียกใช้โปรแกรมที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นระบบ ต่อไป ส่วนของ Windows’95/98 นั้น จะต่างจาก DOS ตรงที่ไฟล์ Config.sys และ Autoexec.bat จะไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก แต่จะเป็นการเรียกใช้งาน Windows Registry ซึ่งเป็นส่วนที่เก็บการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับระบบไว้

                ในขั้นตอนนี้ถ้ามีปัญหาจะพบกับข้อความต่อไปนี้

ข้อความ

ปัญหาที่เกิด

Bad or Missing ,Command Interpreter

ไฟล์ Command.com เสีย

Memory Allocation Error

Command.com ถูกทำลาย หรือมีโปรแกรมบางโปรแกรมพยามใช้หน่วยความจำในตำแหน่งที่สงวนไว้สำหรับ Command.com

Cannot Load Command, System Halted

เครื่องไม่สามารถ โหลด Command.com ได้เนื่องจาก Bug ของโปรแกรม หรือรุ่นของ Command.com ไม่ตรงกัน

Key_

System file ของ Windows ถูกทำลาย

Press any key to continues

ถ้าฟ้องไฟล์ XXX.Vxd จะเป็นที่การติดตั้งระบบไม่สมบูรณ์  ถ้าไม่ฟ้องไฟล์ xxx.vxd มีปัญหาที่ไฟล์ Autoexec.bat

 

                จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดจากการทำงานของระบบจะเกิดได้ในทุกขั้นตอนการทำงาน โดยแต่ละส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปโดยลักษณะของข้อความที่ปรากฏจะเป็นตัวบอกให้เราทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดกับส่วนใดของระบบนั่นเอง

                เมื่อใช้แนวทางในเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และทราบว่าเกิดขึ้นกับส่วนใดของระบบ เราก็สามารถที่จะทำการแก้ไขได้ง่ายขึ้นเนื่องจากเราได้กำหนดปัญหาให้

แคบลง ทำให้การแก้ปัญหาทำได้เร็วขึ้นด้วย และเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

 

 

***************************************************

 

 

แนวทางการแก้ปัญหา

                ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงตำแหน่งที่บรรจุข้อมูลสำคัญๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแต่ละส่วนมีผลถึงกัน ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งถูกลบหรือเสียไป จะทำให้ส่วนอื่นๆ ไม่สามารถที่จะทำงานต่อไปได้ เช่นถ้าหากตารางพาร์ติชันเสียหาย เราก็จะไม่อาจเข้าสู่ระบบได้แม้ว่าส่วนที่เป็น FAT จะยังสมบูรณ์ดีอยู่

 

ตำแหน่งข้อมูลที่สำคัญในเครื่องคอมพิวเตอร์

ข้อมูล

ตำแหน่งที่ตั้ง

การกำหนด

POST(Power On Self Test)

ROM BIOS

บริษัทผู้ผลิต/ผู้ใช้

ประเภทของฮาร์ดดิสก์

Controller บนเมนบอร์ด

กำหนด Configuration ของฮาร์ดดิสก์

Partition Record(MBR)

Head 0/Cylinder 0/Sector 1 บนฮาร์ดดิสก์

FDISK/ XFDISK

DOS Boot Record(DBR)

Sector แรกใน Partition MBR เป็นตัวชี้ตำแหน่ง

FORMAT

FAT(File Allocation Table)

MBR เป็นตัวชี้ตำแหน่ง

Format C: หรือ C:/S

Root Directory

บูตเรคคอร์ดของ DOS เป็นทางอ้อม คือ DBR ชี้ตำแหน่ง FAT และกำหนดขนาดของ FAT และ Root Directory อยู่ถัดจาก FAT

Format C: หรือ Format C:/S

IO.SYS/MSDOS.SYS

Root Directory / FAT

Format C:/S หรือ SYS C:

CONFIG.SYS

Root Directory / FAT ใช้โดย MSDOS.SYS

ผู้ใช้เครื่อง /การติดตั้ง Device Driver ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ

COMMAND.COM

Root Directory /FAT ตัวชี้ปัญหาคือ Bad or Missing Command Interpreter

Format C:/S หรือ SYS C:

AUTOEXEC.BAT

Root Directory/ Sub Directory FAT

ผู้ใช้เครื่อง /การติดตั้ง Device Driver ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ

ข้อมูลของผู้ใช้

Root Directory/ Sub Directory FAT

ผู้ใช้เครื่อง

                จากตาราง ทำให้เราทราบถึงตำแหน่งของข้อมูลแต่ละตัว และการกำหนดข้อมูลแต่ละชุดแล้ว การแก้ปัญหาก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นเมื่อมีข้อความแสดงความผิดพลาดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา

 

การแก้ไขปัญหาช่วงตรวจสอบฮาร์ดแวร์

ข้อความ

ปัญหา/การแก้ไข

CMOS CHECKSUM ERROR

ปัญหา ข้อมูลภายใน BIOS ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่เกิดจากแบตเตอรีอ่อนกำลัง หรือมีการ Clear BIOS

การแก้ไข เปลี่ยนแบตเตอรีใหม่ ทำการแก้ไขข้อมูลใน BIOS ให้ถูกต้อง (ดูหัวข้อการเซ็ตอัพ BIOS)

Disk Boot Failure, Insert System Disk and Press Enter

ปัญหา BIOS ไม่พบดิสก์ที่กำหนดให้ทำการบู้ตระบบ หรือดิสก์นั้นไม่ได้ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการใดๆ ไว้ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการใส่แผ่นดิสก์ไว้ในเครื่องขับ หรืออาจเกิดจากสายต่อหลวมหรือหลุดก็เป็นได้

การแก้ไข ตรวจสอบในเครื่องขับดิสก์ว่ามีแผ่นดิสก์เก็ต อยู่ภายในหรือไม่/ เช็คสายต่อภายในของดิสก์ว่าแน่นหรือไม่/ บู้ตระบบจากไดรว์ A: ใช้คำสั่ง SYS C: หลังจากขึ้นข้อความ System Transferred  ถอดแผ่นดิสก์ออกจากเครื่องขับ บู้ตเครื่องใหม่อีกครั้ง

FDD/ HDD Controller Failure

ปัญหา ระบบทำการรีเซ็ต Floppy disk/ Hard Disk ไม่ได้ อาจเป็นเพราะการตั้งค่าใน BIOS ไม่ถูกต้อง, คอนโทรลเลอร์เสีย, แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากสายเคเบิลหลุดหรือหลวม

การแก้ไข ตรวจสอบสายเคเบิลว่าหลุดหรือหลวมหรือไม่/ ตรวจสอบค่าใน BIOS ให้ถูกต้อง ถ้าคอนโทรลเลอร์เสียต้องทำการเปลี่ยนใหม่

KB/ Interface Error(Keyboard Error)

ปัญหา หัวต่อคีย์บอร์ดหลุด/หลวม

การแก้ไข ขยับหัวต่อให้เข้าที่/ ถอดหัวต่อแล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ รีบู้ตระบบ

System Halted(Ctrl-Alt-Del) to Reboot

ปัญหา เกิดการผิดพลาดบางประการ ระบบจะพยายามแก้ปัญหาโดยการบู้ตระบบใหม่

การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบู้ตระบบ

ปัญหา

อาการ

การแก้ไข

Chipset ที่ควบคุม Interrupt เสีย ปัญหาเกิดที่เมนบอร์ด

นับ Memory เสร็จ แล้ว Hang ไปเฉยๆ ไม่มีข้อความใดๆ ขึ้นมา

รีบู้ตเครื่องขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ถ้ายังเป็นเหมือนเดิม ทำการตรวจเช็คที่เมนบอร์ด

Setup ชนิดของ HDD ใน BIOS ผิด

นับ Memory เสร็จแล้วขึ้นข้อความ Drive C: Failure หรือ Drive C: Error

ตรวจเช็คชนิดของ HDD ใน BIOS ที่หัวข้อ STANDARD / PRIMARY IDE : กำหนดชนิด HDD ให้ถูกต้อง ถ้ามีหัวข้อ AUTO ให้กำหนดเป็นหัวข้อนี้

DOS Partition เสีย

Boot ที่ Drive A: แล้วพิมพ์  C: ไม่ขึ้นข้อความ Invalid Drive Specification

1.             Boot ที่ Dive A: พิมพ์

Sys C: รอจนขึ้นข้อความ System transferred แล้วบู้ตที่ Drive C: อีกครั้ง ถ้ายังบู้ตไม่ได้

2.             ใช้ Norton Utilities หัวข้อ

Disk Tool ใช้คำสั่ง Make Disk Bootable ทำตามขั้นตอนของโปรแกรม ถ้ายังไม่หาย

3.             ทำการ Format Drive C:

ใหม่ได้เลย

HDD Track 0 เสีย

1.             Boot ที่ Drive A: ใช้คำสั่ง

Sys C: แล้วยังไม่ได้ผล

2.             ใช้ Norton NDD ตรวจดูแล้ว

มี Bad Sector ที่ Track 0

3.             Format C:/S ไม่ผ่าน แต่

Format C: เฉยๆ ผ่าน

4.             Format ด้วย Low Level ของ

Disk Manager ฟ้อง Track 0 เสีย

เลี่ยงไปบู้ตที่พาร์ติชันแทนโดยการกำหนดให้เป็นสองพาร์ติชัน แล้วกำหนดให้พาร์ติชันที่สองเป็น

DOS Partition ถ้าใช้ FDISK กำหนดให้ Partition ที่สองเป็น Active

HDD Boot Record เสีย

1.             ขึ้นข้อความ Disk Boot

Failure หรือ Hang ไปเฉยๆ

2.             ข้อความ Non-System Disk

or Disk Error

บู้ตที่ Drive A: พิมพ์ Sys C:

รีบู้ตอีกครั้ง ถ้าไม่หาย ใช้

Disk tool ใน Norton เลือกMake Disk Bootable

การแก้ปัญหาที่เกิดจากโปรแกรม

ปัญหา

อาการ

การแก้ไข

Hang ที่ Config.Sys หรือ Autoexec.bat หรือที่โปรแกรม Driver

บู้ตระบบขึ้นมาแล้วเข้าไปที่ Safe Mode หรือมีข้อความ Press any Key to Continues

บู้ตเครื่องขึ้นมาใหม่ แล้วกดปุ่ม F8 เลือกหัวข้อ Step by Step Confirmations เพื่อทำการตรวจสอบ Config.sys และ Autoexec.bat เพื่อตรวจดูว่ามีปัญหาที่จุดใดแล้วทำการ Mark ไว้ จากนั้นเข้าไปแก้ไขใน Edit Config.sys/ Autoexec.bat

ไฟล์ระบบเสีย

(IO.SYS/ MSDOS.SYS)

ขึ้นข้อความ Key_

(WINDOWS’98)

บู้ตที่ Drive A: พิมพ์ Sys C: แล้วทำการบู้ตระบบขึ้นมาใหม่ในกรณีนี้ถ้าระบบบู้ตไปที่ C:>  ต้องทำการติดตั้ง(Setup)โปรแกรมระบบลงไปใหม่ จึงจะใช้งานได้

เครื่องไม่สามารถโหลด Command.com ได้ เนื่องจาก Bug ของโปรแกรม หรือรุ่นของ Command.com ไม่ตรงกัน

ขึ้นข้อความ Cannot Load Command, System Halted

เช็คดูว่าในฮาร์ดดิสก์มีไฟล์ Command.com หรือไม่ ถ้าไม่มีให้ทำการบู้ตจากไดรว์ A: แล้วใช้คำสั่ง Sys C: บู้ตใหม่อีกครั้ง ถ้าไม่ได้ผลให้ทำการตรวจเช็คที่ RAM

ไฟล์ Command.com ในฮาร์ดดิสก์ไม่มี อาจถูกลบหรือถูกทำลายโดยไวรัสหรือสาเหตุอื่น

ขึ้นข้อความ Bad or Missing Command Interpreter

บู้ตระบบจาก Drive A: แล้วใช้คำสั่ง Sys C: แล้วบู้ตระบบขึ้นมาอีกครั้ง

ไฟล์ Command.com ถูกทำลาย หรือมีโปรแกรมพยายามใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำที่สงวนไว้สำหรับ Command.com

ขึ้นข้อความ

 File Allocation Error

ทำการบู้ตระบบขึ้นมาใหม่โดยการ Reset ถ้าไม่ได้ผล

บู้ตระบบจากไดรว์ A: แล้วใช้คำสั่ง Sys C: Restart เครื่อง

 

               

ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ກ.ຍ.. 1, 2011 | ມີ 0 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)

เครื่องแฮงค์เพราะไดรเวอร์ ไดรเวอร์คือ

โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการหรืออธิบายง่ายๆ ก็คือคอยทำหน้าที่แนะนำให้ระบบปฏิบัติการรู้จักและทำงาน ร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้นั่นเอง ดังนั้นหากอุปกรณ์ตัวไหนที่ไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็อาจทำให้ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ดูแล้วไดรเวอร์ ไม่น่าจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาใช่มั้ยครับ แต่เนื่องจากว่า บางครั้งไดรเวอร์ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตัวเก่าได้ มีผู้ใช้หลายคนยกเครื่องมาให้ ช่างคอมพิวเตอร์ตรวจเช็คเนื่องจากปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยพอสอบถามถึงปัญหาก็พบว่าผุ้ใช้ได้เคยอัพเดท ไดรเวอร์รุ่นใหม่ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อตรวจเช็คแล้วก็พบว่าไดรเวอร์ที่ผุ้ใช้ อัพเดทนั้นเป็นไดรเวอร์รุ่นทดสอบที่หลายเว็บไซต์มักชอบนำมาให้ดาวน์โหลดไปทดสอบกันดูก่อน เมื่อไดรเวอร์ยังไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่สามารถทำงานเข้ากับฮาร์ดแวร์ บางตัวได้จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ นั่นเอง ซึ่งปัญหานี้พบได้บ่อยมาก

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของ ผู้ใช้ก่อน หากพบเครื่องที่มีอาการแฮงค์หลังจากที่ผู้ใช้อัพเดทไดรเวอร์ลงไปให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเกิดจากสาเหตุนี้

วิธีแก้ปัญหา

ก็คือให้จัดการถอดไดรเวอร์ที่มีปัญหานั้นทิ้งไป แล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้คลิกขวาที่ไอคอน My Computer > Properties

2. ที่หน้าต่าง System properties ให้คลิกแท็ป Device Driver

3. จากนั้นคลิกขวาที่ไดรเวอร์ของอุปกรณ์ที่มีปัญหา แล้วเลือกคำสั่ง Remove ไดรเวอร์นั้นออกไปแล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม

แต่บางครั้งไดรเวอร์ที่มากับอุปกรณ์ตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้อมา ก็อาจทำให้มีปัญหาได้เหมือนกัน โดยจะ พบบ่อยมากในไดรเวอร์ของการ์ดแสดงผล 3 มิติ และซาวด์การ์ดยี่ห้อโนเนมทางแก้ปัญหาคือ ต้องไปดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตอุปกรณ์ยี่ห้อที่ใช้อยู่เท่านั้น ไม่ควรไปดาวน์โหลดจากเว็บไซต์อื่น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

 

เครื่องแฮงค์เพราะโปรแกรมแอพพลิเคชั่น

หลายครั้งที่อาการแฮงค์มักเกิดหลังจากโปรแกรมที่ติดตั้ง อยู่ในเครื่องเข้ากันไม่ได้ บางไฟล์ของโปรแกรมตัวหนึ่งอาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงไฟลืบางตัวของระบบปฏิบัติการจึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นตามมาได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากไฟล์นามสกุล DLL ซึ่งเป็นไฟล์สาธารณะของระบบปฏิบัติการ ที่มักจะมีหลายโปรแกรมที่เราติดตั้ง เข้ามาขอใช้ไฟล์นามสกุล DLL ด้วย แต่บางโปรแกรมก็มีไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าไฟล์ DLL ตัวเดิมของระบบปฏิบัติการ เมื่อเราติดตั้งโปรแกรมนี้ลงไปมันก็จะเขียนไฟล์ DLL ตัวใหม่ทับตัวเก่าทันที จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ตามมา เพราะไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการได้

สำหรับแนวทางแก้ไขของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมของการใช้งานของผู้ใช้ก่อน เมื่อพบเครื่องที่มีลักษณะเครื่องแฮงค์หลังจากที่ผุ้ใช้ลงโปรแกรมตัวใหม่ลงไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจ มาจากสาเหตุนี้ วิธีการแก้ไขก็คือ หากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนวินโดวส์ 98 / Me ให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg / restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจีสทรีที่วินโดวส์ได้แบ็คอัพเก็บไว้ 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหาเพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครับ

สำหรับวินโดวส์ Me และวินโดวส์ XP ก็สามารถใช้โปรแกรม System Restore เพื่อย้อนกลับไปยังวันที่ไม่เกิดปัญหาได้ โดยสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ดังนี้

1. คลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > System Tools > System Restore

2. เมื่อปรากฏโปรแกรม System Restore ขึ้นมาให้คลิกที่ช่อง Restore my computer to earlier time แล้วคลิกปุ่ม Next

3. เลือกวันที่และจุด Checkpoint ที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา โดยวันที่ที่สามารถย้อนกลับไปได้จะเป็นช่องหนาๆ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next

4. จะมีหน้าต่างแสดงรายละเอียดของวันที่และจุด Checkpoint ที่ต้องการย้อนระบบกลับไป ให้เราคลิกปุ่ม Next แล้วโปรแกรมก็จะเริ่มทำการย้อนระบบกลับไปยังวันที่และจุด Checkpoint ที่เรากำหนด

 

 

ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ກ.ຍ.. 1, 2011 | ມີ 0 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)

วิธีการบู๊ตเครื่องให้เร็วทันใจ

การอัพเกรดไบออส

ไบออสคือโปรแกรมเล็กๆ ที่ความสามารถไม่เล็กตามโปรแกรม ที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น การรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ การอัพเกรดไบออสของคอมพิวเตอร์ให้ได้โปรแกรมที่ใหม่ที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้การทำงานของเมนบอร์ดดีขึ้น และบางครั้งอาจทำให้บูตเร็วขึ้นอีกด้วย 

รูปที่ 1 แสดงการแฟลชไบออส 

ขั้นตอนการอัพเกรดไบออสนั้นให้ดูที่คู่มือเมนบอร์ดว่าใช้เมนบอร์ดยี่ห้ออะไร รุ่นไหน แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ ก็ไปที่ส่วนดาวน์โหลด โดยจะต้องดาวน์โหลดทั้งไฟล์ที่ใช้ในการแฟลชไบออส และไฟล์โปรแกรมของไบออส เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้แตกไฟล์ออกมา โดยจะเอาไว้เก็บที่ดีที่สุดคือที่รูทของ C: จากนั้นให้บูตจากแผ่นดิสก์แล้วกด Shift + F5 ตอนบูตเพื่อที่จะได้บูตแบบไม่ได้โหลดอะไรมาเลย แล้วที่ดอสพร็อมพ์ ให้พิมพ์ C: แล้วกด Enter เพื่อเข้าไดรฟ์ C: แล้วพิมพ์ execute.exe bios.img โดย execute.exe จะแทนชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการแฟลช ให้พิมพ์ให้ตรงกับชื่อโปรแกรม bios.img จะแทนตัวไฟล์ของโปรแกรม โดยพิมพ์ให้ตรงกับชื่อ จากนั้นกดคีย์ Enter อาจจะมีการถามว่าต้องการแฟลชจริงหรือไม่? ก็ให้ตอบ Yes ไป ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการแฟลช ใช้เวลาระยะหนึ่งก็เสร็จ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะถ้ามีการผิพลาด เช่น ไฟฟ้าดับ ก็อาจทำให้เมนบอร์ดเสียไปได้ ดังนั้น ถ้ามี UPS ก็คงจะดี เมื่อแฟลชเสร็จแล้วก็ให้รีบูตใหม่ ถ้าบูตเข้าก็แสดงว่าแฟลชเรียบร้อยแล้ว ให้ดูเวอร์ชันและวันที่ของไบออสที่ได้แฟลชเข้าไปใหม่ จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนไป

 

ปรับแต่งไบออส

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไบออสเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่สุดที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ การเข้าไปปรับแก้เกี่ยวกับไบออสก็จะทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้บูตเร็วขึ้นได้

ขั้นตอนการเข้าไปแก้ไขไบออส ให้กดคีย์ Delete หลังจากเปิดเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คีย์ Delete อยู่แล้ว ถ้าไม่ใช่ก็ลองมองดูที่หน้าจอตอนบูตว่าต้องกดคีย์อะไรเพื่อเข้าไปแก้ไขไบออส หลังจากเข้าไปสู่หน้าไบออสเซตอัพแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวหนังสือล้วนๆ ให้เข้าไปหาสิ่งต่อไปนี้แล้วแก้ไขตาม 

รูปที่ 2 หน้าตาของไบออสเซตอัพ 

 

- Turbo Frequency ให้เลือก ENABLE คำสั่งนี้ไม่ได้มีทุกเมนบอร์ด แต่ถ้ามีก็ให้เอนเนเบิลไว้ จะทำให้ความเร็วบัสเร็วขึ้นประมาณ 2.5% ซึ่งจะทำให้ความเร็วโดยรวมของระบบเร็วขึ้น (เป็นการโอเวอร์คล็อกแบบไม่มากนัก)

 

- IDE Hard Disk Detection สั่งให้ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม จากนั้นก็บันทึกลงไบออส จะทำให้ความเร็วในการบูตเร็วขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับที่การตั้งเป็น Auto แล้วต้องตรวจสอบทุกครั้งที่บูต

 

- Standard BIOS Setup Menu เข้าไปเช็คดูอีกครั้งว่าฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไม่ได้อยู่ในภาวะที่เป็น Auto

 

- Quick Power On Self Test (POST) ให้ ENABLE ไว้จะทำให้บูตเร็วขึ้น

 

- Boot Sequence ให้เลือกเป็น C นำหน้า ถ้าไม่ต้องการบูตจากแผ่นดิสก์ จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มบูตจากแผ่นดิสก์ก่อน

 

- Boot Up Floppy Seek ให้ DISABLE ไว้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการไปค้นหาแผ่นตอนเริ่มบูต

 

ลดโปรแกรมที่โหลดตอนเริ่มต้นบูตเข้าวินโดวส์

ขั้นตอนนี้แหละที่ลดโปรแกรมที่ขึ้นมาเป็นแผงที่ทาส์กบาร์ ซึ่งทำให้เสียทั้งเวลาในการบูตและเสียทรัพยากรของเครื่องโดยที่บางครั้งเราไม่ได้ใช้มัน ปกติโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเขียนไว้ในหลายๆ ที่ เช่น ในรีจิสทรี ใน Startup การเข้าไปลบ ถ้าต้องเข้าลบตรงๆ ก็อาจจะเสียเวลา แต่วินโดวส์ก็ได้ให้ทูลในการเข้ามาช่วย นั่นคือโปรแกรม System Configuration Utility หรือที่รู้จักในชื่อ MsConfig

ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมให้ไปที่ Start - Run แล้วพิมพ์ msconfig จากนั้นกด Enter

 

หลังจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วให้ไปที่แท็บ Startup ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโปรแกรมทั้งหมดที่โหลดขึ้นมาตอนเข้าวินโดวส์ ไม่ว่าจะเขียนไว้ที่ไหน ตรงนี้เราสามารถพอเดาชื่อโปรแกรมได้ ถ้าไม่ต้องการโปรแกรมใดก็เอาเครื่องหมายถูกข้างหน้าโปรแกรมออก เช่น ICQ, HotSync Manager, MSN Messenger ซึ่งเราไม่ได้มีความเป็นต้องโหลดทุกครั้งที่เปิดเครื่อง

 

หลังจากเลือกโปรแกรมที่ไม่ต้องการออกแล้วให้กด OK ก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่า จะรีตาร์ทเลยหรือไม่? ตรงนี้แล้วแต่ว่าจะทำงานต่อหรือจะรีสตาร์ทเลยก็ได้ หลังรีสตาร์ทเข้ามาวินโดวส์แล้วจะไม่มีโปรแกรมเหล่านี้โหลดขึ้นอีก 

รูปที่ 3 แสดงแท็บ Startup ของ System

Comfiguration Utility 

 

เอาเซอร์วิสที่ไม่จำเป็นออก

เซอร์วิสจะเป็นส่วนของโปรแกรมที่ทำหน้าที่ต่างๆ ของวินโดวส์ โดยทำงานอยู่แบ็กกราวนด์ เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่เห็นโปรแกรม แต่เซอร์วิสเหล่านี้ค่อนข้างใช้เวลาในการเปิดตอนเปิดเข้าวินโดวส์เหมือนกัน และก็จะใช้ทรัพยากรของเครื่องไป บางเซอร์วิสเป็นสิ่งที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ก็เปิดขึ้นมาหมดด้วย ดังนั้น การเอาเซอร์วิสที่ไม่ต้องการออก ก็จะเป็นการลดเวลาในการบูตและประหยัดทรัพยากรของเครื่องไปได้เป็นอย่างดี

ขั้นตอนการเอาเซอร์วิสที่ไม่ต้องการออก ให้ไปที่ System Configuration Utility แล้วไปที่แท็บ Services กดเลือก Hide all microsoft services ออกก่อน ก็จะเหลือแต่เซอร์วิสที่เป็นโปรแกรมที่เราติดตั้งลงไปใหม่ ให้เลือกเอาส่วนที่คิดว่าไม่ต้องการออก แล้วกดปุ่ม Apply ส่วนเซอร์วิสของไมโครซอฟท์ซึ่งมีอยู่มากมายนั้น คงจะต้องเข้าไปอ่านกันเองนะครับ ว่าจะใช้ตัวไหน ตัวไหนไม่ใช้ โดยเข้าไปที่ Services แล้วเลือก Start - Run ให้พิมพ์ Services.msc ก็จะมีโปรแกรมขึ้นมา ที่นี่จะมีเซอร์วิสทุกตัวให้อ่านกันจนตาลายเลยก็ว่าได้ 

และการดูตรงส่วนที่แสดงคำอธิบายของแต่ละเซอร์วิส 

 

 

เอาโลโก้ตอนบูตออก

เราสามารถเพิ่มความเร็วในการบูตได้ โดยเอาโลโก้ตอนบูตออก แต่จะเพิ่มความเร็วได้เล็กน้อย วิธีการให้เข้า System Configuration Utility เลือก boot.ini เลือกบรรทัดที่มี /fastdetect แล้วเลือก /NOGUIBOOT เสร็จแล้วกดปุ่ม OK เราสามารถยกเลิกได้โดยการติ๊กเอาเครื่องหมายถูกออก 

 

การลดการค้นหาไดรฟ์ที่ไม่มีอยู่จริง

บางครั้งวินโดวส์ของคุณมีอาการบูตช้ากว่าปกติ อาจจะเป็นเพราะวินโดวส์พยายามหาไดรฟ์ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น ในกรณีที่ Primary IDE ของคุณมีฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว แต่วินโดวส์จะพยายามหาฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ขณะที่กำลังบูต ทำให้เสียเวลาเพิ่มในการบูต

วิธีการแก้ไข ให้เข้าไปที่ Device Manager แล้วไปที่ IDE/ATAPI Controllers เลือกที่ Primary IDE คลิ้กขวาแล้วเลือก Properties จะมี (ใส่รูป 01.bmp) หน้าต่าง properties ขึ้นมาให้ไปที่แท็บ Advanced Settings ที่ช่อง Device 1 ซึ่งในที่นี้คือไดรฟ์ตัวที่ 2 บน IDE 1 ซึ่งไม่มีอยู่จริง ให้แก้ที่ Device type เป็น none (ใส่รูป 02.bmp) แล้วกดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน ถ้าที่ Secondary IDE มีไดรฟฺที่ว่างอยู่ก็ให้ทำอย่างนี้ด้วย

 

ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ກ.ຍ.. 1, 2011 | ມີ 0 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)

การแก้ปัญหาระบบคอมพิวเตอร์

                การแก้ไขปัญหาในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ จำเป็นที่เราต้องศึกษาการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์แต่ละส่วนไป ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยทำการศึกษาถึงการทำงานของส่วนประกอบแต่ละส่วนว่ามีการทำงานเป็นอย่างไร เพื่อที่จะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาได้อีกทาง

เมนบอร์ด : MAIN BOARD

                เมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะภายนอกจะเหมือนกับวงแผงวงจรไฟฟ้าทั่วไป โดยมีชิพไอซีและขั้วต่อต่างๆมากมายอยู่บนตัวมันเพื่อใช้ในการควบคุมของอุปกรณ์ต่อพ่วง ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู, หน่วยความจำ, การ์ดขยายต่างๆ, ฮาร์ดดิสก์, ฟลอปปี้ดิสก์, ซีดีรอมไดรว์ ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้แม้จะมีความสำคัญเพียงใด ก็ไม่สามารถทำงานได้ถ้าไม่ติดตั้งลงบนเมนบอร์ด

ส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ด

1.              ชุดชิพเซ็ต ชิพเซ็ตเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานของชิพเซ็ตนั้นเปรียบ

เสมือนล่ามแปรภาษาต่างๆ ให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นที่อยู่บนเมนบอร์ดเข้าใจและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยชุดชิพเซ็ตนี้จะประกอบด้วยไอซีสองตัว(หรือมากกว่าในชิพเซ็ตรุ่นใหม่ๆ) นั่นคือชิพเซ็ตที่เรียกกันง่ายๆ ว่า North Bridge หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า System Controller หรือ AGP Set และตัวที่สองคือ South Bridge เรียกเป็นทางการว่า PCI to ISA Bridge

System Controller หรือ North Bridge

                ชิพเซ็ตตัวนี้จะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงกว่าอุปกรณ์อื่นๆ บนเมนบอร์ด อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ซีพียู, หน่วยความจำแคชระดับสอง หรือ L2 cache หน่วยความจำหลักหรือ RAM, ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP(Accelerated Graphic Port) ระบบบัส PCI

PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge

                ชิพเซ็ตตัวนี้จะรับภาระที่เบากว่าตัวแรก คือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วต่ำกว่าตัวมัน เช่นระบบบัสแบบ ISA, ระบบบัสอนุกรมแบบ USB, ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE, ชิพหน่วยความจำรอมไบออส,ฟลอปปี้ดิสก์, คีย์บอร์ด, PS/2 เมาส์, พอร์ทอนุกรมและพอร์ทขนาน

                ชุดชิพเซ็ตนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายบริษัทเช่นเดียวกับซีพียู ทำให้เกิดการสับสนในการเลือกใช้งาน โดยการพิจารณาว่าจะใช้ชิพเซ็ตรุ่นใด ยี่ห้อใดต้องพิจารณาจากซีพียูที่เราเลือกใช้เพื่อเป็นหลักในการเลือกชิพเซ็ตนั้นๆ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดอีกครั้ง

 

2. ROM BIOS& Battery Backup

ROM BIOS : Basic Input Output System หรือบางครั้งอาจเรียกว่า CMOS เป็นชิพหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็ก ที่จำเป็นต่อการบู้ตระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในอดีตส่วนของ ROM BIOS จะแยกเป็นสองส่วนคือ ไบออสและซีมอส หน้าที่ของไบออสคือ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบู้ตระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซีมอสทำหน้าที่เก็บโปรแกรมขนาดเล็กที่จะใช้ในการบู้ตระบบซึ่งผู้ใช้สาสมารถที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในซีมอสนี้ได้

                ในปัจจุบันมีการนำเอาทั้งสองส่วนมารวมไว้ด้วยกัน และเรียกชื่อใหม่ว่า ROM BIOS ดังนั้นบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะไม่มีซีมอสอยู่ เมื่อมีการรวมกันผลคือมีข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายในชิพรอมไบออสนั้นต้องการพลังงานไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงเพื่อรักษาข้อมูลไว้ ทำให้จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่แบคอัพบนเมนบอร์ด ซึ่งแบตเตอรี่แบคอัพนี้ย่อมมีวันที่จะหมดอายุเช่นกัน

                ยี่ห้อของรอมไบออสที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่สามยี่ห้อด้วยกันนั่นคือ Award, AMI, Phoenix ซึ่งไบออสของ Award จะได้รับความนิยมมากที่สุดในเครื่องประเภทขายปลีก(Retail คือตลาดของผู้ใช้ทั่วไป) ส่วน AMI จะรองลงมา ในส่วนของ Phoenix นั้นมักจะใช้ในเครื่องแบรนด์เนมเป็นส่วนใหญ่ ประสิทธิภาพของไบออสนั้นจะใกล้เคียงกัน ต่างกันเฉพาะรายละเอียดในการปรับแต่งเท่านั้น

3.หน่วยความจำแคช ระดับสอง : Level 2 Cache

                L2 cache ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำรองหรือ บัฟเฟอร์ ให้กับซีพียู โดยพื้นฐานความคิดมาจากปัญหาอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงในคอมพิวเตอร์มักเสีย้วลาส่วนหนึ่งไปกับการรออุปกรณ์ที่ทำงานช้ากว่าทำงานให้เสร็จสิ้นเสียก่อน อุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงนั้นจึงจะสามารถทำงานได้ต่อไป

                จากอดีต เมื่อซีพียูต้องการข้อมูลสักชุดต้องไปค้นหาและเรียกข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ซึ่งทำงานช้ากว่าซีพียูอยู่มาก หรือถ้าต้องการคำสั่งที่จะนำไปประมวลผล ซีพียูก็ต้องเข้าไปเรียกหาจาก RAM ซึ่งมีความเร็วต่ำกว่าซีพียูอยู่ดี

                ความมุ่งหมายในการนำหน่วยความจำแคชระดับสองมาใช้ในช่วงก่อนก็เพื่อลดช่องว่างระหว่างความเร็วของซีพียู และหน่วยความจำหลัก RAM นั่นเอง โดยหน่วยความจำแคชระดับสองบนเมนบอร์ดจะทำหน้าที่ดึงชุดข้อมูลในลำดับถัดไปหรือชุดคำสั่งในลำดับต่อๆ ไปหลายๆ ชุดจากฮาร์ดดิสก์หรือหน่วยความจำหลักที่ทำงานช้ากว่ามาเก็บไว้ที่ตัวเองในระหว่างที่ซีพียูกำลังทำการประมวลผลอยู่ เมื่อซีพพียูต้องการข้อมูลหรือชุดคำสั่งชุดต่อไปก็จะทำการเรียกใช้จากแคชระดับสองซึ่งทำงานเร็วกว่า RAM หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ทำงานช้ากว่า

                ตามหลักการแล้ว ขนาดของแคชระดับสอง ถ้ามีมากยิ่งจะทำให้ซีพียูทำงานเร็วขึ้น แต่เนื่องจากหน่วยความจำแคชระดับสองซึ่งเป็น SRAM : Static RAM มีราคาแพง และโอกาสที่ซีพียูจะเรียกชุดคำสั่งในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งที่อยู่ติดกันนั้นไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา ทำให้แคชระดับสองมีขนาดไม่ใหญ่นัก โดยมาตรฐานจะอยู่ที่ 512 KB และอยู่บนเมนบอร์ด(ปัจจุบันย้ายไปอยู่ในตัวซีพียู ในขนาดเท่าๆ เดิม แต่มีความเร็วที่มากกว่าคือความเร็วเท่ากับซีพียู)

4.ซ็อคเก็ต หรือสล็อตสำหรับติดตั้งซีพียู

ซ็อกเก็ต หรือสล็อต ที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้น เป็นอุปกร์ที่ช่วยให้การติดตั้งซีพียูลงบน

เมนบอร์ด ซึ่งเริ่มใช้ในซีพียูรุ่น 80386 ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีคานช่วยสำหรับการถอดประกอบ โดยเริ่มมีคานช่วยในการถอดประกอบในซ็อกเก็ตแบบ Socket 3 ใช้กับซีพียู 80486 โดยซ็อกเก็ตแต่ละตัวจะใช้กับซีพียูในแต่ละรุ่นไป ดังนี้(จะกล่าวเฉพาะที่มีใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันที่มีอยู่เท่านั้น)

·       Socket 3        ใช้กับซีพียู ที่มีจำนวนขา 237 ขา 80486 SX, 80486DX2, 80486DX4

·       Socket 5        ใช้กับซีพียู ที่มีจำนวนขา 320 ขา Pentium 75-133, K5, Cyrix6x86MI

·       Socket 7        ใช้กับซีพียู ที่มีจำนวนขา 321 ขา Pentium MMX,K6-2, K6-3, Cyrix MII

·       Socket 370   ใช้กับซีพียู ที่มีจำนวนขา 370 ขา Celeron, Celeron II, Pentium III Cumine

·       Socket 423   ใช้กับซีพียู Pentium 4

·       Socket A       ใช้กับซีพียู 462 ขา Duron, Atlon Thunder Bird บางรุ่น

·       Slot I             ใช้กับซีพียู 242 ขา Pentium II, Pentium III, Celeron บางรุ่น

·       Slot A            ใช้กับซีพียู 242 ขา Athlon, Athlon ThunderBird

5.ซ็อกเก็ตสำหรับ หน่วยความจำหลัก RAM

ในช่วงแรกๆ นั้น ซ็อกเก็ตที่ใช้สำหรับการติดตั้ง RAM จะเป็นแบบ SIMM : Single Inline

Memory Module ที่รองรับ RAM ที่มีขาสัญญาณ 30 ขา สามารถเพิ่มหน่วยความจำได้สูงสุดไม่เกิน 2 Bank หรือ 8 สล็อต (เป็นหน่วยความจำแบบ 8 บิต) มีความจุแผงละ 1 – 4 MB เท่านั้น

                ถัดมามีการพัฒนาเป็นแบบซ็อกเก็ตติดตั้ง RAM แบบ SIMM 72 ขา เป็น RAM แบบ 32 บิต มีขนาดความจุตั้งแต่ 4 – 32 MB ซึ่งเมื่อนำไปใช้กับซีพียูที่เป็นแบบ 64 บิต เช่น Pentuim จึงต้องใช้สองแผงจึงจะรองรับการทำงานร่วมกับซีพียูได้ดี

                ต่อมาในชิพเซ็ตรุ่น 430 VX ซึ่งสามารถรองรับหน่วยความจำรุ่นใหม่คือแบบ DIMM : Dual Inline Memory Module 168 ขา 64 บิต ซึ่งมีทั้ง EDO RAM และ SDRAM ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า SIMM RAM มาก และเป็น RAM มาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน

(ขณะนี้ RAM ที่ออกมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีที่มาแรงคือ DDR SDRAM

ใช้งานกับซีพียู Pentuim 4, Duron, Athlon ThunderBird)

6.สล็อตสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มขยายต่างๆ

จากยุคเริ่มแรกที่เป็นสล็อตแบบ ISA ซึ่งเป็นแบบ 8 บิต ทำงานที่ความเร็ว 8 MHz  ต่อมา

พัฒนาขึ้นเป็นแบบ 16 บิต เพื่อเพิ่มความเร็วให้สามารถรองรับอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่มีความเร็วในการทำงานสูงได้ ต่อมาได้พัฒนาระบบบัสแบบ Vesa ISA 32 บิต ความเร็ว 33 MHz ขึ้นมาแต่ยังคงความยาวเอาไว้เพื่อใช้กับการ์ด ISA แบบเดิม ซึ่งเป็นข้อจำกัดของบัสแบบ Vesa ISA ต่อมาทาง Intel ได้ทำการออกแบบสล็อตแบบใหม่ที่เรียกว่า PCI เข้ามาแทนที่สล็อตแบบ Vesa ISA ด้วยคุณสมบัติที่เท่ากัน แต่ข้อได้เปรียบคือมีขนาดที่สั้นกว่า และยังสะดวกในการติดตั้งและอัพเกรดในตอนหลังอีกด้วย แต่ความเร็วของ PCI ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานร่วมกับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ที่เป็นแบบสามมิติ และมีชิพเร่งความเร็วสามมิติอยู่ในตัวได้ จึงต้องมีการพัฒนาระบบบัสขึ้นมาสเพื่อใช้งานร่วมกับการ์ดแสดงผลแบบใหม่นี้ซึ่งเรียกว่า AGP : Accerelated Graphic Port แบบ 32 บิต ความเร็วสูงถึง 100 MHz (AGP Port จะมีเพียง 1 Slot เท่านั้นบนเมนบอร์ด)

7. วงจรควบคุมการจ่ายไฟให้กับซีพียู หรือ Voltage Regulator

                บนเมนบอร์ดจะมีวงจรจ่ายไฟให้กับซีพียูอยู่อีชุดหนึ่ง โดยแยกจาก Power Supply  ในเมนบอร์ดรุ่นเก่าจะเป็นแบบ Linear ซึ่งมีข้อด้อยคือไม่สามารถรองรับกับซีพียูที่มีความเร็วสูงได้

จึงได้เปลี่ยนมาเป็นแบบ Switching แทนเพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกมามีความบริสุทธิ์พอ การสังเกตว่าบนเมนบอร์ดนั้นมีวงจรจ่ายไฟให้กับซีพียูเป็นแบบใด ถ้าเป็นแบบ Switching ใกล้ๆ

ซ้อกเก็ต หรือสล็อตที่ใช้ติดตั้งซีพียูนั้นจะมีขดลวดทองแดงที่พันอยู่บนแกนทรงวงแหวนอย่างน้อย

สองวง แต่ถ้าวงจรควบคุมการจ่ายไฟเป็นแบบ Linear จะไม่มีวงแหวนนี้ แต่จะเป็น IC Regulator แบบ 3 ขาแทน

                8. วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา

                วงจรสัญญาณนาฬิกาสร้างจากวงจรที่เรียกว่า Oscillator หรือวงจรกำเนิดความถี่สัญญาณนาฬิกา ซึ่งการตั้งค่าความเร็วของสัญญาณนาฬิกาของระบบบัสที่ใช้กับซีพียูแต่ละรุ่นนั้น คือการแจ้งหรือกำหนดให้วงจรกำเนิดความถี่สัญญาณนาฬิกกานี้ผลิตความถี่ที่ซีพียูแต่ละรุ่นต้องการนั่นเอง ซึ่งเมื่อได้รับความถี่ที่ต้องการแล้ว ภายในตัวซีพียูเองจะมีส่วนที่เรียกว่าวงจรอัตราการคูณสัญญาณนาฬิกาภายในทำหน้าที่เพิ่มความถี่ของสัญญาณนาฬิการะบบที่ได้รับมาอีกครั้งหนึ่ง เช่นซีพียู Pentuim II 450 MHz ระบบบัสเท่ากับ 100 MHz ตัวคูณที่ใช้จะเป็น 4.5(100X4.5=450)

                9. ชิพควบคุมพอร์ตชนิดต่างๆ หรือ Multi I/O (Multi Input Output)

                เป็นชิพที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วต่ำเช่น พอร์ตอนุกรม(Serial),พอร์ตขนาน(parallel),พอร์ต PS/2 ของคีย์บอร์ดและเมาส์,พอร์ตอินฟราเรดและฟลอปปี้ดิสก์คอนโทรลเลอร์ เทคโนโลยีในส่วนนี้แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานแล้ว เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่ชิพตัวนี้ควบคุมอยู่มีการทำงานที่ความเร็วต่ำพอที่ชิพในปัจจุบันสามารถที่จะควบคุมได้โดยไม่ต้องมีการพัฒนา

                การเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้อาจมีบ้างในส่วนของพอร์ตอนุกรม ซึ่งในยุคแรกจะใช้ชิพ UART 8255 หรือ 16540 ที่รองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 14.4 kbps เท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอ ถ้าหากมีการใช้อุปกรณ์เช่นโมเด็มที่ใช้การเชื่อมต่อผ่านพอร์ตอนุกรมนี้และทำงานด้วยความเร็วสูงกว่า 14.4 kbps ทำให้มีการพัฒนาชิพตัวนี้ไปเป็นรุ่น16550 เพื่อให้สามารถรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ตอนุกรมได้เกินกว่า 14.4 kbps

                10. จัมเปอร์และดิพสวิทช์

                ใช้สำหรับการตั้งค่าต่างๆ บนเมนบอร์ดโดยมีรูปร่างลักษณะต่างกัน แต่ถูกนำมาใช้งานในจุดประสงค์เดียวกัน คือใช้สำหรับการตั้งค่าให้กับอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดให้ทำงานตามที่เราต้องการ เช่น

·       ใช้ตั้งค่าอัตราตัวคูณให้กับซีพียู

·       ใช้ตั้งค่าแรงดันไฟเลี้ยงที่จะป้อนให้กับซีพียู

·       ใช้ตั้งค่าสัญญาณนาฬิกาของระบบ

·       ใช้สำหรับการลบค่าที่บันทึกไว้ใน CMOS

แต่เดิมนั้นจะมีเฉพาะจัมเปอร์ซึ่งมีลักษณะเป็นหลักต่อที่เวลาจะเลือกใช้จะต้องมีแคพเป็นตัว

เชื่อมต่อ ซึ่งการเสียแคพเข้ากับจัมเปอร์ต้องให้ตรงกับหลักนั้นทำได้ยากพอสมควรเนื่องจากจัมเปอร์มีขนาดเล็กมาก ต่อมาจึงมีการนำเอาดิพสวิทช์มาใช้แทนซึ่งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่า และมีสีสันที่สังเกตได้ง่ายกว่าด้วย

                11. คอนเน็คเตอร์และพอร์ตชนิดต่างๆ

                คอนเน็คเตอร์และพอร์ตที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้นจะมีอยู่หลายชนิด เช่น

·       Primary IDE Connector           เป็นคอนเน็คเตอร์ขนาด 40 ขา ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้มาตร-

ฐานการเชื่อมต่อแบบ EIDE สามารถใช้งานพร้อมกันได้ 2 ตัว

·       Secondary IDE Connector      เป็นคอนเน็คเตอร์ขนาด 40 ขา ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้มาตร-

ฐานการเชื่อมต่อแบบ EIDE สามารถใช้งานพร้อมกันได้ 2 ตัว

·       Floppy Disk Connector            คอนเน็คเตอร์ขนาด 34 ขา ใช้ต่อกับฟลอปปี้ดิสก์ไดรว์

·       AT/ATX Power Connector     ขั้วสำหรับรองรับขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลาย แบบ AT

จะเป็นแบบ12 ขั้วเรียงกัน พบในเมนบอร์ดรุ่นเก่า ส่วนแบบ

ATX จะมี 20 ขา (เป็นแบบสองแถวคู่)

·       Serial Port Connector               มีรูปทรงคล้ายกับตัว D ในภาษาอังกฤษ บางครั้งเรียกว่า DB-9

มี 9 ขา อยู่ภายนอกเครื่อง มีสองพอร์ทใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์

ภายนอก เช่น เมาส์ หรือโมเด็ม

·       Parallel Port Connector            มีรูทรงเหมือนกับ Serial Port แต่มี 25 ขา เรียกว่า DB-25 ใช้

สำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับ Printer (หรือเรียกโดยทั่วไปว่า พอร์ท

พรินเตอร์)

·       PS/2 Port                                      เป็นพอร์ทมาตรฐาน DIN 6 ขนาดใหญ่มี 5 ขาสัญญาณใช้กับ AT

Style เชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดเท่านั้น อีกตัวหนึ่งเป็น DIN 6 เล็ก ใช้

กับคีย์บอร์ดและเมาส์แบบ PS/2 หัวต่อเล็ก

·       USB Connector                          มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนๆ มีสองพอร์ท ใช้สำหรับ

การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆที่ใช้งานผ่านทางพอร์ทนี้ ส่วนใหญ่ในบอร์ดแบบ ATX จะติดตั้งบนเมนบอร์ดเลย แต่ถ้าเป็นแบบ AT จะมีเฉพาะขั้วต่อบนบอร์ดต้องหาการ์ด USB(Universal Serial BUS) มาต่อเพิ่มเอง

พอร์ทอื่นๆ บนเมนบอร์ด

·       IrDA Infrare Module Connector           เป็นหลักต่อแบบ 5 Pin บนบอร์ด ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับ

อุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยลำแสงอินฟราเรด ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์

ประเภทไร้สาย เช่น เมาส์ กล้องดิจิตอล เป็นต้น

·       Wake-Up on LAN Connector                ใช้คู่กับการ์ด LAN ที่สนับสนุนคุณสมบัตินี้ และต้องเปิดใช้คุณ

สมบัติในไบออสในหัวข้อ Wake-Up on LAN ด้วย ใช้สำหรับ

การควบคุมปิด-เปิดเครื่องผ่านระบบ LAN

·       Modem Wake UP Connector  ใช้ร่วมกับการ์ดโมเด็มแบบติดตั้งภายใน จุดประสงค์เพื่อเปิด

เครื่องผ่านโมเด็ม ต้องมีการตั้งค่าในไบออสหัวข้อ Resume by

Ring ให้เป็น Enable

 
   

 

 

ຂຽນເມື່ອ ຂຽນເມື່ອ: ກ.ຍ.. 1, 2011 | ມີ 1 ຄຳເຫັນ ແລະ 0 trackback(s)

108 ปัญหา เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่พบกันบ่อย ๆ และแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น

รวบรวมปัญหาต่าง ๆ ที่พบได้บ่อย ๆ กับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยได้พยายามรวบรวมปัญหาที่พบเห็นกันบ่อย ๆ และนำมาสรุปให้เป็นแนวทางสำหรับ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น หวังว่าจะมีประโยชน์กับคนอื่น ๆ ได้บ้าง

ปัญหาของ Windows

  • หลังจาก Setup Windows ใหม่แล้วเกิดการค้าง ไม่ยอมทำการ Setup ต่อไป
    เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สิ่งหนึ่งที่พบบ่อย ๆ คือการตั้งค่า Virus Warning ใน bios ไว้ทำให้เครื่องไม่สามารถ เขียนข้อมูลทับลงบนส่วนของ boot record ของฮาร์ดดิสก์ได้ ให้ลองแก้ใน bios ตั้งให้เป็น Disable ไว้ก่อน และหลังจากทำการ Setup Windows เสร็จแล้วค่อยตั้งเป็น Enable ใหม่
  • หลังจาก Setup Windows จะขึ้นข้อความ Windows Protection Error
    ที่พบบ่อย ๆ มากคือปัญหาของ RAM อาจจะเป็นเฉพาะช่วงที่ทำการ Setup Windows เท่านั้น (โดยที่ปกติก่อน Setup Windows จะใช้งานได้ ไม่เป็นอะไร) ให้ทดลองหา RAM มาเปลี่ยนใหม่ดู หรือหากเป็น SDRAM ให้ทดลองตั้งค่าใน bios ค่าของ CAS จากที่ตั้งเป็น 2 ลองตั้งเป็น 3 ดู อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง
  • ใช้ AMD K6II-350 ขึ้นไปลง Windows95 แล้วเกิด Error แต่ลง Windows98 ได้
    จะเกิดจากการใช้ CPU ของ AMD ที่มีความเร็วตั้งแต่ 350MHz ขึ้นไปกับ Windows95 วิธีแก้ไขคือไป Download Patch สำหรับแก้ปัญหานี้ที่ AMDK6UPD.EXE มาแก้ไขโดยสั่งรันไฟล์นี้แล้วบูทเครื่องใหม่ก่อน อ่านรายละเอียดที่นี่

ปัญหาของ ฮาร์ดแวร์

  • RAM หายไปไหนเนี่ย ใส่เข้าไป 32 M. ทำไม Windows บอกว่ามี 28 M. เอง
    อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและขนาดที่จะโดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M หรือ 8M ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ครับ

 

  • ใช้เครื่องได้สักพัก มักจะแฮงค์ พอปิดเครื่องสักครู่แล้วเปิดใหม่ ก็ใช้งานต่อได้อีกสักพักแล้วก็แฮงค์อีก
    อาจจะเกิดจากความร้อนสูงเกินไป อย่างแรกให้ตรวจสอบพัดลมต่าง ๆ ว่าทำงานปกติดีหรือเปล่า หากเครื่องทำ Over Clock อยู่ด้วยก็ทดลองลดความเร็วลงมา ใช้แบบงานปกติดูก่อนว่ายังเป็นปัญหาอยู่อีกหรือเปล่า ถ้าใน bios มีระบบดูความร้อนของ CPU หรือ Main Board อยู่ด้วยให้สังเกตค่าของ อุณหภูมิ ว่าสูงเกินไปหรือเปล่า ทั้งนี้อาจจะทำการเพิ่มการติดตั้งหรือเปลี่ยนพัดลมของ CPU ช่วยด้วยก็ดี
  • มีข้อความ BIOS ROM CHECK SUM ERROR ตอนเปิดเครื่อง
    อาการนี้ส่วนใหญ่เกิดจากถ่านของ BIOS หมดหรือเกิดการหลวมครับ ให้ลองขยับถ่านให้แน่น ๆ ดูก่อน ถ้าไม่หายก็ต้องลองเปลี่ยนถ่านบนเมนบอร์ดดู (ก่อนเปลี่ยนถ้ามี Meter วัดไฟดูก่อนก็ดี) หลังจากเปลี่ยนแล้วให้ทำการ Clear BIOS Jumper ก่อนด้วย จะเป็น Jumper ใกล้ ๆ กับ IC BIOS นั่นแหละ ทำการ Jump ค้างไว้สัก 5 วินาทีแล้วก็ Jump กลับที่เดิมก่อน หลังจากนั้นต้องเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ของ BIOS ใหม่ด้วย
  • ลืม Password ของ BIOS จะทำยังไงดี
    ให้ทำการถอดถ่านของ BIOS ออกสักครู่ แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ ทำการ Clear Jumper BIOS ก่อนด้วย หรือลองดูวิธีการ Clear/Reset Password ของ BIOS
  • ซื้อฮาร์ดดิสก์มาขนาดใหญ่ ๆ แต่หลังจากทำการ Format แล้วเครื่องมองเห็นแค่ 2G
    อย่างแรกให้ดูก่อนเลยว่า ใช้ระบบ FAT16 หรือ FAT32 ถ้าหากเป็น FAT16 จะมองเห็นได้สูงสุดแค่ 2G ต่อ 1 Partition เท่านั้น ต้องใช้แบบ FAT32 ครับ วิธีการคือใช้ FDISK ของแผ่น Startup Disk WIN98 มาทำ FDISK (ถ้าเป็น FDISK จาก DOS หรือ WIN95 จะเป็นแบบ FAT16) ดูวิธีการทำ fdisk และ การ format ฮาร์ดดิสก์ ที่นี่
  • ไม่สามารถใช้งาน ฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 8G. สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า
    เกิดจากที่ BIOS ไม่สามารถรู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้ จะเป็นกับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ ที่เคยพบมาอีกแบบคือ Windows มองเห็นเกิน 8G แต่ไม่สามารถใช้งานได้ จะบอกว่าฮาร์ดดิสก์ของเราเต็ม วิธีแก้ไขอย่างแรกคือ ให้ลองทำการ Update BIOS เป็น Version ใหม่ดูก่อน (ถ้าหาได้) หรือไม่ก็หา Download โปรแกรมสำหรับจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อนั้น ๆ หรืออาจจะใช้วิธีการแบ่ง Partition ให้มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 8G ต่อ 1 Partition ก็อาจจะช่วยได้

 

ปัญหาของ ซอฟต์แวร์

  • หลังจากลงโปรแกรมป้องกันไวรัส McAfee 4.0.3 แล้วไม่สามารถบูทเข้า Windows ได้
    เท่าที่พบจะเกิดกับบางเครื่องเท่านั้น ปัญหาเกิดจากหลังจากที่เราติดตั้ง McAfee ลงไปแล้ว เครื่องจะทำการ Scan ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์โดยใส่เป็น Batch File ไว้ในไฟล์ autoexec.bat ซึ่งบางครั้งจะเป็นปัญหาทำให้ค้าง ไม่ยอมเข้า Windows ต่อไป วิธีแก้ไขคือ ให้เปิดเครื่องเข้าใน MS-DOS Mode โดยกดปุ่ม F8 ค้างไว้ขณะเปิดเครื่อง จะเข้ามาที่เมนู Microsoft Windows 98 Startup Menu เลือกข้อ 6. sefe mode command prompt only แล้วใช้คำสั่ง "edit autoexec.bat" เพื่อแก้ไขไฟล์โดยให้ลบบรรทัดที่มีคำสั่ง scan.exe ออกครับ ทำการ save file แล้วทดลองบูทเครื่องใหม่อีกครั้ง
  • พิมพ์หน้า Web Page ออกเครื่องพิมพ์แบบ Ink Jet เป็นภาษาไทยไม่ได้ จะมีแต่ภาษาอังกฤษ
    ส่วนใหญ่ ปัญหานี้จะเกิดกับการใช้เครื่องพิมพ์แบบ อิงค์เจ็ท รุ่นใหม่ ๆ วิธีแก้ไขคือ ให้ลองหา Download Driver รุ่นใหม่ ๆ ของเครื่องพิมพ์จาก Web Site ของเครื่องพิมพ์นั้น ๆ เพราะบางครั้งอาจจะมีการแก้ไขปัญหานี้แล้ว หรือไม่ก็ใช้วิธีเข้าไปตั้งค่า Regional Settings ที่ Control Panel เป็น English(USA) ก่อน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็เปลี่ยนกลับมาเป็น Thai เหมือนเดิม การตั้งค่าก็ทำโดยกดที่ Start เมนู >> Settings >> Control Panel เลือกที่ Regional Settings เปลี่ยนเป็น English(USA)
  • สั่ง Defrag Hard Disk แล้วไม่ยอมเสร็จ จะกลับมาเริ่มต้นใหม่ วนแบบนี้อยู่เรื่อย ๆ สาเหตุเกิดจากมีโปรแกรมบางตัวทำงานอยู่ในเวลานั้นด้วยและสั่งเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ เช่น Screen Saver, Winamp หรือพวก Anti Virus บางตัว ให้ทำการปิดโปรแกรมเหล่านี้ให้หมดก่อน หรืออาจจะใช้วิธีเข้า Windows ใน Self Mode (กด F8 ตอนเปิดเครื่องแล้วเลือก Self Mode)
  • ใช้การ์ดจอของ TNT แล้วเมื่อพิมพ์ข้อความต่าง ๆ สระบนล่างไม่ยอมขึ้นมาทันที
    ต้องพิมพ์ตัวต่อไปก่อนจึงจะเห็น เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ๆ กับผู้ที่ใช้การ์ดจอของ TNT ครับให้ลองหา Driver รุ่นใหม่ ๆ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตการ์ดจอมาใช้ จะแก้ไขได้หรือใช้ Driver ของ Detonator Version 3.65 ขึ้นไป หาได้จาก http://www.3dchipset.com