ພັນລາວ.ຄອມ
ຊອກຫາ:
ຊອກຫາແບບລະອຽດ
ສະຖານະ
ຊຽງໃໝ່ລັຕຕະນະຕິງສາ ຍິນດີຍິ່ງແລ້ວແຂກແກ້ວມາເຍືອນ
ອັບເດດ: 15 ປີກ່ອນ
ສະຖິຕິ
ປະເພດ:ສະມາຊິກທົ່ວໄປ
ເຄືອຂ່າຍ:ຄົນນອກປະເທດລາວ
ຄົນຜູ້ນີ້ຄື:ພົນລະເມືອງພັນລາວ
ຄົນອ່ານ:5267 ຄັ້ງທີ່ມີຄົນອ່ານ
ໝູ່:58 ຄົນ
ອັບເດດ:15 ປີກ່ອນ
ເຂົ້າຮ່ວມເມື່ອ:ມິ.ຖ.. 23, 2009
ກຸ່ມ (2)
CHANTHAMALEE.COM , ຮູ້ໄວ້ໄດ້ປະໂຫຍດ
ຊັບສົມບັດ
ອັນດັບ: 2124
ຖານະຂອງຂ້ອຍ: ຊົນຊັ້ນກາງ
ເງິນທີ່ຫາມາໄດ້: 2869 ພັນລາວ.
ໂປຣໄຟລ໌
ໝູ່
ຄຳເຫັນ
ຄລິບ
ເວັບບອດ
 
ຂໍ້ມູນສ່ວນຕົວ
ຊື່:
ນາມສະກຸນ:
ຊື່ຫຼິ້ນ:
ແຈ໊ຄ
ວັນເດືອນປີເກີດ: (43 ປີ)
ເພດ:
ອີເມວ:
rc211-v@hotmail.com
ບ້ານ:
ອຳເພີເມືອງ
ເມືອງ:
ແຂວງ:
ປະເທດ:
ສ່ວນສູງ:
ນ້ຳໜັກ:
ກຣຸບເລືອດ:
ແນະນຳຕົວເອງ:
"ຂັບຂີ່ສອງລໍ້ທ່ອງທ່ຽວທົ່ວໄທຍ ອາວຸດຄູ່ໃຈຄືກຼ້ອງຖ່າຍຣູປ"
ຂໍ້ມູນອື່ນ ໆ
MSN:
rc211-v@hotmail.com
ສະຖານະ:
ຄວາມສາມາດພິເສດ:
Grphic Design , ຂີ່ລົດຈັກຊຸເປີໄບຄ໌ທ່ຽວ
ທັກສະຄອມຯ:
ອາຊີບ:
ຮູ້ຈັກພັນລາວຈາກ?:
google
ຄວາມສົນໃຈ
ເປົ້າຫມາຍຂອງຊີວິດ:
ເກິດມາເພື່ໃຊ້ກຳ
ຄະຕິປະຈຳໃຈ:
ເກິດມາຜະຈົນພັຍໃນໂລກກວ້າງ

ທຸກຢ່າງຢາກໄດ້ມາຕ້ອງຂວນຂວາຍ

ສິ່ງດຽວທີ່ຕິດຕົວຕອນເກິດກາຍ

ຄືສິດທິເສຣີຄວາມເປັນຄົນ
ສີທີ່ມັກ:
ອາຫານທີ່ມັກ:
ກິນໄດ້ໝົດ
ອື່ນ ໆ:
ຂ້າພະເຈົ້າຂໍໄຫວ້ສາ ເນື່ອງໃນວາຣະຄຣົບຣອບ 600 ປີ ຊາຕະກາລ ພຣະເຈົ້າຕິໂລກຣາຊ ມະຫາຣາຊແຫ່ງອານາຈັກລ້ານນາ

พระเจ้าติโลกราช เดิมชื่อเจ้าลก ทรงประสูติในปี พ.ศ. 1952 ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 6 ในพญาสามฝั่งแกน เมื่อทรงเจริญพระพรรษาถึงกาลสมควร พระบิดาทรงโปรดให้พระองค์ไปครองเมืองพร้าววังหินหรือ อำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่ ในปัจจุบัน ต่อมาเกิดราชการสงครามขึ้นแล้ว ทัพของเจ้าลก ยกไปสมทบพระบิดาช้า พระบิดาจึงทรงลงพระอาญา เนรเทศเจ้าลกไปครองเมืองยวมใต้หรืออำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน

ต่อมามีอำมาตย์ของพระเจ้าสามฝั่งแกนคนหนึ่งชื่อ "สามเด็กย้อย" คิดเอาราชสมบัติให้เจ้าลก จึงได้ซ่องสุมกำลังลอบไปรับเจ้าลกจากเมืองยวมใต้มาซ่อนตัวไว้ที่นครเชียงใหม่ ในขณะที่พระเจ้าสามฝั่งแกนประทับแปรพระราชฐานอยู่ที่เวียงเจ็ดลิน การเริ่มชิงราชสมบัติทำโดยการเผาเวียงเจ็ดลิน แล้วบังคับให้พระเจ้าสามฝั่งแกนสละราชสมบัติ พระเจ้าสามฝั่งแกนจึงจำต้องมอบราชสมบัติให้เจ้าลก เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1985 ทรงพระนามว่า พระมหาศรีสุธรรมติโลกราช มีพระชนมายุ 32 พรรษา ส่วนพระราชบิดาถูกส่งตัวไปไว้ที่ เมืองสาด- อยู่ในรัฐฉาน พม่า และปูนบำเหน็จความชอบสามเด็กย้อยเป็น "เจ้าแสนขาน" แต่อยู่มาได้เพียง 1 เดือน 15 วัน เจ้าแสนขานก็คิดก่อการเป็นขบถอีก พระเจ้าติโลกราช จึงให้ "หมื่นโลกนคร" พระเจ้าอาของพระองค์ ผู้ครองเมืองลำปาง เข้าจับตัวเจ้าแสนขานไปคุมขังแต่ไม่ให้ทำร้าย เมื่อพ้นโทษได้ลดยศเป็น "หมื่นขาน" และให้ไปครองเมืองเชียงแสนหรือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในปัจจุบัน แทน

[แก้] ราชการสงคราม

ตลอด 46 ปีของรัชกาลพระเจ้าติโลกราช มีการทำสงครามขยายพระเดชานุภาพนับได้ หลายครั้ง ดังนี้

1. ปราบหัวเมืองฝางที่แข็งเมืองเจ้าเมืองหนีไปพึ่งบารมีเจ้าเมืองเทิง (อ.เทิง จ.เชียงราย) แต่ถูกประหารชีวิตต่อหน้าเจ้าเมืองเทิง เป็นการกระทำที่ไม่ไว้หน้าเจ้าเมืองเทิง จึงส่งสารลับแจ้งให้อยุธยายกทัพมาตีเชียงใหม่ นับว่าเป็นปฐมเหตุแห่งศึกสิงห์เหนือ เสือใต้ (เชียงใหม่ -อยุธยา) ยืดเยื้อยาวนาน ถึง 18 ปีจนสิ้นรัชกาลทั้งพระเจ้าติโลกราชกับพระเจ้าสามพระยาและพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ
2. อยุธยามาตีเมืองเชียงใหม่ ตามที่เจ้าเมืองเทิงแปรพักตร์แจ้งให้ยกทัพมาชิงเมือง ผล อยุธยาถูกกลศึกตอบโต้โดนโจมตีแตกพ่าย ส่วนเจ้าเมืองเทิงถูกประหารชิวิต ตัดคอใส่แพหยวกกล้วยล่องนำปิง โดยมีนัยว่าเพื่อให้ไปถึงพระเจ้าอยุธยา(พระบรมราชาที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา)
3. ปราบเมืองน่านที่แข็งเมือง พระญาเมืองน่านหนีไปพึ่งบารมีเจ้าเมืองเชลียงของอยุธยา
4. ขับไล่เมืองหลวงพระบางที่ยกทัพลอบโจมตีเมืองน่าน
5. ปราบเมืองยอง ไทลื้อ (รัฐฉาน พม่า)
6. ปราบเมืองหลวงพระบาง เมืองขรองหลวง เมืองขรองน้อย
7. ปราบเมืองเชียงรุ่ง หรือ เชอหลี่ใหญ่ หรือจิ่งหง- Jinghong (12 ปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน)เมืองลอง เมืองตุ่น เมืองแช่
8. ปราบเมืองเชียงรุ่งที่แข็งเมืองอีกครั้ง และเข้าตีเมืองอิง
9. ปราบเมืองนาย ไลค่า ล๊อกจ๊อก เชียงทอง เมืองปั่น หนองบอน ยองห้วย เมืองสู่ เมืองจีด เมืองจาง เมืองกิง จำคา เมืองพุย สีป้อ กวาดต้อนผู้คนจำนวน 12,328 คนมาใส่เมืองเชียงใหม่
10. ยกทัพไปตีเมืองไทใหญ่ ครั้นถึงเมืองหาง(รัฐฉาน-พม่า)ทราบข่าวเวียตนามยกทัพ 400,000 นาย มาตีหลวงพระบาง และมาโจมตีเมืองน่านจึงยกทัพกลับมาช่วยเมืองน่าน เจ้าเมืองน่านต่อสู้อย่างทรหด รบชนะกองทัพมหาศาลของจักรพรรดิเลทันตองแห่งเวียตนาม ตัดศีรษะแม่ทัพ มาถวายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าติโลกราชจึง มีพระบรมราชโองการให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ควบคุมเชลยศึกเวียตนาม พร้อมศีรษะแม่ทัพ เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อถวายแด่จอมจักรพรรดิ์ ในตอนแรกจอมจักรพรรดิจีนไม่เชื่อว่ากองทัพล้านนาจะต่อตีกองทัพจักรพรรดิ๋เล ทันตองแห่งเวียตนามได้ เพราะกองทัพจีนเพิ่งรบแพ้แก่กองทัพเวียตนามมาหยกๆจอมจักรพรรดิ์จีนจึงมีพระ บัญชาสั่งสอบสวนเชลยศึกเวียตนาม ทีเดียวพร้อมๆกันโดยแยกสอบสวนคนละห้อง เพื่อป้องกันมิให้เชลยศึกเวียตนาม บอกข้อมูลให้แก่กัน ผลการสอบสวน ตรงกันหมดว่ากองทัพที่ยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิ์เลทันตองแห่งเวียตนาม พ่ายแพ้หมดรูปแก่กองทัพพระเจ้าติโลกราช ณ สมรภูมิที่ เมืองน่าน จักรพรรดิ์จีนถึงกับยกพระหัตถ์ทุบพระอุระ ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังทั่วท้องพระโรงต่อหน้าเสนา อำมาตย์ ที่ชุมนุม ณ ที่นั้นว่า "เหวยๆ ข้าคิดว่าในใต้หล้ามีเพียงข้าผู้เดียวที่มีเดชานุภาพมาก แต่บัดเดี๋ยวนี้มี ท้าวล้านนาพระเจ้าติโลกราช มีเดชานุภาพทัดเทียมข้า ข้าจึงแต่งตั้งให้ท้าวล้านนาเป็น "ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก"ให้เป็นใหญ่รองจากข้า มีอำนาจที่จะปราบปรามกษัตริย์น้อยใหญ่ที่ก่อการแข็งเมืองต่อข้า นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป" พร้อมกับทรงส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องประกอบเกียรติยศ กองทหารพร้อมเสนาบดีผู้ใหญ่ เดินทางมาประกอบพิธีที่เชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่ อลังการโดยทรงยกย่องให้เป็น "รอง"จักรพรรดิ์จีนแห่งราชวงศ์หมิง เป็น "ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก""King of the West " ส่วนจักรพรรดิจีนเป็นจักรพรรดิ์แห่งทิศตะวันออก
11. ตีกำแพงเพชร (ชากังราว) แตก ส่งทัพหน้ามากวาดครัวถึงเมืองชัยนาท เข้าตีสุโขทัยมิได้ จึงถอยทัพกลับ
12. เจ้าเมืองเชลียงแห่งสุโขทัย มาสวามิภักดิ์
13. เจ้าเมืองพิษณุโลก หัวเมืองเหนือของอยุธยา มาสวามิภักดิ์ พร้อมนำไพร่พลเมือง ทหาร กว่า ๑ หมื่นคน มาอยู่ใน เชียงใหม่
14. ยกทัพไปล้อมเมืองพิษณุโลก พระบรมไตรโลกนาถ ใช้กลศึกหลบหนีออกจากเมืองพิษณุโลกเวลาเที่ยงคืนและเดือนมืดสนิท ทางลำน้ำน่านกลับอยุธยา พระเจ้าติโลกราชทรงพระพิโรธ รับสั่ง ให้"ควักลูกตา "ทหารทุกนายที่ซุ่มล้อม ณ พื้นที่ลำน้ำน่าน "หมื่นด้งนคร"แม่ทัพใหญ่รุดเข้าเฝ้า กราบบังคลทูลถวายรายงานว่า พระบรมไตรโลกนาถ ใช้ "กลศึก" ตีสัญญาณ ฆ้อง กลองล่องเรือหนีมาตามลำน้ำน่านโดยให้จังหวะเคาะสัญญาณ เลียนแบบสัญญาณ ของ "มหาราชเชียงใหม่" ทุกประการ ประกอบกับเดือนมืด มองเห็นไม่ถนัด ทหารที่ซุ่มเฝ้าระวัง จึงไม่เฉลียวใจ ต่างคิดว่า เป็นเรือพระที่นั่งของพระเจ้าติโลกราช เสด็จ จึงไม่ยับยั้ง และข้าในฐานะแม่ทัพ ขอรับโทษแทนทหารชั้นผู้น้อยทั้งหมด หากจะควักลูกตาทหารผู้น้อย ก็ขอให้ควักลูกตาของข้าแต่เพียงผู้เดียว พระเจ้าติโลกราช ได้ฟังทหารเอกผู้ภักดี ยอมสละแม้กระทั่งลูกนัยตาของตัวเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ปกป้อง รับแทนทหารลูกน้อง อีกทั้ง ความจงรักภักดีของหมื่นด้งนคร ที่มีต่อ มหาราชเชียงใหม่ รุกรบไปทั่วดินแดนใกล้ ไกล เคียงบ่า เคียงไหล่ ร่วมเป็น ร่วมตาย มาด้วยกัน นับครั้งไม่ถ้วน ทรงตรึกตรอง แล้วนิ่งเสีย ไม่ตรัสถึงอีกต่อไป ต่อมากองทหารม้าทัพหน้าไล่ตาม เรือพระที่นั่งของพระบรมไตรโลกนาถ ขณะยั้งพักที่ปากยม และกองทัพม้าได้รายล้อมทัพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไว้แล้ว จึงได้ส่งม้าเร็วรีบแจ้งขอรับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าติโลกราช พระองค์ทรงตรัสว่า(ขออภัยภาษาโบราณ) "มันก็พญา(กษัตริย์) กู ก็ พญา กูแป้(ชนะ)มัน มันก็ละอายแก่ใจแล้ว หมื่นด้ง มึงอย่าทำเลย!" ต่อมากองทัพหน้าไปตีเมืองปากยม (พิจิตร)จับเจ้าเมืองปากยมรูปงามได้ พระเจ้าติโลกราช ทรงต้องพระทัย จะนำตัวไปยังเชียงใหม่ แต่ถูกทัดทานจากพระยายุทธิษเสฐียร(อดีตเจ้าเมืองพิษณุโลกที่มาสวามิภัก ดิ์)ว่า ถ้านำตัวเจ้าเมืองปากยมกลับเชียงใหม่ ให้ ฆ่า "ข้าเสียเถอะ" พระเจ้าติโลกราช ถนอมน้ำใจ จึง สั่งประหารชีวิต เจ้าเมืองปากยมผู้รูปงาม เสีย ณ ที่นั้น (มีความเห็นจากนักวิชาการบางท่านว่า พระเจ้าติโลกราช มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงพระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราช (ในภาพยนตร์) คือ มีความรักทั้งเพศหญิง และเพศชาย(ไม้ป่าเดียวกัน)??)
15. แต่งให้หมื่นด้งนครไปตีเมืองเชลียง
16. อยุธยาถูกกลศึกผ่านสายลับที่ถูกจับได้ ให้เห็นกองทัพเชียงใหม่จะยกทัพไปทำศึกทางเหนือ จึงแจ้งให้อยุธยายกทัพมาชิงเอาเชียงใหม่ โดยเชียงใหม่รอซุ่มโจมตีที่ดอยขุนตาล(รอยต่อ ลำพูนกับลำปาง) ตีกองทัพอยุธยาแตกพ่าย ถูกไล่ติดตามตลอดทั้งคืนผ่านห้างฉัตร ลำปาง เด่นชัย จนถึงเขาพลึง(เขตต่อแดน แพร่กับอุตรดิตถ์)ครั้งนั้นพระอินทราชา พระราชโอรสในพระบรมไตรโลกนาถต้องปืนที่พระพักตร์
17. อยุธยา สบโอกาส กองทัพเชียงใหม่ยกขึ้นขึ้นเหนือไปตี เมืองพง ไทลื้อ(มณฑลยูนนาน ประเทศจีน)จึงยกทัพเข้าตีเมืองแพร่ ฝ่ายหมื่นด้งนคร ผู้รักษาเมืองเชียงใหม่ ยกทัพไปช่วยเมืองแพร่ป้องกันเมือง ครั้นกองทัพพระเจ้าติโลกราชแผ ด็จศึกเมืองพงไทลื้อ เสร็จแล้วจึงกลับยังไม่ทันถึงเชียงใหม่ ทราบข่าวจึงยกทัพหลวงไปช่วยเมืองแพร่ พระบรมไตรโลกนาถ ทรงเห็นกองทัพเชียงใหม่ใหญ่เกินกำลังจะต้านทานได้จึง ถอยทัพกลับ โดยทัพหลวงมหาราชเชียงใหม่ไล่ติดตามไปแต่ไม่ทัน จึงไม่ได้รบกัน ทัพหลวงผ่านเมืองเชลียงกลัวหายนะภัยจึงขอเป็นข้าราชบริ ภาร จากนั้นทัพมหาราชเชียงใหม่เข้าตีเมืองพิษณุโลกสองแคว แต่ไม่สำเร็จ จึงถอยทัพไปตีเมืองปางพล แล้วกลับผ่านเมืองเชลียง ลำปาง เชียงใหม่
18. ต่อมาเจ้าเมืองเชลียงเป็นกบถจึงให้หมื่นด้งนครยกทัพไปจับกุมตัวเจ้า เมืองเชลียงมายังเชียงใหม่ และเนรเทศไปอยู่เมืองหาง พร้อมกับแต่งตั้งให้หมื่นด้งนคร ครองเมืองเชลียง(สวรรคโลก)เพิ่มขึ้นอีกเมืองหนึ่ง
19. ต่อมาเชียงใหม่ถูกพระเถระพุกามที่รับจ้างจากอยุธยา มาเชียงใหม่ หลอกให้ตัดต้นไม้นิโครธ ไม้แห่ง "เดชเมือง" ซึ่งชาวเชียงใหม่สักการะบูชาที่แจ่งศรีภูมิ จนบ้านเมืองปั่นป่วน ต่อมามีเหตุการณ์ไม่คาดคิด คือ พระเจ้าติโลกราช สั่งประหารท้าวบุญเรือง พระราชโอรสองค์เดียวที่ถูกท้าวหอมุก(นางสนม)ใส่ความว่าจะชิงราชบัล ลังค์ ภายหลังทราบว่าพระโอรสบริสุทธิ์ ก็ทรงเสียพระทัย อีกทั้งทรงกริ้วและหวาดระแวงว่าหมื่นด้งนคร ทหารเอกคู่บัลลังค์ ที่ส่งให้ไปต้านทานกองทัพอยุธยาที่ชายแดนเมืองเชลียง เชียงชื่น(สวรรคโลก จ.สุโขทัย)จะแปรพักตร์ไปเข้าอยุธยา จึงเรียกตัวไปเชียงใหม่และถูกประหารชีวิต เมื่อทหารเอกคู่บัลลังค์หมื่นด้งนครถึงแก่อนิจกรรมแล้ว พระเจ้าติโลกราชจึง ให้หมื่นแคว่นผู้ครองเมืองแจ้ห่ม(อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง) ไปครองเมืองเชียงชื่น(สวรรคโลก)แต่ถูกพระยาสุโขทัยยกทัพเข้าตี จนหมื่นแคว่นตายในที่รบ เมืองสุโขทัยจึงได้เมืองเชียงชื่นกลับคืน หลังจากอยู่ใต้ธงมหาราชเชียงใหม่ มายาวนาน 23 ปี อันเป็นต้นเรื่องและเป็นประเด็นหลักใน ลิลิตยวนพ่ายที่ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ตีเมืองเชลียง เมืองเชียงชื่นหรือเมืองสวรรคโลก(อดีตเมืองลูกหลวงของสุโขทัย)กลับคืนมาอยู่ ใต้พระบรมโพธิสมภารได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2017
20. ศักราช 837 มะแมศก (พ.ศ. 2018)มหาราช(เชียงใหม่)ขอมาเป็นไมตรี...พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
21. นับจากนี้เป็นเวลา 12 ปีที่อาณาจักรทั้งสองเป็นมิตรมีไมตรีต่อกัน และมหาราชทั้งสองพระองค์ล่วงเข้าสู่วัยชรา มหาราชเชียงใหม่สวรรคตในปี 2030 ขณะพระชนมายุได้ 78 พรรษาครองราชย์ 46 ปีและตามติดกันในปีต่อมา มหาราชอยุธยา สวรรคตในปี 2031 ขณะพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ 40 ปี....

[แก้] การทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา

อาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้ทำสงครามครั้งแรกกับอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ต่อมาจึงทำสงครามกับพระบรมไตรโลกนาถหลายครั้งด้วยกัน ในปี พ.ศ. 1985 เจ้าเมืองเทิง แห่งอาณาจักรล้านนา (ปัจจุบันคือ อ.เทิง จังหวัดเชียงราย) ไม่พอใจที่ หมื่นโลกนคร แม่ทัพของพระเจ้าติโลกราช ติดตามไปฆ่าท้าวซ้อย เจ้าเมืองฝางที่แข็งเมืองและหลบหนีไปพึ่งบารมี จึงได้ขอสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (เจ้าสามพระยา) จึงทรงถือเป็นโอกาสเสด็จยกทัพไปตีนครเชียงใหม่ ในขณะเดียวกัน พระเจ้าติโลกราชได้ จับเจ้าเมืองเทิงประหารชีวิต กองทัพอยุธยาได้ถูกกลศึกของฝ่ายเชียงใหม่ปลอมตัวเป็นตะพุ่นช้าง(คนหาอาหาร ให้ช้าง)ปะปนเข้าไปในกองทัพเจ้าสามพระยาเมื่อได้จังหวะยามวิกาลจึงตัดปลอก ช้าง ฟันหางช้างจนช้างแตกตื่นแล้วฟันนายช้างตาย กองทัพเชียงใหม่ได้ยินเสียงอึกทึกก็ได้ทียกเข้าตีกองทัพกรุงศรีอยุธยาแตก พ่ายไป เจ้าสามพระยาได้พยายามอีกครั้งหนึ่งโดยยกทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเมือง เชียงใหม่แต่ทรงประชวรสิ้นพระชนม์กลางทาง รวมการทำสงครามระหว่าง 2 อาณาจักร ยืดเยื้อยาวนานถึง 33 ปี (นับแต่ พ.ศ. 1985 สมัยพระเจ้าสามพระยา ถึง พ.ศ. 2018 สมัยพระบรมไตรโลกนาถ)

[แก้] พระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนากับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอาณาจักรอยุธยา

ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – พ.ศ. 2031)พระองค์ข้นครองราชย์ขณะพระชนมายุได้ 17 พรรษา และก่อนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อขึ้นครองราชย์ได้เสด็จลงมาประทับที่กรุงศรีอยุธยา เป็นเหตุให้เจ้าเมืองต่างๆ ชิงอำนาจกันเอง และเจ้าเมืองพิษณุโลกสองแคว แปรพักตร์ไปสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราชแห่ง ล้านนา จึงนำกองทัพมาตีเมืองต่างๆของอยุธยา คือ เมืองพิษณุโลกสองแคว เมืองปากยม(พิจิตร) เมืองชากังราว(กำแพงเพชร) เมืองสุโขทัย เมืองเชลียง(ศรีสัชชนาลัย) เมืองเชียงชื่น(สวรรคโลก) โดยได้เข้าตีเมืองสุโขทัยในปี พ.ศ. 1994 แต่เมื่อทรงทราบข่าวว่าพระเจ้ากรุงล้านช้างยกทัพมาประชิดแดนล้านนาจึงโปรดให้ยกทัพกลับ แต่กองทัพกรุงศรีอยุธยาตามไปตีกองหลังของกองทัพพระเจ้าติโลกราชแตกที่ "เมืองเถิน"แตกพ่ายไป

ครั้นถึง พ.ศ. 2004 พระเจ้าติโลกราชยก ทัพลงมาตีหัวเมืองตอนเหนือของอยุธยาอีก แต่บังเอิญพวกฮ่อ(จีน ยูนนาน)ยกกำลังมาตีชายแดนเชียงใหม่ก็จำต้องยกทัพกับไปรักษาเมืองขึ้นกับ เชียงใหม่ อย่างไรก็ดี พระเจ้าติโลกราชได้ ยกทัพมารุกรานหัวเมืองฝ่ายเหนือของอยุธยาอยู่เนืองๆ เป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปลี่ยนนโยบายเสด็จขึ้นไปประทับครองราช สมบัติเสีย ณ เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2006โดย ยกฐานะเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองหลวง เพื่อสะดวกในการจัดกำลังต่อตีทัพมหาราชฝ่ายเหนือ อีกทั้งยังทำหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งมักแก่งแยกอำนาจกันและแตกออกจากฝ่ายกรุง ศรีอยุธยามีความสามัคคีด้วยความยำเกรงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้ประทับครองราชย์อยูที่เมืองพิษณุโลกจนสิ้นรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2031 แต่กระน้นก็ยังต้องคอยสู้รบกับการรุกรานของพระเจ้าติโลกราชอยู่เรื่อยมารวม 27 ปี

[แก้] การสงบศึกและเป็นพันธมิตร

ใน พ.ศ. 2008 ขณะพระชนมายุได้ 34 พรรษา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวชที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก พระองค์ส่งราชทูตมายังเชียงใหม่เพื่อขอเครื่องอัฐบริขารพร้อมกับพระเถรานุเถระไปทำพิธีผนวชจากพระเจ้าติโลกราช(ขณะ นั้นมีพระชนมายุ 56 พรรษา)จึงโปรดให้หมื่นล่ามแขกเป็นราชทูตพร้อมด้วยพระเทพคุณเถระและพระอับดับ 12 รูปลงมาเมืองพิษณุโลกเพื่อเข้าเฝ้าถวายเครื่องอัฐบริขารแด่สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดจุฬามณี ที่บันทึกว่า " ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร(พ.ศ. 2007) อันดับนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนาถบพิตรเปนเจ้า ให้สร้างอาศรมจุฬามณีที่จะเสด็จออกทรงมหาภิเนษกรม ขณะนั้น เอกราชทั้งสามเมืองคือ พระญาล้านช้าง แลมหาราชพระญาเชียงใหม่ แลพระญาหงสาวดี ชมพระราชศรัทธา ก็แต่งเครื่องอัฐบริขารให้มาถวาย" ในขณะทรงผนวช 8 เดือน 15 วัน พระองค์ได้ทรงถือโอกาสส่งสมณะทูตชื่อโพธิสัมภาระมาขอเอาเมืองเชลียง -สวรรคโลกคืน เพื่อ"ให้เป็นข้าวบิณฑบาตร"จากพระเจ้าติโลกราชแต่พระเจ้าติโลกราชเห็น ว่าเป็น"กิจของสงฆ์"จึงทรงนิมนต์พระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสีทุกรูปมาประชุมเพื่อ ถวายข้อปรึกษา ครั้งนั้นมีพระเถระเชียงใหม่ชื่อสัทธัมมรัตตนะได้กล่าวกับโพธิสัมภาระสมณะ ทูตของอยุธยา ว่า" ตามธรรมเนียมท้าวพระญา (พระมหากษัตริย์) เมื่อผนวชแล้วก็ย่อมไม่ข้องเกี่ยวข้องในเรื่องบ้านเมืองอีก เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวชแล้วยังมาขอเอาบ้านเอาเมืองนี้ ย่อมไม่สมควร"พระบรมไตรโลกนารถได้ยินคำเหล่านั้น ก็นิ่งเก็บไว้ในใจ เมือทรงลาผนวชแล้วจึงได้ออกอุบายจ้างให้พระเถระพุกามรูปหนึ่งที่ทรงไสยคุณไป เป็นไส้สึกในเชียงใหม่ ทำไสยศาสตร์ ยุแยงให้พระเจ้าติโลกราช ทำลายสิ่งศักดิ์สิทธ์ของเมือง อาทิ ตัดโค่นไม้นิโครธประจำเมือง จนเกิดอาเพศ มีความระแวงสงสัยบรรดาข้าราชบริพาร จนถึงกับสำเร็จโทษท้าวบุญเรืองราชโอรสตามที่เจ้าจอมหอมุกใส่ความว่าจะชิงราชบัล ลังค์ ครั้นทราบความจริงภายหลังทรงเสียพระทัยที่หลงเชื่อจนประหารราชโอรสพระองค์ เดียว รวมทั้งการลงโทษหมื่นด้งนครผู้เป็นแม่ทัพเอกคู่บารมีผู้พิชิตเมืองเชลียง เชียงชื่น (ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ซึ่งเคยเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย) ที่ถูกใส่ความอีกด้วย ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ส่งราชทูตนำเครื่องราชสักการะ มาเยือนเชียงใหม่ นัยว่ามาสืบราชการลับที่ จ้างพระเถระพุกามทำคุณไสย์แก่เชียงใหม่ ต่อมาพระเถระพุกามถูกจับและเปิดเผยความจริง จึงถูกลงราชทัณฑ์นำตัวใส่ขื่อคาไปทิ้งลงแม่นำปิงที่"แก่งพอก" เพื่อให้คุณไสย์ชั่วร้ายสนองคืนกลับแก่ผู้ที่สั่งมา พระเจ้าติโลกราชทำ สงครามกับพระบรมไตรโลกนาถต่อเนื่องมาเป็นเวลา 27 ปี ต่างพลัดกันรุกผลัดกันรับ ครั้งนั้นพระองค์ขยายอำนาจขึ้นไปทางทิศเหนือตีได้เมืองเชียงรุ้ง (เชอหลี่ใหญ่หรือจิ่งหง)สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ภาคใต้ของประเทศจีน ตีได้เมืองเชียงตุง (เชอหลี่น้อยหรือเขมรัฐ) ทิศตะวันตก ได้รัฐฉาน ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน ติดพรมแดนมู่ปางหรือแสนหวี คือเมืองสีป้อ เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเชียงทอง รวมกว่า 11 เมือง โดยเจ้าฟ้าเมืองต่างๆนำไพร่พลเมืองมาพึ่งพระโพธิสมภารที่เชียงใหม่ 12,328 คน ทางทิศตะวันออกจรดล้านช้าง ประเทศลาว ทิศใต้จรด ตาก เชลียง (ศรีสัชนาลัย) เชียงชื่น (สวรรคโลก) ซึ่งอยู่ห่างจากสุโขทัยเพียง 60 กม.ต่อมา ในปี พ.ศ. 2018 พระเจ้าติโลกราชจึงทรงติดต่อกับฝ่ายกรุงศรีอยุธยาขอเป็นไมตรีกัน ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาซึ่งบอบช้ำมากพอกันจึงรับข้อเสนอของพระเจ้าติโลกราช ในปลายสมัยของรัชกาลของทั้งสองพระองค์อาณาจักรล้านนากัยกรุงศรีอยุธยาจึงมีความสงบเป็นไมตรีต่อกันจนสิ้นรัชกาลโดยพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ. 2030 และให้หลังอีก 1 ปี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็สวรรคต ในปี พ.ศ. 2031 เป็นการปิดฉาก ศึก 2 มหาราชแห่ง 3 โลก ("ติโลก""ไตรโลก"แปลว่า 3 โลกคือเมืองสวรรค์ เมืองมนุษย์ และเมืองนรกหรือเดรัฐฉาน)

[แก้] พระกรณียกิจ

[แก้] การสงคราม

พระเจ้าติโลกราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่ทรงพระปรีชาสามารถได้แผ่ขยายอำนาจของกรุงราชธานี เชียงใหม่ไปทั่ว 57 หัวเมืองขึ้น ครอบคุมทิศเหนือจรดเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง เมืองยอง (รัฐฉาน ประเทศพม่า) เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเชียงทอง เมืองปั่น เมืองยองห้วย เมืองสุ เมืองจีด เมืองกิง เมืองลอกจอก เมืองสีป้อ เมืองจาง รวมกว่า 11 เมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่นำสาละวิน (รัฐฉาน พม่า) ทิศตะวันออกตีได้อาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาว) ทิศใต้จรดขอบแดนอยุธยา แนว ตาก เถิน ศรีสัชนาลัย (สุโขทัย) ลับแล แพร่ น่าน อาณาจักรล้านนาในรัชกาลของพระองค์เป็นยุคทอง รุ่งเรืองสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับการรับรองจากคนกลาง "โอรสแห่งสวรรค์"จักรพรรดิ์จีนแห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งบันทึกไว้ใน"หมิงสื่อลู่"เป็นเอกสารโบราณประจำรัชกาลที่มีความน่าเชื่อ ถือมากที่สุดแห่งราชสำนัก จักรพรรดิจีน และ ดร.วินัย พงศรีเพียร นักประวัติศาสตร์ผู้เรืองนาม ได้แปลไว้ในเอกสารชื่อ "ปาไป่สีฟู่ ปาไป่ต้าเตี้ยน" (คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์ในโอกาสเชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี ใน พ.ศ. 2539) บันทึกว่า จักรพรรดิ์จีนยกย่องให้พระเจ้าติโลกราชเป็น "ตาวหล่านนา"หรือท้าวล้านนาและพระราชทานเครื่องประกอบเกียรติยศมากมายนอกจากนี้ยังสถาปนาพระเกียรติยศเป็นลำดับ"สอง" รองจากองค์จักรพรรดิ์จีน ซึ่งตรงกับเอกสารของพม่าที่บันทึกสมัยอยุธยาก่อนกรุงแตกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2305 ชื่อว่า "Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai หรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับพม่า) ดังความว่า ที่ใดก็ตามที่ปรากฏ ศัตรูขึ้นในแปดทิศของจักรพรรดิ์อุทิปวาผู้ปกครองทุกสิ่งภายใต้สวรรค์ ให้ท้าวล้านนาเจ้าฟ้าแห่งเมืองเชียงใหม่มีอำนาจที่จะปราบปรามและลงโทษศัตรู นั้นได้... (Wherever enemies appeae in the eight directions of the Empire of the Utipwa,who Rules All under Heaven ,Thao Lan Na , Chaofa of Chiang Mai with his forecs shall subdue and punish them.) และทรงให้ราชสมญานามพระเจ้าติโลกราชว่า "ราชาผู้พิชิต", "ราชาแห่งทิศตะวันตก" (Victorious Monarch, King of the West) โดยให้เสนาบดีผู้ใหญ่ควบคุมเครืองราชอิสริยาภรณ์ ตราพระราชลัญจกร พระสุพรรณบัตร เครื่องประกอบเกียรติยศมากมาย ทองคำแท่ง 100 ตำลึง เดินทางมาถึงเชียงใหม่ ทำพิธีอย่างยิ่งใหญ่ อลังการ นอกนั้นพระราชกรณีย กิจที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก จึงทำให้รัชกาลของพระองค์พระพุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด พระสงฆ์แตกฉานภาษาบาลี มีการตรวจชำระพระไตรปิฎก หรือสังคายนา เป็นครั้งที่ 8 ของโลก ณวัดเจ็ดยอด อ.เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2020 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชกุลบุตรเป็นพระภิกษุจำนวน 500 รูปในอุทกสีมาหรืออุปสมบทกลางแม่นำตามอย่างลัทธิลังกาวงค์ แม่น้ำปิง ในปี พ.ศ. 1990 เมื่อพระราชบิดา พระเจ้าสามฝั่งแกนสวรรคต จึงจัดการพระราชทานเพลิงพระศพแล้วสถาปนาพระสถูปบรรจุพระอัฐิไว้ ณ ป่าแดงหลวง ( อยู่เชิงดอยสุเทพ ในบริเวณ ม.เชียงใหม่)โดยบุทองแดงแล้วปิดทองทั้งองค์ เมื่อเสร็จงานในปีเดียวกันก็ออกผนวชโดยให้พระมารดาว่าราขการแทนพระองค์ ทั้งนี้เพื่อศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัย ต่อมาเมื่อพระมารดาสิ้นพระชนม์ก็ถวายพระเพลิง ณ สถานที่เดียวกันกับพระบิดา แล้วสถาปนาที่นั้นเป็นพระอารามในปี พ.ศ. 1994 โดยทรงขนานนามว่าวัดอโสการามวิหาร ลุถึงปี พ.ศ. 1998 โปรดให้สร้างวัดโพธารามวิหาร หรือวัดเจดีย์เจ้ดยอด

[แก้] การสังคายนาชำระพระคัมภีร์พระไตรปิฏก

ที่วัดเจดีย์เจ็ดยอดนี้เองที่พระเจ้าติโลกราชทรงโปรดให้ชุมนุมพระเถนานุเถระ โดยมีพระธรรมทินมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดป่าตาลเป้นประธาน กระทำสังคายนาชำระพระคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ วัดโพธารามนี้ได้รับการยอมรับต่อเนื่องต่อเนื่องว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ 8 ในประวัติพระพุทธศาสนต่อจากที่ทำมาแล้ว 7 ครั้งในประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเรียกการสังคายนาครั้งที่ 8 ที่เชียงใหม่นี้ว่า “อัฏฐสังคายนา” ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนี้ จนเป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศไปทั่วประเทศข้างเคียง ทำให้พระเจ้าติโลกราชได้รับากรเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “พระเจ้าศิริธรรมจักรวัติโลกราชามหาธรรมิกราช พระเจ้านครพิงค์เชียงใหม่”

[แก้] การก่อสร้างและปฏิสังขรพระพุทธสถาน

เมื่อปี พ.ศ. 2022 พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเดินทางไปประเทศลังกาจำลองแบบโลหปราสาทและมาก่อสร้างเป็นเจดีย์ 7 ยอด ณ วัดมหาโพธาราม(วัดเจ็ดยอด) และจำลองรัตนมาลีเจดีย์เพื่อนำแบบมาปฏิสังขรพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดเจดีย์หลวงที่พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์เม็งรายโปรดฯ ให้สร้างขึ้น พระเจดีย์ใหญ่องค์นี้จึงได้รับการขยายเสริมฐานให้กว้างเป็น 70 เมตร สูง 88 เมตร โปรดให้บรรจุพระบรมธาตูที่ได้มาจากลังกาไว้ในองค์พระเจดีย์นี้ พร้อมทั้งโปรดฯ ให้สร้างหอพระแก้วตามอย่างโลหปราสาทที่ลังกา แล้วอาราธนาพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวมาไว้ในหอพระแก้ววัดเจดีย์หลวงนื

ในปี พ.ศ. 2025 โปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก่นจันทน์แดงจากวิหารวัดป่าแดงเหนือเมืองพะเยามา ไว้ที่นครเชียงใหม่ โดยเสด็จไปรับด้วยพระองค์เองที่เมืองลำพูน ตลอดเวลาในช่วงปลายรัชกาล พระเจ้าติโลกราชได้สนพระทัยทะนุบำรุงพระศาสนาเป็นอันมาก ได้โปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปทองคำองค์หนึ่งและโปรดฯ ให้บรรจุพระบรมธาตู 500 องค์ ขนานนามว่า พระป่าตาลน้อย ประดิษฐานไว้ ณ วัดป่าตาลวัน ที่ซึ่งพระธรรมทินเถระผู้เป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 เป็นเจ้าอาวาส

พระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2330พระ ชนมายุ 78 พรรษา (ก่อนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเพียงปีเดียวขณะพระชนมายุ 57 พรรษา) หลังครองราชย์มาเป็นเวลานานถึง 46 ปี พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อาณาจักรล้านนาและนครเชียงใหม่ มากที่สุดพระองค์หนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์ ทางราชการจึงได้ตั้งชื่อหอประชุมใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ว่า “หอประชุมติโลกราช”(ปัจจุบัน อยู่ติดกับศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ในวัดอินทขิลสะดือเมือง หรือบริเวณอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์) ใจกลางเมืองเชียงใหม่
ການສຶກສາ
ຊັ້ນປະຖົມ:
ມັດທະຍົມຕອນຕົ້ນ:
ມັດທະຍົມຕອນປາຍ:
ປະລິນຍາຕີ:
Widgets
ID: